แอร์โนสตรุม (สเปน: Air Nostrum) เป็นสายการบินระดับภูมิภาคสัญชาติสเปน ที่มีสำนักงานใหญ่ในท่าอากาศยานบาเลนเซีย[2] ในฐานะสายการบินในเครือของกลุ่มพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์ สายการบินให้บริการเที่ยวบินตามกำหนดการสู่จุดหมายปลายทาง 51 แห่งและเที่ยวบินเช่าเหมาลำ แอร์โนสตรุมมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานบาเลนเซีย ท่าอากาศยานบาร์เซโลนา และท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัส[3]

แอร์โนสตรุม
IATA ICAO รหัสเรียก
YW ANE NOSTRA AIR
ก่อตั้ง23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี)
เริ่มดำเนินงาน15 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี)
AOC #ES.AOC.002[1]
ท่าหลักบาร์เซโลนา
มาดริด
บาเลนเซีย
สะสมไมล์อาวิออส
พันธมิตรการบินวันเวิลด์ (สมาชิกในเครือ)
ขนาดฝูงบิน39
จุดหมาย51
บริษัทแม่พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของสายการบินระดับภูมิภาค
สำนักงานใหญ่สเปน ท่าอากาศยานบาเลนเซีย บาเลนเซีย ประเทศสเปน
เว็บไซต์www.airnostrum.com

แอร์โนสตรุมทำการบินเที่ยวบินระดับภูมิภาคให้แก่ไอบีเรียภายใต้ชื่อ ไอบีเรียรีเจียนัล นอกจากนี้สายการบินยังให้บริการเที่ยวบินบางส่วนให้กับบรัสเซลส์แอร์ไลน์ในปลายปี 2018 เป็นการทดแทนสายการบินซิตีเจ็ตเดิม แอร์โนสตรุมยังถือกรรมสิทธิ์ในอีร์โย ระบบรถไฟความเร็วสูงในสเปนที่เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022[4]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 แอร์โนสตรุมได้ทำการผนวกกิจการเข้ากับซิตีเจ็ต สายการบินระดับภูมิภาคสัญชาติไอริช[5] โดยผู้ถือหุ้นในสายการบินจะได้รับหุ้นส่วน 80% ในพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของสายการบินระดับภูมิภาค (ซารา)

ประวัติ

แก้
 
เอทีอาร์ 72-600 ของแอร์โนสตรุมในลวดลายเก่า โดยสวมลวดลายพิเศษเฉลิมฉลองเครื่องบินลำที่ 1000 ที่ผลิตโดยเอทีอาร์

สายการบินก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 และเริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม[6]

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2008 ยกเลิกที่นั่งชั้นธุรกิจระดับภูมิภาค โดยห้องโดยสารจะมีการแบ่งกั้นที่นั่งชั้นธุรกิจและชั้นประหยัด ผู้โดยสารชั้นประหยัดสามารถสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มบนเที่ยวบินได้[7]

ในวันที่ 7กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 แอร์โนสตรุมได้ประกาศใช้ ERE (รูปแบบในการลดจำนวนพนักงานและการเลิกจ้าง) เป็นผลมาจากค่าเชื้อเพลิงเครื่องบินที่สูงขึ้นและรายได้ที่น้อยลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพนักงานทั้ง 1,800 คนเป็นเวลาสองปี โดยในช่วงระหว่างสอบปีนั้น บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ200 จำนวน 15 ลำจะถูกระงับการบินและเส้นทางบินบางส่วนจะถูกยกเลิก[8]

ในวันที่ 31มีนาคม ค.ศ. 2014, สายการบินได้ประกาศการเข้าควบคุมบริษัทโดยบริษัทของกลุ่มนักธุรกิจชาวบาเลนเซีย ซึ่งมี การ์โลส แบร์โตเมว ซีอีโอของบริษัท ณ เวลานั้น โดยมีเงินทุนประมาณ 25 ล้านยูโร แบ่งเป็นทุนและหนี้สิน[9]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2017 สายการบินได้ทำการขออนุญาตจดทะเบียนในการดำเนินรถไฟความเร็วสูงระหว่างสถานีมาดริดอาโตชาและสถานีมงเปอลีเย-แซงต์-รอช ในฝรั่งเศสตอนใต้ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2018 โดยใช้รถไฟอาอูเบเอ กลาส 100 ที่เช่าจากเรนเฟโอเปราโดรา[10]

ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 แอร์โนสตรุมได้ประกาศแผนที่จะรผนวกกิจการเข้ากับซิตีเจ็ตสัญชาติไอริช โดยที่จะดำเนินการภายใต้ชื่อตนเอง การผนวกกิจการนี้จะทำให้เป็นสายการบินระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[11] กาาผนวกกิจการเสร็จสิ้นเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2023

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 แอร์โนสตรุมได้ประกาศสั่งซื้อเรือเหาะไฮบริดแอร์วีฮิเคิล แอร์แลนเดอร์ 10 โดยมีกำหนดให้บริการในปี 2026[12] ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 แอร์โนสตรุมได้สั่งซื้อเพิ่มเติมเป็นเท่าตัว โดยสั่งซื้อแอร์แลนเดอร์ 10 จำนวน 20 ลำ[13]

ฝูงบิน

แก้
 
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ1000 ของแอร์โนสตรุม

ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024 แอร์โนสตรุมมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:

ฝูงบินของแอร์โนสตรุม
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
เอทีอาร์ 72-600 6 72
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ200 6 50
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ1000 27 100
แอร์แลนเดอร์ 10 20[ต้องการอ้างอิง] 100[ต้องการอ้างอิง] ลูกค้าเปิดตัว[14]
ส่งมอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2027[15]
รวม 39 20

แอร์โนสตรุมมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 11.6 ปี

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

แก้
  • 17 มกราคม ค.ศ. 2003: ฟอกเกอร์ 50 ของแอร์โนสตรุมเกิดเหตุไถลออกนอกทางวิ่งของท่าอากาศยานเมลียาและพุ่งชนเข้ากับรั้วกั้นเขตท่าอากาศยานก่อนที่ลำตัวเครื่องจะแยกตัวออกเป็นสองส่วย ส่งผลให้ผู้โดยสารเก้าคนได้รับบาดเจ็บ[16]
  • 24 มกราคม 2006: เที่ยวบินที่ 8665 ซึ่งเป็นบอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ200 (ทะเบียน EC-IBM) ที่เดินทางจากบายาโดลิด ได้ทำการลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่องที่ท่าอากาศยานบาร์เซโลนาอัลปรัต โดยมีผู้โดยสารสองคนได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการสืบสวนพบว่าสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้คือความผิดพลาดของนักบิน[17]

อ้างอิง

แก้
  1. "Listado de Certificados de Operador Aéreo (AOC) de avión y helicóptero" (PDF). Agencia Estatal de Seguridad Aérea (AESA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
  2. "Contact List เก็บถาวร 2014-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Air Nostrum. Retrieved on 20 May 2009. "Avda. Comarques del País Valenciá, 2. 46930 Quart de Poblet, Valencia España / Spain"
  3. "Directory: World Airlines". Flight International. 2007-03-27. p. 64.
  4. "Iryo makes inaugural run". International Railway Journal. 25 November 2022. สืบค้นเมื่อ 26 November 2022.
  5. "Air Nostrum and CityJet complete merger to create largest regional airline in Europe". AeroTime (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
  6. Air Nostrum History - The First Airline of Regional Aviation in Spain เก็บถาวร 2014-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. airnostrum.es - On board service retrieved 21 January 2018
  8. "Air Nostrum presenta un ERE que afectará a sus 1.800 trabajadores durante dos años". RTVE.es (ภาษาสเปน). Europa Press. 2012-02-07. สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
  9. "Noticias". www.airnostrum.es. สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
  10. Spanish airline to enter high speed rail market เก็บถาวร 2017-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Railway Journal 12 October 2017
  11. Dublin based City Jet merges with Spain’s Air Nostrum Irish Independent July 17, 2018
  12. Kaminski-Morrow, David. "Spain's Air Nostrum plots introduction of UK airships for domestic services". Flight Global. สืบค้นเมื่อ 15 June 2022.
  13. "Air Nostrum Group doubles reservation agreement". www.hybridairvehicles.com. 31 August 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.
  14. "Air Nostrum Group becomes Airlander 10 launch airline customer". www.hybridairvehicles.com. 15 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.
  15. "Air Nostrum doubles Airlander 10 airship order, plans Malta base - AeroTime" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-09-04. สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.
  16. "Mellila F50 Crash (Nostrum Air)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-08.
  17. Hradecky, Simon. "Report: Air Nostrum CRJ2 at Barcelona on Jan 24th 2007, belly landing". Aviation Herald. สืบค้นเมื่อ 25 March 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้