โบรแมนซ์
โบรแมนซ์ (อังกฤษ: bromance) หรือ "ผู้ชายถูกชะตากัน" เป็นคำที่มีความหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างชายสองคนที่ไม่มีเพศสัมพันธ์มาเกี่ยวข้อง[1] เกิดขึ้นในทศวรรษ 1990 ในประวัติศาสตร์แล้วหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างชายแท้ แต่ปัจจุบันขยายกว้างขึ้น สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ของชายที่เป็นเกย์ด้วย
ที่มาของคำ
แก้"โบรแมนซ์" (Bromance) เป็นคำผสมระหว่าง "brother" (พี่ชาย น้องชาย) และ "romance" (ความรักใคร่) เดฟ คาร์นีย์ บรรณาธิการอธิบายถึงคำนี้ว่าเกิดขึ้นในนิตยสารเกี่ยวกับสเกตบอร์ด ที่ชื่อ Big Brother ในทศวรรษ 1990 มีความหมายถึงความสัมพันธ์พิเศษที่พัฒนา และเกิดขึ้นระหว่างนักสเกตที่มีเวลาร่วมกันพิเศษด้วยกัน ทัวร์ร่วมกัน นอนโรงแรมห้องเดียวกัน[2]
ในเว็บไซต์เออร์เบิร์นดิกชันนารี ยังระบุความหมายว่า คำว่าโบรแมนซ์ ที่มีความหมายส่วนหนึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์กัน โดยมักแสดงออกอย่างการปล้ำกัน ล็อกคอ กอด ซุกในอ้อมกอด หรือแม้แต่จูบกัน[3]
ในแง่สังคม
แก้อริสโตเติล อธิบายแนวคิดคล้าย ๆ กับคำว่าโบรแมนซ์มาตั้งแต่ช่วงต้น 300 BCE โดยเขียนไว้ว่า "มีบางคนที่ต้องการสหายดี ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อมิตรแท้ เพราะพวกเขารักกัน โดยเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ"[1] ในการสำรวจเรื่องความเป็นเพื่อนและความเป็นชาย พบว่าผู้ชายส่วนใหญ่โตมากับแม่ในทศวรรษ 1970 มีการเปิดเผยอารมณ์มากกว่าและกล้าที่เผยความรู้สึกออกมา[1] ยังไม่ได้ตระหนักถึงแนวคิดหรือความเชื่อเกี่ยวกับเกย์ในยุคนั้น และผู้ชายก็รู้สึกสบายใจที่แสดงความสัมพันธ์กับเพื่อนลึก ๆ ได้ กับชายอื่น[4][5] ผู้ชายยุคนี้จะเริ่มแต่งงานครั้งแรกเมื่อพอมีอายุแล้ว และจากการศึกษาในปี 2007 โดย Rutgers University National Marriage Project ผู้ชายรอที่จะแต่งงานจนกระทั่งอายุ 27 ปี แตกต่างจากในปี 1960 ที่มีค่าเฉลี่ยที่อายุ 23 ปี และผู้ชายที่มีการศึกษารอแต่งงานเมื่ออายุ 30 แล้วจึงจะแต่ง[5] ด้วยเรื่องความกดดันทางการเงิน ความมั่นคง จะครองโสดยาวขึ้น และอาจทำให้พวกเขามีเพื่อนร่วมห้องระหว่างนั้น ในระยะเวลายาว ทำให้พวกเขาอยู่ในมีความสัมพันธ์โบรแมนซ์ได้
เจฟฟรีย์ กรีฟ ศาสตราจารย์จาก University of Maryland School of Social Work อธิบายว่าความสัมพันธ์ของผู้ชายในปัจจุบันนี้ ชายหนุ่มในยุคปัจจุบันมีส่วนร่วมกันมากขึ้นและเปิดเผยอารมณ์กันมากขึ้นกว่ารุ่นพ่อของเขา และยอมรับความเป็นเกย์มากขึ้น ไม่ใช่ว่าเพราะพวกเขาเป็นแต่ผู้ชายสมัยนี้มีความกลัวน้อยลงที่คนอื่นจะมองเป็นเกย์[6]
โบรแมนซ์ในคนดัง
แก้มีคนดังหลายคู่ที่มีความสัมพันธ์โบรแมนซ์ อย่างเช่น เบ็น แอฟเฟล็ก และแม็ตต์ เดม่อน "ซึ่งอาจจะเป็นโบรแมนซ์รุ่นแรกในวงการบันเทิงก็ได้"[7] ที่ยังมีละครออฟบรอดเวย์มีละครเกี่ยวกับพวกเขาที่ชื่อ Matt and Ben และยังมีความสัมพันธ์สามเส้าของ แลนซ์ อาร์มสตรอง, เจค จิลเลนฮอล และแมทธิว แม็คคอนาเฮย์ ที่มีปรากฏในภาพถ่ายด้วยกันบ่อย ๆ ในระหว่างการปั่นจักรยานในฤดูร้อนปี 2006 รวมถึงการวิ่งออกกำลังกายและการสังสรรค์ปาร์ตี้[8] และในที่สุดความสัมพันธ์มิตรแท้ระหว่างจอร์จ คลูนีย์ และ แบรด พิตต์ ที่บางคนบอกว่า "ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ยาวนานที่สุดในชีวิตจอร์จเลย"[9] ซึ่งเรื่องราวของคลูนีย์ยังถูกนำไปล้อเลียนในซีรีส์แอนิเมชันอเมริกันที่ชื่อ American Dad! ตอน "Tears of a Clooney" ที่ล้อโดยตัวละครนำ สแตน สมิธ มีความสัมพันธ์โบรแมนซ์กับคลูนีย์ในเนื้อเรื่อง
ด้านการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่าง บิล คลินตัน และอัล กอร์ ก็ยังถือว่าเป็นโบรแมนซ์ในขั้นต้น[5] ความสัมพันธ์ระหว่าง จอร์จ ดับเบิลยู. บุช กับอดีตโฆษกรัฐบาล สก็อตต์ แม็กเคลแลน ที่แม็กเคลแลนพูดในหนังสือ What Happened ไว้ว่า "the tale of one long, failed bromance".[10] และการเปิดตัวในออนทาริโอและควิเบก ดัลทัน แม็กกินทีและฌอง ชาเรสต์ ก็ถูกอธิบายว่า "เป็นการแตกหน่อโบรแมนซ์"[11][12]
โบรดี เจนเนอร์ ในรายการเรียลลิตี้ทางช่องเอ็มทีวี รายการ The Hills สนทนาให้หัวข้อเกี่ยวกับโบรแมนซ์ในความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมแสดง ของจัสทิน บ็อบบี และสเปนเซอร์ แพร็ตต์ และเขาก็ได้มีซีรีส์ของตัวเองทางเอ็มทีวีเช่นกัน ที่ชื่อ Bromance ออกฉาย 29 ธันวาคม ค.ศ. 2008 เป็นเหมือนรายการเรียลลิตี้ในลักษณะเดทอื่น ที่มี 6 ตอน มีการนำเสนอเกี่ยวกับเจนเนอร์หาผู้เข้าแข่งขันที่จะเป็นส่วนหนึ่งของผู้ติดตามของเขา[13] ในปี ค.ศ. 2008 มีภาพยนตร์เกี่ยวกับโบรแมนซ์เรื่อง Pineapple Express ที่แสดงความสัมพันธ์ของชายกับชายอย่างใกล้ชิดกัน ในปี 2009 มีภาพยนตร์โรแมนติกคอเมดี้เกี่ยวข้องกับเรื่องโบรแมนซ์ ชื่อเรื่อง I Love You, Man ที่นำแสดงโดยพอล รัดด์และเจสัน ซีกัล[14]
โบรแมนซ์ระหว่างเกย์กับชายแท้
แก้ในขณะที่ความหมายโดยทั่วไปจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างชายแท้ แต่ก็มีความสัมพันธ์ระหว่าง เกย์และชายแท้ ก็ถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับโบรแมนซ์เช่นกัน อย่างเช่น ความสัมพันธ์ เกย์-ชายแท้ โบรแมนซ์ (บางครั้งอาจเรียก โฮโมแมนซ์ หรือ โฮโบรแมนซ์) ของคู่ รอนนีย์ โครเอลล์ และเบน ดิเชียร่า จากรายการเรียลลิตี้ทางช่องบราโว่ที่ชื่อ Make Me a Supermodel ที่ทั้งคู่มีชื่อเล่นว่า "Bronnie"[15] และในความสัมพันธ์ในรายการ เซอร์ไวเวอร์ กาบอง ของชาร์ลีย์ เฮร์สเชล และ มาร์คัส เลห์แมน[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Elder, John (2008-10-18). "A fine bromance". The Age. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
- ↑ Elliott, Tim (2007-08-23). "A grand bromance". The Age. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
- ↑ bromance urbandictionary.com
- ↑ Phillipot, Suzy (2008-10-06). "I love you, man". The McGill Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Bindley, Katherine (2008-03-24). "Here's to 'bromance'". Columbia News Service. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
- ↑ Scott Stiffler, How’s Your Bromance?[ลิงก์เสีย]
- ↑ Yaskua, Mitsu (2008-10-29). "11 brands of 'bromances'". dailypress.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ Casablanca, Ted (2008-10-29). "Hollywood Bromances: From Leo+Kevin to Matt+Ben". eonline.com. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
- ↑ Synnot, Siobhan (2008-10-18). "I'm a loser in love, admits Hollywood star George Clooney". The Daily Record. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ Kelly, David (2008-06-02). "One Long, Failed Bromance". Paper Cuts. New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ Florida, Richard (2008-10-17). "Ahead of the Curve". The Montreal Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ Campbell, Murray (2008-10-03). "McGuinty and Charest: a fine bromance". The Globe and Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-04. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ Yagedaran, Jessica (2008-10-13). "Bromance is in the air". Contra Costa Times. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ A new look at 'Bromance'[ลิงก์เสีย]
- ↑ Aterovis, Josh (2008-04-06). "Interview with Ronnie Kroell and Ben DiChiara". AfterElton.com. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
- ↑ Juergens, Brian (2008-10-17). ""Survivor: Gabon" bromance update: Marcus likes his fruit". AfterElton.com. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.