โรงไฟฟ้าศิลปะ หรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเซี่ยงไฮ้ (จีน: 上海当代艺术博物馆; อังกฤษ: Power Station of Art) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในเซี่ยงไฮ้[2][3] ตั้งอยู่ในโรงไฟฟ้าเก่า เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยที่ดำเนินการโดยรัฐแห่งแรกของจีน[4] ค่าใช้จ่ายในการแปลงอาคาร 64 ล้านดอลลาร์ซึ่งออกโดยรัฐบาลเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้[5] พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนพื้นที่จัดงานเอ็กซ์โป 2010 และตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำหวงผู่ (ผู่ซี) เปิดในปี 2555 โดยมีนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยจากศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมปงปีดู (Centre Pompidou) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยที่รู้จักกันดีที่สุดของปารีส ในชื่อนิทรรศการ Electric Fields, Surrealism and Beyond[ต้องการอ้างอิง] ผู้กำกับศิลป์คือ Li Xu[ต้องการอ้างอิง] รองผู้กำกับคือ Gong Yan ผู้เคยเป็นบรรณาธิการของนิตยสารโลกศิลปะ (Art World) ฉบับภาษาจีน[6]

โรงไฟฟ้าศิลปะ
(พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเซี่ยงไฮ้)
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)[1]
ที่ตั้งเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
เว็บไซต์www.powerstationofart.org

ประวัติ แก้

ในปี พ.ศ. 2440 รัฐบาลชิงได้ก่อตั้งโรงงานไฟฟ้า Nanshi Electric Light ที่ท่าเรือ Shiliupu Old Taiping Wharf ในปี พ.ศ. 2498 ได้มีการตั้งชื่อโรงไฟฟ้า Nanshi ในปี 2550 โรงไฟฟ้า Nanshi ทั้ง 3 แห่งหยุดดำเนินการ จากนั้นโครงการฟื้นฟูก็เริ่มขึ้น[7][8] โดยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โครงการบูรณะใหม่ได้เสร็จสิ้นลง ความสูงเดิมของอาคารยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โครงสร้างสี่ชั้นเดิมถูกดัดแปลงเป็นโครงสร้างแปดชั้น และถูกใช้เป็นอาคารศาลาจัดแสดงในชื่อ ศาลาเมืองแห่งอนาคต (Urban Future Pavilion) ในช่วงงานเซี่ยงไฮ้เวิลด์เอ็กซ์โป 2010[7][8][9][10]

หลังงานเอ็กซ์โป 2010 ศาลาเมืองแห่งอนาคต ยังคงถูกเก็บรักษาไว้เป็นหนึ่งในห้าศาลาหลัก (ที่ไม่ถูกทุบทิ้ง) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้แห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนและรัฐบาลเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ได้ตัดสินใจเปลี่ยนศาลาเมืองแห่งอนาคต ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเซี่ยงไฮ้[7][8]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเซี่ยงไฮ้ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน (วังศิลปะจีน) ซึ่งดัดแปลงจากอาคารศาลาจีนจากงานเอ็กซ์โป ได้เปิดขึ้นพร้อมกัน[11] ในเวลาเดียวกันกับการเปิดการแสดงเซี่ยงไฮ้เบียนนาเล่ครั้งที่ 9 (Regeneration—The 9th Shanghai Biennale 2012) ที่ใช้สถานที่แสดงร่วมกันทั้งสองแห่ง[12]

ตั้งแต่ปี 2555 สถานที่จัดงานเซี่ยงไฮ้เบียนนาเล่ (Shanghai Biennale) ได้ย้ายจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้เดิมไปเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเซี่ยงไฮ้[13]

อ้างอิง แก้

  1. Qin, Amy (29 December 2014). "Contemporary Art Sizzles in Shanghai". New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 September 2019.
  2. Megan Willett (8 November 2012). "Shanghai Is Finally Becoming A Serious City For Art". businessinsider.com. สืบค้นเมื่อ 27 November 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Power Station of Art, The New Huangpu River Both Banks". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  4. "Power Station of Art - 200 Huayuangang Lu - Galleries". Time Out Shanghai. 2012-09-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2017-01-07.
  5. "Shanghai's Tricky Museum Transformation". ARTnews. สืบค้นเมื่อ 2017-01-07.
  6. "Shanghai's Tricky Museum Transformation". ARTnews. สืบค้นเมื่อ 2017-01-07.
  7. 7.0 7.1 7.2 "前世今生". 上海当代艺术博物馆官方网站. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  8. 8.0 8.1 8.2 "从电灯厂到高雅艺术殿堂——南市发电厂的百年变迁". 东方网. 2013-06-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-24. สืบค้นเมื่อ 2013-09-19.
  9. "城市最佳实践区南市发电厂改建工程正式竣工". 2010年上海世博会官方网站. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-20. สืบค้นเมื่อ 2013-09-19.
  10. "Popular Pavilions of Expo Shanghai". www.travelchinaguide.com.
  11. "中华艺术宫、上海当代艺术博物馆开馆". 东方网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
  12. "展览档案:重新发电——2012第九届上海双年展". 上海当代艺术博物馆官方网站. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  13. "使命和目标". 上海双年展官方网站. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-18. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.