โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนสุริยานุเคราะห์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยใช้พระนามของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน
โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน Srisawatwittayakarnnan School | |
---|---|
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | [ศ.ว.]>> ภาษาไทย >> ศ.ว. (ศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน) ภาษาอังกฤษ >> S.W. (SRISAWATWITTAYAKARN ) |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี) |
สถาปนา | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 |
ผู้ก่อตั้ง | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 55012001 |
ผู้อำนวยการ | นายกมล สุทธาวาส |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษ |
สี | สีแดง-เหลือง |
เพลง | มาร์ชศรีสวัสดิ์ |
เว็บไซต์ | www.srisawat.ac.th |
ประวัติ
แก้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนภายในวัดช้างค่ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน สร้างด้วยไม้ตะเคียน ทรงปั้นหยา มีหน้ามุข หลังคามุงกระเบื้องไม้กระยาเลย ฝาผนังไม้กระยาเลย เสาไม้ พื้นและเพดานไม้กระยาเลยทาสี และ อุปกรณ์การเรียน เช่น โต๊ะและเก้าอี้เป็นเงิน ๕,๖๐๐ บาท มีการฉลองโรงเรียนที่สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนสุริยานุเคราะห์ เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษามัธยม ๓ ถึงมัธยม ๔ เป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ พระยากรุงศรีสวัสดิการ ปลัดมณฑลประจำจังหวัดน่าน ได้ย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนไปที่บ้านดอน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีเนื้อที่ ๑๑ ไร่ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วมีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามราชทินนามของท่านเป็น ศรีสวัสดิ์วิทยาคาร ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๙ ขยายการเรียนการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๑๔ มีการขยายสถานที่ศึกษาไปยังที่ตั้งใหม่ซึ่งกว้างขวางและใหญ่กว่าที่ตั้งเดิม จึงมีการย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่บ้านดอนมูล ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน ซึ่งมีพื้นที่จำนวน ๕๗ ไร่ เปิดการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งแห่งใหม่ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๙ เปิดรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจุบัน โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ต่อมาโรงเรียนได้สร้างอนุสาวรีย์ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ไว้สักการบูชา ด้วยสำนึกในคุณงามความดีที่สร้างโรงเรียนแห่งนี้
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
แก้- พระพุทธศรีสวัสดิ์สัตยาภิรักษ์มหิทธิศักดิ์มหามุนี
โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร ได้รับความเมตตาจากพระราชนันทาจารย์ (บุญชู ธมฺมสาโร) เจ้าคณะจังหวัดน่าน วัดพญาภู (พ.ศ. 2528) และนางสงวน เกษมสุวรรณ เจ้าของห้างขายยาลูกสาวหมอมี กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จัดสร้างพระพุทธรูป พระพุทธชินราชจำลองถวายแด่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เนื่องในวันเกิดเป็นประจำทุกปี ปีละ 12 องค์ พ.ศ. 2528 ท่านได้จัดสร้างพระพุทธรูปโดยช่างบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร และนำไปประกอบพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหารในขณะนั้น (ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นประธานในพิธี แล้วมอบให้แก่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 อาจารย์เสรี พิมพ์มาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการฯ และคณะ ได้ไปรับพระพุทธรูปจากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร แล้วเดินทางกลับถึงจังหวัดน่านเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2528 และนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพญาภู ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจึงได้จัดขบวนแห่จากวัดพญาภูไปตามถนนในเมืองน่าน
พระราชนันทาจารย์ วัดพญาภู ได้ถวายนามพระพุทธรูปประจำโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร ว่า “พระพุทธศรีสวัสตยาภิรักษ์มหิทธิศักดิ์มหามุนี” ทั้งได้ตั้งปณิธานอธิษฐานว่า “เมื่อผู้ใดมาเคารพกราบไหว้สักการบูชาแล้วก็จะเจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มีชัยด้วยประการทั้งปวง"
- พระพุทธรูปปางมารวิชัย
โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร มีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อทองสำริด พระชยานันทมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดน่านและอดีตเจ้าอาวาสวัดกู่คำ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มอบให้แก่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่นำขบวนคณะครูและนักเรียนโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร เมื่อคราวย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนเดิมที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน มายังโรงเรียนที่ตั้งปัจจุบัน ณ บ้านเจดีย์ ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2516
รายนามผู้บริหารโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
แก้ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายหมื่น | พ.ศ. 2450-2451 |
2 | รองอำมาตย์โทอินท์ นุพงษ์ไทย | พ.ศ. 2452-2456 |
3 | ราชบุรุษอยู่ นักสอน | พ.ศ. 2457-2461 |
4 | นายตี๋ ศัตรูลี้ | พ.ศ. 2462-2464 |
5 | นายด้าย บูรณกร | พ.ศ. 2465-2471 |
6 | นายเล็ก น้ำทิพย์ | พ.ศ. 2472-2476 |
7 | นายเทพ เวชชพงศ์ | พ.ศ. 2477-2483 |
8 | นายอุทิศ ปัจฉิมาภิรมย์ | พ.ศ. 2484-2484 |
9 | นายโกวิทย์ บุณยสกุล | พ.ศ. 2485-2485 |
10 | นายเฟ้อ พิริยะพันธ์ | พ.ศ. 2486-2488 |
11 | นายสุเชฎฐ์ วิชชวุติ | พ.ศ. 2489-2494 |
12 | นายพันธ์ รัติกนก | พ.ศ. 2495-2495 |
13 | นายบุญอวบ บูรณบุตร | พ.ศ. 2495-2502 |
14 | นายประเสริฐ วิชารักษ์ | พ.ศ. 2502-2520 |
15 | นายมนัส กาละดี | พ.ศ. 2520-2534 |
16 | นายประพันธ์ พันธุปาล | พ.ศ. 2534-2535 |
17 | นายอุทัย ขัติยศ | พ.ศ. 2535-2539 |
18 | นายกฤษณ์ สุวรรณประดิษฐ์ | พ.ศ. 2539-2543 |
19 | นายสมุทร ปัญญายอง | พ.ศ. 2543-2549 |
20 | นายวิโรจน์ มหานิล | พ.ศ. 2549-2553 |
21 | นายสมชาย สิทธิวงศ์ | พ.ศ. 2553-2556 |
22 | นายสนอง ก้อนสมบัติ | พ.ศ. 2556-2562 |
23 | นายไตรพฤก ผางาม | พ.ศ. 2562-2565 |
24 | นายกมล สุทธาวาส | พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- ไชยลังกา เครือเสน - ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. 2530
- พิศิษฐ์ ปัทมสัตยาสนธิ - ประธาณกรรมการบริหาร บริษัท อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด
- จงศักดิ์ พานิชกุล - อดีตประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม
- ไพโรจน์ คำอ่อน- ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6 ผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลอาญาธนบุรี
- นิคม เกิดขันหมาก- อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม[1]
- พระชยานันทมุนี - เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง จังหวัดน่าน
อ้างอิง
แก้- ↑ "นิคม เกิดขันหมาก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-06. สืบค้นเมื่อ 2010-11-06.