โฟราลูแมบ
โฟราลูแมบ (อังกฤษ: Foralumab) เป็นสารภูมิต้านทานโมโนโคลนของมนุษย์ทั้งหมดที่จับกับพอลิเพปไทด์ ซีดี3 เอปซิลอน[1] เดิมมีชื่อว่า TZLS-401 ปัจจุบันอยู่ในการพัฒนาทางคลินิกโดยบริษัททิเซียนาไลฟ์ไซเอินซ์ (Tiziana Life Sciences) สำหรับการรักษาโรคโครห์น (Crohn's disease) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) แบบทุติยภูมิ[2][3] และโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น ๆ[4] อย่างไรก็ตาม โฟราลูแมบไม่ได้แสดงประสิทธิภาพในการรักษาโรคโครห์น[5]
โมโนโคลนอล แอนติบอดี | |
---|---|
ประเภท | Whole antibody |
แหล่งที่มา | Human |
เป้าหมาย | CD3 epsilon |
ข้อมูลทางคลินิก | |
รหัส ATC |
|
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
ChemSpider |
|
UNII | |
7 (what is this?) (verify) | |
7 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีการเผยแพร่รายงานในวารสารพีเอ็นเอเอส (Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America) ระบุว่าโฟราลูแมบ มีแนวโน้มสามารถรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ได้ โดยคณะนักวิจัยทำการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมด้วยการพ่นยาโฟราลูแมบ ปริมาณ 100 มิลลิกรัม แก่ผู้ป่วยจำนวน 12 รายที่มีอาการของโรคโควิด-19 ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เป็นเวลา 10 วัน ผลการทดลองผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบลดลงเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการพ่นยา และพบว่าโฟราลูแมบปรับเปลี่ยนยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการตอบสนองของทีเซลล์ รวมทั้งพบการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ที่ได้รับการพ่นยาโฟราลูแมบ[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ World Health Organization (2010). "International Nonproprietary Names for Pharmaceutical Substances (INN). Proposed INN: List 103" (PDF). WHO Drug Information.
- ↑ Wexler M. "2nd SPMS Patient Sees Clinical Gains With Foralumab Treatment". Multiple Sclerosis News Today. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2022.
- ↑ "Intranasal Foralumab Provides Neuroimaging and Clinical Improvements in Secondary Progressive Multiple Sclerosis". practicalneurology. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2022.
- ↑ "Foralumab". Tiziana Life Sciences plc.
- ↑ Giuffrida P, Di Sabatino A (กันยายน 2020). "Targeting T cells in inflammatory bowel disease". Pharmacological Research. 159: 105040. doi:10.1016/j.phrs.2020.105040. PMID 32585338. S2CID 220073839.
- ↑ "วิจัยพบ 'โมโนโคลนอลแอนติบอดี' ตัวใหม่ มีศักยภาพรักษาโควิด-19". Xinhua Thai Service. 9 มีนาคม 2023.