แรพโซดีออนอะธีมออฟปากานินี

แรพโซดี ออนอะธีมออฟ ปากานินี ในบันไดเสียง เอ ไมเนอร์, โอปุส 43 (อังกฤษ: Rhapsody on a Theme of Paganini; รัสเซีย: Рапсодия на тему Паганини, Rapsodiya na temu Paganini) เป็นผลงานประพันธ์ของเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ เขียนขึ้นสำหรับบรรเลงเดี่ยวเปียโนกับวงออร์เคสตรา มีลักษณะคล้ายเปียโนคอนแชร์โต

รัคมานินอฟเขียนผลงานชิ้นนี้ขึ้นที่บ้านพักของเขาในสวิตเซอร์แลนด์ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม ถึง 18 สิงหาคม ค.ศ. 1934 ออกแสดงครั้งแรกที่บัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1934 อำนวยเพลงโดยลีโอโปลด์ สโตโควสกี โดยรัคมานินอฟบรรเลงเดี่ยวเปียโนด้วยตัวเอง

ผลงานชิ้นนี้ประกอบด้วยวาริเอชัน 24 ชิ้นที่ดัดแปลงมาจาก คาปรีซ์หมายเลข 24 ในบันไดเสียง เอ ไมเนอร์ ผลงานชิ้นสุดท้ายในชุด คาปรีซ์ 24 ชิ้นสำหรับเดี่ยวไวโอลิน ของนิกโคโล ปากานินี ประกอบด้วย

  • Introduction: Allegro vivace - Variation I (Precedente)
  • Tema: L'istesso tempo
  • Variation 2: L'istesso tempo
  • Variation 3: L'istesso tempo
  • Variation 4: Più vivo
  • Variation 5: Tempo precedente
  • Variation 6: L'istesso tempo
  • Variation 7: Meno mosso, a tempo moderato
  • Variation 8: Tempo I
  • Variation 9: L'istesso tempo
  • Variation 10: L'istesso tempo
  • Variation 11: Moderato
  • Variation 12: Tempo di minuetto (D minor)
  • Variation 13: Allegro (D minor)
  • Variation 14: L'istesso tempo (F major)
  • Variation 15: Più vivo scherzando (F major)
  • Variation 16: Allegretto (B flat minor)
  • Variation 17: Allegretto (B flat minor)
  • Variation 18: Andante cantabile (D flat major)
  • Variation 19: A tempo vivace
  • Variation 20: Un poco più vivo
  • Variation 21: Un poco più vivo
  • Variation 22: Un poco più vivo (Alla breve)
  • Variation 23: L'istesso tempo
  • Variation 24: A tempo un poco meno mosso

บัลเลต์ แก้

ในปี ค.ศ. 1939 มิคาอิล ฟ็อกกิน นักออกแบบท่าเต้นชาวรัสเซีย ได้ติดต่อขออนุญาตรัคมานินอฟเพื่อนำผลงานนี้มาดัดแปลงสำหรับแสดงบัลเลต์เรื่อง ปากานินี โดยได้ขอดัดแปลงวาริเอชันที่ 18 จากบันไดเสียง ดี-แฟลต เมเจอร์ เป็น เอ ไมเนอร์ แทน [1] บัลเลต์เรื่องนี้ออกแสดงครั้งแรกที่รอยัลโอเปราเฮาส์ กรุงลอนดอน โดยคณะเดอะรอยัลบัลเลต์ [2]

วัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

ภาพยนตร์เรื่อง Somewhere in Time (1980) ของฌองโนต์ ชวาร์ก นำแสดงโดยคริสโตเฟอร์ รีฟ และเจน ซีมัวร์ สร้างจากนวนิยายเรื่อง Bid Time Return ของริชาร์ด แมททีสัน ใช้วาริเอชันที่ 18 ในบันไดเสียง ดี-แฟลต เมเจอร์ [3] เป็นดนตรีแบกกราวด์ในภาพยนตร์เกือบทั้งเรื่อง

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้