โคนัง (จังหวัดไอจิ)

นครในจังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น

โคนัง (ญี่ปุ่น: 江南市โรมาจิKōnan-shi) เป็นนครทางตะวันตกเฉียงเหนือในจังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 30.20 ตารางกิโลเมตร (11.66 ตารางไมล์) ข้อมูลเมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2019 (2019 -10-01) โคนังมีประชากรประมาณ 97,903 คน 41,363 หลังคาเรือน[1] และมีความหนาแน่นของประชากร 3,242 คนต่อตารางกิโลเมตร (8,400 คนต่อตารางไมล์)

โคนัง

江南市
ทิวทัศน์นครโคนัง
ทิวทัศน์นครโคนัง
ธงของโคนัง
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโคนัง
ตรา
ที่ตั้งของโคนัง (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไอจิ
ที่ตั้งของโคนัง (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไอจิ
แผนที่
โคนังตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โคนัง
โคนัง
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°19′55.5″N 136°52′14.4″E / 35.332083°N 136.870667°E / 35.332083; 136.870667
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ, โทไก
จังหวัดจังหวัดไอจิ ไอจิ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคาซูโนบุ ซาวาดะ (沢田 和延)
พื้นที่
 • ทั้งหมด30.20 ตร.กม. (11.66 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 ตุลาคม ค.ศ. 2019)
 • ทั้งหมด97,903 คน
 • ความหนาแน่น3,200 คน/ตร.กม. (8,400 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
 • ต้นไม้ฮอลลีใบกลม, คูโรงาเนะฮอลลี (Ilex rotunda)
 • ดอกไม้วีสเตียเรียญี่ปุ่น
โทรศัพท์0587-54-1111
ที่อยู่90 Ōbori, Akadouji-machi, Kōnan-shi, Aichi-ken 483-8701
เว็บไซต์www.city.konan.lg.jp

คำว่า โคนัง แปลว่า "ทิศใต้ของแม่น้ำ" ซึ่งหมายถึงแม่น้ำคิโซะ

ภูมิศาสตร์

แก้

โคนังตั้งอยู่ทางตอนเหนือของที่ราบโนบิ ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำคิโซะ มีระยะทางจากตะวันตกไปตะวันออก 6.1 กิโลเมตร (3.8 ไมล์) และจากเหนือไปใต้ 8.8 กิโลเมตร (5.5 ไมล์) ลักษณะธรณีสัณฐานโดยทั่วไปเป็นที่ราบตะกอนน้ำพารูปพัดที่อุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ห่างจากนครนาโงยะประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางไปยังจังหวัดกิฟุที่อยู่ติดกัน

อาณาเขตติดต่อ

แก้

ภูมิอากาศ

แก้

โคนังมีลักษณะภูมิอากาศคือ ฤดูร้อนที่ร้อนและชื้น และฤดูหนาวที่ค่อนข้างไม่รุนแรง (เคิพเพิน Cfa) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในโคนังอยู่ที่ 15.7 °C (60.3 °F) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,845 มิลลิเมตร (72.6 นิ้ว) โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะอยู่ในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 28.0 °C (82.4 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 4.2 °C (39.6 °F)[2]

ประชากร

แก้

ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของโคนังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1940 33,664—    
1950 42,836+27.2%
1960 49,278+15.0%
1970 77,996+58.3%
1980 92,141+18.1%
1990 93,837+1.8%
2000 97,923+4.4%
2010 99,731+1.8%

ประวัติศาสตร์

แก้

พื้นที่บริเวณโคนังเดิมอยู่ในแคว้นโอวาริในสมัยโบราณ และในยุคเอโดะพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในแคว้นศักดินาโอวาริ ภายใต้การปกครองของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ

หลังจากที่มีการก่อตั้งระบบเทศบาลขึ้นในช่วงต้นของยุคเมจิ พื้นที่บริเวณนี้ก็ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลหมู่บ้านหลายแห่งในอำเภอนิวะ จังหวัดไอจิ ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในช่วงสมัยนั้น หมู่บ้านโคโอริได้รับการยกฐานะเป็นเมืองโฮเตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 เมืองโฮเตและเมืองโคจิโนะ พร้อมทั้งเมืองมิยาตะและหมู่บ้านคูซาอิจากอำเภอฮางูริ ได้ผนวกรวมกันเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1954 เพื่อจัดตั้งเป็นนครโคนัง

การเมืองการปกครอง

แก้
 
ศาลาว่าการนครโคนัง

โคนังมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานิติบัญญัติของนครซึ่งเป็นระบบสภาเดียวที่มีสมาชิก 22 คน ในการเมืองระดับจังหวัด โคนังเป็นเขตที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไอจิจำนวนหนึ่งที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ โคนังเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 10 จังหวัดไอจิในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นหรือสภาล่างในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เศรษฐกิจ

แก้

โคนังเป็นศูนย์กลางการค้าในท้องถิ่นและศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าและอุตสาหกรรมการผลิตเบา เนื่องจากอยู่ใกล้กับนครนาโงยะ โคนังจึงกลายเป็นชานเมืองที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนที่สัญจรไปและกลับจากที่ทำงานเพิ่มมากขึ้น

 
ย่านโฮเตโจ

การศึกษา

แก้

โคนังมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 10 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 5 แห่ง และโรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไอจิ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 3 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมต้นเอกชน 1 แห่ง และโรงเรียนมัธยมปลายเอกชน 1 แห่ง นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยไอจิโคนัง ซึ่งเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน

การขนส่ง

แก้

รถไฟ

แก้

ทางหลวง

แก้

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

แก้
 
โฮเตโนะไดบุตสึ
สวนสาธารณะ
  • ฟลาวเวอร์พาร์กโคนัง (フラワーパーク江南)
  • ซูอิโตปิอะโคนัง (すいとぴあ江南)
สถานที่ทางประวัติศาสตร์

เทศกาล

แก้

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้