โรคระบาดแอนโทนิน

โรคระบาดแอนโทนิน (อังกฤษ: Antonine Plague; ค.ศ. 165 ถึง 180) มีอีกชื่อว่า โรคระบาดเกเลน (Plague of Galen; ตั้งชื่อตามเกเลน แพทย์ที่อธิบายโรคนี้) เป็นโรคระบาดทั่วแรกที่ส่งผลกระทบต่อจักรวรรดิโรมัน ซึ่งน่าจะติดต่อและแพร่กระจายโดยทหารที่กลับมาจากการทัพในตะวันออกใกล้ นักวิชาการโดยทั่วไปยืนยันว่าโรคระบาดนี้เป็นโรคฝีดาษ[1] ถึงแม้มีบางส่วนแนะนำว่าเป็นโรคหัด[2][3] มีการอ้างว่าโรคนี้คร่าชีวิตจักรพรรดิลูกิอุส เวรุส จักรพรรดิโรมันที่สวรรคตใน ค.ศ. 169 ซึ่งเป็นผู้ร่วมอุปราชของจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส จักรพรรดิสองพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์จากการรับเลี้ยงของจักรพรรดิองค์ที่แล้ว จักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส และนั่นทำให้นามสกุลอันโตนีนุสมีส่วนร่วมกับโรคระบาดนี้

เทวทูตแห่งความตายเคาะประตูในช่วงการระบาดในโรม: ภาพแกะสลักโดย Levasseur หลังจาก Jules-Elie Delaunay
จักรวรรดิโรมันใน ค.ศ. 180

ข้อมูลสมัยโบราณยอมรับว่าโรคระบาดนี้น่าจะปรากฏตอนที่พวกโรมันโจมตีเมืองซิลิวชาในเมโสโปเตเมียช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 165–166[4] อัมมิอานุส มาร์เกลลินุสรายงานว่าโรคนี้แพร่ระบาดไปถึงกอลและกองทหารริมแม่น้ำไรน์ ยูโทรเพียสกล่าวว่าในสัดส่วนประชากรจักรวรรดิจำนวนมากเสียชีวิตจากโรคระบาดนี้[5] กัสซีอุส ดีโอ นักประวัติศาสตร์โรมันบันทึกว่าโรคนี้แพร่ระบาดอีกครั้งใน 9 ปีต่อมาใน ค.ศ. 189 ทำให้มีผู้เสียชีวิตในโรมสูงถึง 2,000 คนในวันเดียว และในจำนวนนั้นได้รับผลกระทบไปหนึ่งส่วนสี่[6] มีการประมาณผู้เสียชีวิตที่ 5–10 ล้าน เกือบร้อยละ 10 ของประชากรจักรวรรดิ[7][8] โรคระบาดนี้มีความรุนแรงเฉพาะในเมืองและกองทัพโรมัน[9]

อ้างอิง แก้

  1. Brooke, John L. "A Global Antiquity, 500 BC-AD 542". Cambridge Core. Cambridget Core. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.. Downloaded from Cambridge Core.
  2. "There is not enough evidence satisfactorily to identify the disease or diseases", concluded J. F. Gilliam in his summary (1961) of the written sources, with inconclusive Greek and Latin inscriptions, two groups of papyri and coinage.
  3. The most recent scientific data have eliminated that possibility. See Furuse, Y.; Suzuki, A.; Oshitani, H. (2010). "Origin of the Measles Virus: Divergence from Rinderpest Virus Between the 11th and 12th Centuries". Virology Journal. 7: 52–55. doi:10.1186/1743-422X-7-52. PMC 2838858. PMID 20202190.
  4. Sicker, Martin (2000). "The Struggle over the Euphrates Frontier". The Pre-Islamic Middle East. Greenwood. p. 169. ISBN 0-275-96890-1.
  5. Eutropius XXXI, 6.24.
  6. Dio Cassius, LXXII 14.3–4; his book that would cover the plague under Marcus Aurelius is missing; the later outburst was the greatest of which the historian had knowledge.
  7. "Reactions to Plague in the Ancient & Medieval World". World History Encyclopedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
  8. "Past pandemics that ravaged Europe". BBC News. November 7, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2017. สืบค้นเมื่อ November 5, 2008.
  9. Smith, Christine A. (1996). "Plague in the Ancient World". The Student Historical Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.

บรรณานุกรม แก้

  • Bruun, Christer, "The Antonine Plague and the 'Third-Century Crisis'," in Olivier Hekster, Gerda de Kleijn, Danielle Slootjes (ed.), Crises and the Roman Empire: Proceedings of the Seventh Workshop of the International Network Impact of Empire, Nijmegen, June 20–24, 2006. Leiden/Boston: Brill, 2007 (Impact of Empire, 7), 201–218.
  • Gilliam, J. F. "The Plague under Marcus Aurelius". American Journal of Philology 82.3 (July 1961), pp. 225–251.
  • Hill, John E. (2009). Through the Jade Gate to Rome: A Study of the Silk Routes during the Later Han Dynasty, First to Second Centuries CE. BookSurge. ISBN 978-1-4392-2134-1.
  • Littman, R.J. and Littman, M.L. "Galen and the Antonine Plague". American Journal of Philology, Vol. 94, No. 3 (Autumn, 1973), pp. 243–255.
  • Marcus Aurelius. Meditations IX.2. Translation and Introduction by Maxwell Staniforth, Penguin, New York, 1981.
  • McNeill, William H. Plagues and Peoples. Bantam Doubleday Dell Publishing Group, Inc., New York, 1976. ISBN 0-385-12122-9.
  • Pulleyblank, Edwin G. "The Roman Empire as Known to Han China", Journal of the American Oriental Society, Vol. 119, (1999), pp. 71–79
  • de Crespigny, Rafe. (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Koninklijke Brill, pp. 514–515, ISBN 978-90-04-15605-0.
  • Zinsser, Hans. Rats, Lice and History: A Chronicle of Disease, Plagues, and Pestilence (1935). Reprinted by Black Dog & Leventhal Publishers, Inc. in 1996. ISBN 1-884822-47-9.