แอบู แบกร์ แอล-รอซี

แอบู แบกร์ แอล-รอซี (อักษรโรมัน: Abū Bakr al-Rāzī; ชื่อเต็ม: أبو بکر محمد بن زکریاء الرازي, Abū Bakr Muḥammad bin Zakariyyāʾ al-Rāzī)[a] ป. ค.ศ. 864 หรือ 865–925 หรือ 935,[b] หรือมักเรียกว่า แอลรอซี หรือชื่อละติน ราซีส (อักษรละติน: Rhazes หรือ Rhasis) เป็นนักศิลปวิทยาการชาวเปอร์เซีย[1] ผู้รู้ด้านแพทยศาสตร์, ปรัชญา และ วิชาเล่นแร่แปลธาตุ มีชีวิตอยู่ในสมัยยุคทองของอิสลาม รอซีได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การแพทย์[2] นอกจากนี้ยังมีผลงานเชียนในสาขาวิชาตรรกศาสตร์, ดาราศาสตร์ และ ไวยากรณ์[3] และเป็นที่รู้จักจากงานเขียนวิพากษ์ศาสนา โดยเฉพาะในประเด็นการเป็นผู้ส่งสาร และ การเปิดผยบางสิ่งจากพระเจ้าแก่มนุษย์[4]

แอบู แบกร์ แอล-รอซี
รูปปั้นของแอลรอซีที่เวียนนา
รูปปั้นของแอลรอซีในศาลาปราชญ์ในเวียนนา
เกิดค.ศ. 864 หรือ 865
ฮิจเราะห์ศักราช 250 หรือ 251
ราย (อิหร่าน)
เสียชีวิต925 (อายุ 60–61) CE or
935 (อายุ 70–71) CE
313 or 323 AH
ราย (อิหร่าน)
ยุคยุคทองของอิสลาม
ความสนใจหลัก
แพทยศาสตร์, ปรัชญา, วิชาแปรธาตุ, การวิจารณ์ศาสนา

แอลรอซีเป็นบุคคลแรก ๆ ที่ใช้หลักของการแพทย์เชิงทดลอง รวมถึงยังประกอบวิชาชีพเป็นหัวหน้าแพทย์ทั้งในแบกแดด และใน ราย[5][6] ในฐานะอาจารย์แพทย์ เขายังได้สอนศิษย์จากทุกภูมิหลังและทุกความสนใจ และทุ่มเทให้กับการสอนไม่ว่าศิษย์จะยากดีมีจนเช่นไร[7] ในบรรดาผลงานในสาขาแพทยศาสตร์ของเขา เขาเป็นคนแรกที่ระบุการแยกลักษณะทางคลินิกระหว่างฝีดาษ และ หัด ได้ รวมถึงยังเสนอแนวทางการรักษาฝีดาษไว้เช่นกัน[8]

งานเขียนและแนวคิดทางการแพทย์ของเขาถูกนำไปแปลและกลายมาเป็นที่รู้จักในบรรดาแพทย์ยุคกลางของยุโรป งานของเขามีอิทธิพลมากต่อวงการแพทยศาสตร์ศึกษาของโลกตะวันตกละตินในเวบานั้น[5] บางบทจากงานเขียนเล่ม Al-Mansuri ได้แก่บท "ว่าด้วยศัลยศาสตร์" และ "เล่มทั่วไปสำหรับการรักษา" กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของตะวันตก[5] Edward Granville Browne ยกย่องให้เขาเป็น "น่าจะเป็นแพทย์มุสลิมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นต้นฉบับที่สุด และหนึ่งในนักเขียนที่ผลงานเขียนมีอิทธิพลเยอะที่สุด"[9] นอกจากนี้ เขายังได้รับการเรียกว่าเป็น "บิดาแห่งกุมารเวชศาสตร์"[10][11] รวมถึงยังมีบทบาทมากต่อแพทยศาสตร์ในสาขาสูติศาสตร์ และ จักษุวิทยา[12] หนึ่งในผลงานสำคัญของเขาคือเป็นแพทย์คนแรกที่พบและบรรยายถึงการตอบสนองของรูม่านตาต่อแสงไฟ[11]

อ้างอิง แก้

  1. For the spelling of his Arabic name, see for example Kraus 1939. Sometimes it is also spelled زکریا (Zakariyyā) rather than زکریاء (Zakariyyāʾ), as for example in Dānish-pazhūh 1964, p. 1 of the edition, or in Mohaghegh 1993, p. 5. In modern Persian his name is rendered as ابوبکر محمدبن زکریا رازی (see Dānish-pazhūh 1964, p. 1 of the introduction), though instead of زکریا one may also find زکریای (see Mohaghegh 1993, p. 18).
  2. For his date of birth, Kraus & Pines 1913–1936 give 864 CE / 250 AH (Goodman 1960–2007 gives 854 CE / 250 AH, but this is a typo), while Richter-Bernburg 2003 and Adamson 2021a give 865 CE / 251 AH. For his date of death as 925 or 935 CE / 313 or 323 AH, see Goodman 1960–2007; some sources only give 925 CE / 313 AH (Walker 1998; Richter-Bernburg 2003; Adamson 2021a).
  1. Oxford Reference 2022
    Ziai 2005, p. 415
    Sarton 1927, p. 587
    Frye 1975, pp. 415–416
    Duffin 2021, p. 74
    Ullmann 1997, p. xi
    Arberry 2008, p. 37
  2. Walker 1998; Iskandar 2008; Adamson 2021a.
  3. Majid Fakhry, A History of Islamic Philosophy: Third Edition, Columbia University Press (2004), p. 98.
  4. Adamson 2021a
  5. 5.0 5.1 5.2 Iskandar 2008.
  6. Influence of Islam on World Civilization" by Prof. Z. Ahmed, p. 127.
  7. Rāzī, Abū Bakr Muḥammad ibn Zakarīyā, Fuat Sezgin, Māzin ʻAmāwī, Carl Ehrig-Eggert, and E. Neubauer. Muḥammad ibn Zakarīyāʼ ar-Rāzī (d. 313/925): texts and studies. Frankfurt am Main: Institute for the History of Arabic-Islamic Science at the Johann Wolfgang Goethe University, 1999.
  8. ANSARI, A. S. BAZMEE (1976). "Abu Bakr Muhammad Ibn Yahya Al-Razi: Universal Scholar and Scientist". Islamic Studies. 15 (3): 155–166. ISSN 0578-8072. JSTOR 20847003.
  9. Browne 1921, p. 44.
  10. Tschanz David W., PhD (2003). "Arab(?) Roots of European Medicine". Heart Views. 4 (2).
  11. 11.0 11.1 Elgood, Cyril (2010). A Medical History of Persia and The Eastern Caliphate (1st ed.). London: Cambridge. pp. 202–203. ISBN 978-1-108-01588-2. By writing a monograph on 'Diseases in Children' he may also be looked upon as the father of paediatrics.
  12. "Ar-Razi (Rhazes), 864-930 C.E." www.unhas.ac.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-27. Ar-Razi was a pioneer in many areas of medicine and treatment and the health sciences in general. In particular, he was a pioneer in the fields of pediatrics, obstetrics and ophthalmology.

บรรณานุกรม แก้