โรงสีปริญญา

บริษัทหรือองค์การที่รับทำปริญญาบัตรปลอมโดยคิดค่าบริการ

โรงสีปริญญา (อังกฤษ: diploma mill หรือ degree mill) เป็นธุรกิจที่จำหน่ายประกาศนียบัตรชั้นสูงหรือปริญญาอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย[1][2] คำว่าโรงสีปริญญายังใช้อย่างเหยียดหยามเพื่อบ่งบอกถึงสถาบันการศึกษาใด ๆ ที่มีมาตรฐานต่ำในการรับเข้าเรียนและการสำเร็จการศึกษา มีอัตราการบรรจุเข้าทำงานต่ำหรือเงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำ

ปริญญาสามารถปลอมแปลงหรือบิดเบือนได้[3] ธุรกิจเหล่านี้อาจอ้างว่าให้เครดิตสำหรับประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีโปรแกรมการประเมินการเรียนรู้ที่มีมาก่อนที่แท้จริง ธุรกิจเหล่านี้ยังอาจอ้างถึงการประเมินประวัติการทำงานหรือวิทยานิพนธ์เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ[4] โรงสีปริญญามักได้รับการสนับสนุนจากโรงสีรับรองคุณภาพ (accreditation mill) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการทำให้ดูน่าเชื่อถือ[5]

ศัพทวิทยา

แก้

คำในภาษาอังกฤษของ "โรงสีปริญญา" คือ "diploma mill" เดิมมีความหมายถึงสถาบันที่ให้ปริญญาบนพื้นฐานของการผลิตจำนวนมากและการทำกำไรเหมือนกับโรงงาน[6] ความหมายในภาพกว้างกว่านั้นจะหมายถึงสถาบันใด ๆ ที่ให้คุณวุฒิโดยไม่มีการรับรองหรือไม่อยู่บนพื้นฐานของการประเมินทางวิชาการที่เหมาะสม แม้ว่าโดยทั่วไปคำว่า "degree mill" และ "diploma mill" มักใช้สลับกันได้ แต่บางครั้งในแวดวงวิชาการมีการแยกให้แตกต่างกัน[7] โดย "degree mill" ออกปริญญาจากสถาบันที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งอาจถูกกฎหมายในบางรัฐ แต่โดยทั่วไปไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วน "diploma mill" ออกปริญญาปลอมที่มีชื่อของมหาวิทยาลัยจริง

ปริญญาอาจมีการมอบอย่างถูกกฎหมายโดยไม่มีการศึกษาใด ๆ ได้โดยถือเป็นการยอมรับอำนาจหรือประสบการณ์ หากเป็นการมอบเป็นกรณีพิเศษ ปริญญาเช่นนี้จะเรียกว่าปริญญากิตติมศักดิ์ (honorary degree หรือ honoris causa degree) นอกจากนี้ในบางมหาวิทยาลัย ผู้มีวิทยฐานะต่ำกว่า (เช่นปริญญาตรี) อาจได้รับปริญญากิตติมศักดิ์วิทยฐานะสูงกว่า (เช่นปริญญาโท) โดยไม่ต้องผ่านการศึกษา

คำว่า "diploma mill" อาจใช้ในเชิงเหยียดหยามเพื่อบ่งบอกถึงสถาบันการศึกษาที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่มีมาตรฐานต่ำในการรับเข้าเรียน และมีอัตราการบรรจุเข้าทำงานต่ำ เช่นโรงเรียนที่แสวงผลกำไร[5]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Diploma Mills | Consumer Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-12-04.
  2. "Diploma Mills and Accreditation - Diploma Mills". www2.ed.gov. 23 December 2009.
  3. "General guidelines for academic integrity: report" (PDF). European Network for Academic Integrity. 2019-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-31.
  4. "Bogus Institutions and Accrediting Bodies" (PDF).
  5. 5.0 5.1 Luca Lantero, Degree Mills: non-accredited and irregular higher education institutions เก็บถาวร 2015-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Information Centre on Academic Mobility and Equivalence (CIMEA), Italy.
  6. "mill 1 n." Oxford English Dictionary (3rd ed.). สืบค้นเมื่อ November 30, 2012.
  7. "The Real and the Fake: Degree and Diploma Mills", Alan Contreras and George Gollin, Change, March–April 2009

บรรณานุกรม

แก้
  • Levicoff, Steve: Name It and Frame It?: New Opportunities in Adult Education and How to Avoid Being Ripped Off by 'Christian' Degree Mills. Self-published. (4th ed., 1995)
  • Bear, John: Bear's Guide to Earning Degrees by Distance Learning, Ten Speed Press, 2001
  • Noble, David: Digital Diploma Mills: The Automation of Higher Education, Monthly Review Press, 2002, ISBN 1-58367-061-0
  • Checcacci, Claudia; Finocchietti, Carlo; Lantero, Luca: Cimea – against the mills: How to spot and counter diploma mills, CIMEA – Italian Naric centre, 2010

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้