โทริอิ

(เปลี่ยนทางจาก โทะริอิ)

โทริอิ (ญี่ปุ่น: 鳥居โรมาจิTorii, ความหมาย: ที่ของปักษา) คือซุ้มประตูแบบญี่ปุ่น ตั้งไว้เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ว่า อาณาเขตเบื้องหลังเสาโทริอินี้เป็นอาณาเขตของเทพเจ้า เพื่อที่ผู้คนจะได้ไม่เผลอกระทำการอันจะเป็นการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์[1] โทริอิสามารถพบได้ตามศาลเจ้าชินโตตลอดจนวัดพุทธบางแห่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในแผนที่ของญี่ปุ่น จะใช้สัญลักษณ์โทริอิ เป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งศาลเจ้าต่าง ๆ นอกจากนี้ อาจพบโทริอิได้ตามทางเดินและท้องถนนทั่วไปที่แถวนั้นอาจมีเจ้าที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ หรือแม้แต่ในป่าหรือภูเขาลึกบางแห่ง

โทริอิที่ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ เป็นโทริอิรูปแบบ เรียวบุ
โทริอิของเจ้าที่ริมถนนในนะงะซะกิ

โทริอิมีมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่อาจทราบได้ แต่บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนถึงโทริอิ ถูกเขียนเมื่อ ค.ศ. 922 ในช่วงกลางยุคเฮอัง[1] โทริอิหินที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน สร้างในศตวรรษที่ 12 เป็นโทริอิของศาลเจ้าฮะชิมังในจังหวัดยะมะงะตะ ใขณะที่โทริอิไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1535 เป็นโทริอิของศาลเจ้าคุโบฮะชิมัง ในจังหวัดยะมะนะชิ[1]

โทริอิแบบดั้งเดิมนั้นจะถูกสร้างด้วยไม้หรือหิน แต่ในปัจจุบัน โทริอิบางต้นอาจถูกสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งโทริอินั้น มีทั้งแบบทาสีและไม่ทาสี หากทาสี จะทาสีชาดที่ลำต้น และคานด้านบนสุดจะทาด้วยสีดำ ศาลเจ้าฟุชิมิ-อินะริ ในนครเคียวโตะ นั้น มีโทริอิมากกว่าพันต้น แต่ละต้นจะจารึกชื่อผู้บริจาค[2] นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าโทริอิมีวิวัฒนาการมาจากซุ้มประตู "โตรณะ" ที่พบในสถาปัตยกรรมอินเดีย[3]

โทริอิ มีความหมายว่า "ที่ของนก" ในญี่ปุ่น มีความเชื่อว่า นกถือเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับโลกหลังความตาย ซึ่งความเชื่อนี้อาจจะมาจากบันทึกโบราณ โคจิกิ และ นิฮงโชะกิ ที่กล่าวถึงพิธีศพของ ยะมะโตะ ทะเกะรุ โอรสในจักรพรรดิเคโกในตำนาน ว่าเมื่อทะเกะรุสิ้นชีพิตักษัยแล้ว ได้ปรากฏร่างนกสีขาวและบินไปเลือกสถานที่ฝังศพของตนเอง ด้วยเหตุนี้ สถานที่ฝังศพของเขาจึงถูกเรียกว่า ชิระโทะริ มิซะซะงิ (白鳥陵?, สุสานนกสีขาว)

ชื่อเรียกส่วนต่าง ๆ ของโทริอิ

รูปแบบ แก้

โทริอิมีอยู่หลายแบบ ซึ่งแบบที่ง่ายที่สุดคือแบบ ชิเมะโทริอิ หรือ ชูเร็นโทริอิ (注連鳥居) โดยโทริอินั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ชิมเม (神明) และ เมียวจิน (明神)

ประเภท ชิมเม แก้

ประเภท เมียวจิน แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "JAANUS". Torii. สืบค้นเมื่อ 14 January 2010.
  2. "Historical Items about Japan". Michelle Jarboe. 2007-05-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-02-10.
  3. Albert Henry Longhurst (1992). The Story of the Stūpa. Asian Educational Services. p. 17. ISBN 978-81-206-0160-4.