โตเกียวดิสนีย์แลนด์
โตเกียวดิสนีย์แลนด์ (ญี่ปุ่น: 東京ディズニーランド; โรมาจิ: Tōkyō Dizunīrando; ทับศัพท์: Tokyo Disneyland) เป็นสวนสนุกหนึ่งของโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต มีขนาดพื้นที่ 115 เอเคอร์ (465,000 ตารางเมตร) ตั้งอยู่ในที่เมืองอูรายาซุ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น[1]
ปราสาทซินเดอเรลล่า สัญลักษณ์ของโตเกียวดิสนีย์แลนด์ | |
ที่ตั้ง | โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต, อูรายาซุ, จังหวัดชิบะ, ญี่ปุ่น |
---|---|
พิกัด | 35°37′58″N 139°52′50″E / 35.63278°N 139.88056°E |
สถานะ | เปิดบริการ |
เปิดกิจการ | 15 เมษายน 1983 |
ผู้ดำเนินการ | เดอะโอเรียนเต็ลแลนด์ |
รูปแบบ | อาณาจักรแห่งความฝันและเวทมนตร์ |
พื้นที่ | 115 เอเคอร์ (47 เฮกตาร์) |
เว็บไซต์ | หน้าหลักของโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต |
โตเกียวดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกของดิสนีย์แห่งแรกที่สร้างขึ้นภายนอกสหรัฐอเมริกาและเป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย เปิดให้บริการในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2526 ก่อสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์อิเมจจิเนียร์ริง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับดิสนีย์แลนด์ที่แคลิฟอร์เนียและแมจิกคิงดอมที่ฟลอริดา ดำเนินงานโดยบริษัทโอเรียนทัลแลนด์คอมปานี ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์จากเดอะวอลต์ดิสนีย์ ทั้งโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี ถือเป็นสวนสนุกเพียงแห่งเดียวที่วอลส์ดิสนีย์มิได้เป็นเจ้าของกิจการ[2]
สวนสนุกแบ่งออกเป็นเจ็ดสวนสนุกย่อย เช่น เวิร์ลด์บาซาร์ แอดเวนเจอร์แลนด์ เวสเทิร์นแลนด์ แฟนตาซีแลนด์ และทูมอโรว์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีสวนสนุกย่อยอีกสองแห่งคือคริกเตอร์คันทรีและมิกกี้ตูนทาวน์ ในปี 2018 โตเกียวดิสนีย์แลนด์มีจำนวนผู้เข้าชมประมาณ 17.9 ล้านคน จัดอยู่ในอันดับที่สามของสวนสนุกดิสนีย์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดรองจากแมจิกคิงดอมที่ฟลอริดา และดิสนีย์แลนด์ที่แคลิฟอร์เนีย[3]
แผนผังสวนสนุกและเครื่องเล่น
แก้เวิลด์บาซาร์
แก้เวิลด์บาซาร์ (World Bazaar) เป็นทางเดินหลักและแหล่งร้านค้าหลักของโตเกียวดิสนีย์แลนด์ แม้ว่าจะใช้คำว่า "เวิลด์" (หมายถึงโลก) ในชื่อ แต่รูปลักษณ์และรูปแบบโดยทั่วไปของเวิลด์บาซาร์เป็นภาพในอเมริกาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งตรงกับ "เมนสตรีท ยูเอสเอ" พื้นที่ของสวนสนุกรูปแบบแมจิกคิงดอม เวิลด์บาซาร์ประกอบด้วย "ถนน" สองแห่งที่ตัดกัน: ถนนสายหลัก (ทางเดินหลักที่วิ่งจากทางเข้าหลักไปยังปราสาทซินเดอเรลล่า) และถนนเซ็นเตอร์ซึ่งสร้างเส้นตั้งฉากกับถนนสายหลักและนำไปสู่แอดเวนเจอร์แลนด์ในทิศทางหนึ่งและทูมอร์โรว์แลนด์ในอีกด้านหนึ่ง เวิลด์บาซาร์มีหลังคาถาวรครอบคลุมบริเวณถนนสายหลักและถนนเซ็นเตอร์ ออกแบบมาเพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวจากสภาพอากาศต่าง ๆ
แอดเวนเจอร์แลนด์
แก้แอดเวนเจอร์แลนด์ (Adventureland) ประกอบด้วยสองพื้นที่ที่แตกต่างกันแต่เสริมกัน: พื้นที่รูปแบบนิวออร์ลีนส์ และพื้นที่รูปแบบ "ป่า" โดยยืมลักษณะรูปแบบและสถาปัตยกรรมจากพื้นที่นิวออร์ลีนส์สแควร์และแอดเวนเจอร์แลนด์ที่พบในดิสนีย์แลนด์พาร์ก ในสหรัฐ
เวสเทิร์นแลนด์
แก้เวสเทิร์นแลนด์ (Westernland) เป็นพื้นที่ที่มีรูปแบบ "โอลด์เวสต์" ซึ่งมีรูปแบบบคล้ายกับฟรอนเทียร์แลนด์ในสวนสนุกแมจิกคิงดอม ภูมิทัศน์ของเวสเทิร์นแลนด์ครอบครองด้วยภูเขาบิ๊กธันเดอร์ (Big Thunder Mountain) ซึ่งเป็นภูเขารูปแบบหุบเขาโมนูเมนต์ที่ล้อมรอบรถไฟเหาะตีลังกา และแม่น้ำแห่งอเมริกา ทางน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งเป็นที่ตั้งของเรือล่องแม่น้ำมาร์ก ทเวน (Mark Twain Riverboat) เกาะทอม ซอว์เยอร์ (Tom Sawyer Island) และอีกหลายแห่ง
คริตเตอร์คันทรี
แก้คริตเตอร์คันทรีเป็นโซนขนาดเล็กในสวนสนุก โดยมีเครื่องเล่นหลักคือ Splash Mountain ซึ่งเป็นเครื่องเล่น Splash Mountain แห่งสุดท้ายและแห่งเดียวจากสวนสนุกดิสนีย์ทั่วโลก เป็นเครื่องเล่นฟลูมซึ่งเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1992 และได้รับแรงบันดาลใจมาจากซีเควนซ์แอนิเมชันของภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่องซองออฟเดอะเซาต์ (Song of the South) ในปี ค.ศ. 1946
แฟนตาซีแลนด์
แก้เช่นเดียวกับสวนสนุกแมจิกคิงดอม ทางเข้ากลางของแฟนตาซีแลนด์ (Fantasyland) คือปราสาทซินเดอเรลล่า ซึ่งเป็นสำเนาที่ใกล้เคียงกันกับปราสาทของแมจิกคิงดอมในรัฐฟลอริดา แฟนตาซีแลนด์ไม่มี "เครื่องเล่นหวาดเสียว" เลย ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเล่นดาร์กไรด์ ที่จะพานักท่องเที่ยวผ่านฉากต่าง ๆ จากภาพยนตร์ของดิสนีย์ เช่น สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ปีเตอร์แพน และพินอคคิโอ พื้นที่ส่วนย่อย โฉมงามกับเจ้าชายอสูร ใหม่เปิดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 โดยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนขยายที่ใหญ่ที่สุดของสวนสนุก เครื่องเล่นดาร์กไรด์ชื่อ นิทานมหัศจรรย์แห่งโฉมงามกับเจ้าชายอสูร (Enchanted Tale of Beauty and the Beast) ตั้งอยู่ในปราสาทโฉมงามกับเจ้าชายอสูรแห่งใหม่ โดยมีกระท่อมของมอริซ และน้ำพุของแกสตันอยู่ที่ทางเข้า[4] ส่วนใหม่ยังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเบลล์ ซึ่งรวมถึงร้านอาหารโรงเตี๊ยมของแกสตัน และร้านขายของในหมู่บ้าน ที่จำหน่ายของที่ระลึกและของขวัญ[5]
สถานที่แสดงละครเวทีแห่งใหม่ชื่อโรงละครแฟนตาซีแลนด์ฟอเรสต์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการขยายพื้นที่เช่นกัน ด้วยความจุ 1,500 คน โดยมีการแสดง โลกแห่งดนตรีมหัศจรรย์ของมิกกี้ ความยาว 25 นาที[6]
ตูนทาวน์
แก้เช่นเดียวกับที่ดิสนีย์แลนด์ ตูนทาวน์ (Toontown) (เรียกว่า "มิกกีตูนทาวน์" ที่ดิสนีย์แลนด์) ได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากภาพยนตร์เรื่อง โรเจอร์ แรบบิท ตูนพิลึกโลก เครื่องเล่นสำคัญที่นี่คือ รถตูนสปินของโรเจอร์ แรบบิท (Roger Rabbit's Car Toon Spin)
สถานที่แห่งใหม่ชื่อสตูดิโอสไตล์มินนี (Minnie's Style Studio) เปิดให้บริการในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 โดยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนขยายที่ใหญ่ที่สุดของสวนสนุก เนื่องจากเป็นพื้นที่ทักทายตัวละคร นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปกับมินนี่ซึ่งจะสวมชุดตามฤดูกาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป[5]
ทูมอร์โรว์แลนด์
แก้เช่นเดียวกับสวนสนุกดิสนีย์ยุคใหม่แห่งอื่น ๆ สวนสนุกทูมอร์โรว์แลนด์ (Tomorrowland) ของโตเกียวดิสนีย์แลนด์ละทิ้งวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่อิงตามความเป็นจริง แต่กลับนำเสนอรูปแบบแฟนตาซีแนววิทยาศาสตร์แทน ในทางสถาปัตยกรรมได้ยืมมาจากทูมอร์โรว์แลนด์ของรัฐฟลอริดาเวอร์ชันปี ค.ศ. 1971–1993 เครื่องเล่นต่าง ๆ ได้แก่ สเปซเมาต์เทนต์ (Space Mountain), สตาร์ทัวร์ – ดิแอดเวนเจอส์คอนตินิว (Star Tours – The Adventures Continue) และ บัซไลต์เยียร์แอสโตรบลาสเตอร์ (Buzz Lightyear's Astro Blasters)
รถหมุนได้ชื่อ เครื่องเล่นแสนสุขกับเบย์แม็กซ์ (The Happy Ride With Baymax) เปิดให้บริการในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 โดยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนขยายที่ใหญ่ที่สุดของสวนสนุก เครื่องเล่นนี้เป็นเครื่องเล่นแห่งแรกของดิสนีย์ที่ได้มาจากภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่อง บิ๊กฮีโร่ 6 (2014)[7] ร้านป็อปคอร์นรูปแบบอวกาศสุดพิเศษแห่งใหม่ชื่อเดอะบิ๊กป็อปก็เปิดในวันเดียวกันด้วย[6]
-
เวิลด์บาซาร์
-
แอดเวนเจอร์แลนด์
-
เวสเทิร์นแลนด์
-
คริตเตอร์คันทรี
-
แฟนตาซีแลนด์
(อิตอะสมอลเวิลด์) -
ตูนทาวน์
-
ทูมอร์โรว์แลนด์
นักท่องเที่ยว
แก้2006 | 2007 | 2008 | 2009 | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
12,900,000[8] | 13,906,000[9] | 14,293,000[10] | 13,646,000[11] | 14,452,000[12] | 13,996,000[13] | 14,847,000[14] | 17,214,000[15] | 17,300,000[16] | 16,600,000[17] |
2016 | 2017 | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | อันดับโลก (2020) | |||
16,540,000[18] | 16,600,000[19] | 17,907,000[20] | 17,910,000[21] | 4,160,000[22] | 6,300,000[23] | 6 |
อ้างอิง
แก้- ↑ Shoji, Kaori (April 12, 2013). "Tokyo Disneyland turns 30!". JapanTimes. สืบค้นเมื่อ August 11, 2020.
- ↑ "Adobe Acrobat". acrobat.adobe.com.
- ↑ "TEA/AECOM 2018 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.
- ↑ "Beauty and the Beast ride to open in 2020 at Tokyo Disneyland". Blooloop. September 20, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ 5.0 5.1 "Tokyo Disneyland's Beauty and Beast Castle, largest expansion in park's history, to open on Sept 28". Japan Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ 6.0 6.1 Leggate, James (2020-09-17). "Tokyo Disneyland expansion with 'Beauty and the Beast' castle opening this month". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ "New Experiences at Tokyo Disneyland Park Featuring New Fantasyland, Enchanted Tale of Beauty and the Beast and More Open Today!". Disney Parks Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ "TEA/ERA 2006 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/ERA. 2007. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "TEA/ERA 2007 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/ERA. 2008. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "TEA/ERA 2008 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/ERA. 2009. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "TEA/AECOM 2009 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2010. p. 7. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "TEA/AECOM 2010 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2011. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "TEA/AECOM 2011 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2012. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "TEA/AECOM 2012 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 8, 2014. สืบค้นเมื่อ July 25, 2013.
- ↑ "TEA/AECOM 2013 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ June 6, 2014.
- ↑ "TEA/AECOM 2014 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2015. p. 7. สืบค้นเมื่อ May 27, 2016.
- ↑ "TEA/AECOM 2015 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2016. สืบค้นเมื่อ June 3, 2016.
- ↑ "TEA/AECOM 2016 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "TEA/AECOM 2017 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2017. สืบค้นเมื่อ May 17, 2018.
- ↑ "TEA/AECOM 2018 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2017. สืบค้นเมื่อ May 23, 2019.
- ↑ "TEA/AECOM 2019 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2020. สืบค้นเมื่อ July 18, 2020.
- ↑ "TEA/AECOM 2020 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2020. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Events & News" (ภาษาอังกฤษ). Themed Entertainment Association. สืบค้นเมื่อ 2022-11-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ ภาษาญี่ปุ่น เก็บถาวร 2004-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ ภาษาอังกฤษ
- แผนที่ ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาอังกฤษ[ลิงก์เสีย]
- กูเกิลแมปส์ (ภาพถ่ายดาวเทียม) (ละจิจูด: 35.633 ลองจิจูด: 139.882)