แม่ตาวคลินิก (อังกฤษ: Mae Tao Clinic; อักษรย่อ: MTC) หรือที่รู้จักกันในชื่อคลินิกของ พญ. ซินเธีย ที่ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้ง ซินเธีย หม่อง เป็นองค์การชุมชน (CBO) ซึ่งให้บริการด้านสุขภาพเบื้องต้นและการคุ้มครองชุมชนจากพม่า/เมียนมาร์ในภาคตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยตั้งอยู่ในเมืองชายแดนเทศบาลนครแม่สอด ที่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 500 กม. และรองรับประชากรได้ประมาณ 150,000 – 250,000 คน[1] ที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาของพม่า และเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่เติบโตในประเทศไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในและรอบ ๆ แม่สอด โดยแม่ตาวคลินิกให้คำปรึกษาเฉลี่ย 110,000 ครั้งต่อปี โดยในจำนวนนี้ 52 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารและผู้พลัดถิ่นเนื่องจากความขัดแย้งทางอาวุธหรือ/และความยากจน และอีก 48 เปอร์เซ็นต์ได้ข้ามพรมแดนเพื่อขอรับบริการด้านสุขภาพ[2][3]

แม่ตาวคลินิก
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเทศบาลนครแม่สอด, ประเทศไทย
พิกัด16°43′08″N 98°32′03″E / 16.7189°N 98.534300°E / 16.7189; 98.534300
หน่วยงาน
ประเภทคลินิก
ประวัติ
เปิดให้บริการพ.ศ. 2531

ประวัติ

แก้

ใน พ.ศ. 2531 ระหว่างการปกครองของรัฐบาลทหารของประเทศพม่าในการปราบปรามขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรงซึ่งสิ้นสุดลงในการลุกฮือใน พ.ศ. 2531 (ดูการก่อการกำเริบ 8888) ซินเธีย หม่อง เป็นหนึ่งในชาวพม่าจำนวนมากที่หนีข้ามพรมแดนเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งเธอได้ก่อตั้งสถานที่ชั่วคราวในแม่สอด เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของเพื่อนผู้ลี้ภัย โดยในปีนั้น ทางคลินิกได้ทำการรักษาไปประมาณ 2,000 คน[4] คลินิกดังกล่าวได้เติบโตขึ้นเพื่อให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ, บริการทางสังคม, การฝึกอบรม และโครงการขยายงาน ตลอดจนการคุ้มครองเด็กและการศึกษาด้านสุขภาพ ซึ่งใน พ.ศ. 2549 ทางคลินิกได้ให้รักษาไป 80,000 คน[5]

คนเจ็บของแม่ตาวคลินิกรวมถึงผู้ป่วยและผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากรัฐกะเหรี่ยงซึ่งถูกกดดันจากหมู่บ้านของพวกเขา[6] ที่ถูกเผาเป็นประจำตามนโยบาย 'กลยุทธ์ผลาญภพ' ของรัฐบาลเผด็จการทหาร อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักนิยมครอบคลุมที่เรียกว่า 'ตัด 4 ประการ'[7]

ในฤดูร้อน พ.ศ. 2551 เมื่อประธานาธิบดี จอร์จ บุช มาเยือนประเทศไทย ลอรา ผู้เป็นภริยาของเขาได้ไปเยี่ยมคลินิกดังกล่าว และพูดถึงการสนับสนุนหม่อง รวมถึงงานของคลินิก[8]

วัตถุประสงค์แม่ตาวคลินิก

แก้
  • เพื่อให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวพม่าพลัดถิ่นตามแนวชายแดนไทย-พม่า
  • เพื่อให้การฝึกอบรมเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการศึกษาทางการแพทย์ที่ตามมา
  • เพื่อเสริมสร้างระบบข้อมูลสุขภาพตามแนวชายแดน
  • เพื่อทำให้สุขภาพ, ความรู้, ทัศนคติ และการปฏิบัติภายในประชากรชาวพม่าในท้องถิ่นดีขึ้น
  • เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์การสุขภาพชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่น
  • เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและสถาบันระหว่างประเทศ[1]

บริการทางการแพทย์

แก้
  • บริการทางการแพทย์โอพีดี (แผนกผู้ป่วยนอก)
  • บริการทางการแพทย์ไอพีดี (แผนกผู้ป่วยใน)
  • บริการศัลยกรรมโอพีดี/ไอพีดี
  • อนามัยการเจริญพันธุ์โอพีดี/ไอพีดี
  • บริการสุขภาพเด็กโอพีดี/ไอพีดี
  • สุขศึกษาและการให้คำปรึกษา
  • ห้องปฏิบัติการและธนาคารเลือด
  • การดูแลดวงตาปฐมภูมิและการศัลยกรรมตา
  • กายอุปกรณ์และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • การรักษาโรคมาลาเรีย
  • การป้องกันเอชไอวี/เอดส์ (เลือดปลอดภัย, วีทีซี (บริการให้การปรึกษาเพื่อการตรวจเลือดโดยสมัครใจและเป็นความลับ))
  • การค้นหาและส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค
  • การส่งต่อโรงพยาบาลแม่สอด

บริการคุ้มครองเด็ก[9]

แก้
  • ศูนย์พัฒนาเด็ก (โรงเรียนระดับเค-12) จำนวน 892 คน (ปีการศึกษา 2560 – 2561)
  • หอพักนักศึกษา กศน. เด็ก 214 คน
  • โครงการอาหารแห้งสำหรับหอพักนักเรียน 1,964 คน

องค์ประกอบบุคลากรปัจจุบัน[10]

แก้
  • บริการด้านสุขภาพ - บุคลากร 240 คน
  • อบรมและส่งเสริมสุขภาพชุมชน - บุคลากร 21 คน
  • ฝ่ายปฏิบัติการ - บุคลากร 31 คน
  • บริการสุขภาพฐานพม่า (รวม : ผู้ช่วยแพทย์) บุคลากร 57 คน (8 + 49 คน)
  • การคุ้มครองเด็ก - บุคลากร 20 คน
  • การศึกษา - บุคลากร 60 คน
  • รวม - บุคลากร 489 คน (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560)

พญ. ซินเธีย หม่อง

แก้

ซินเธีย หม่อง - ในสมัยปัจจุบันบางครั้งเป็นที่รู้จักในฐานะ 'แม่ชีเทเรซาแห่งพม่า'[11] - เกิดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ในเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า (หรือที่รู้จักในชื่อเมียนมาร์) เธอเป็นลูกคนที่สี่ในจำนวนทั้งหมดแปดคน โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการแพทย์มหาวิทยาลัยย่างกุ้งเมื่อ พ.ศ. 2528 การมีส่วนร่วมของ พญ. หม่อง ต่อชุมชนผู้ลี้ภัยชาวพม่าในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ซึ่งกล่าวว่า:

‘[ใ]นการเลือกซินเธีย หม่อง ให้ได้รับรางวัล พ.ศ. 2545 [...] คณะกรรมการมูลนิธิตระหนักถึงการตอบสนองอย่างมีมนุษยธรรม และไร้ความกลัวของเธอต่อความต้องการทางการแพทย์เร่งด่วนของผู้ลี้ภัย รวมถึงผู้พลัดถิ่นหลายพันคนตามแนวชายแดนไทย-พม่า’[12]

แม้ว่าเธอจะช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น แต่รัฐบาลไทยกลับไม่ยอมรับสถานะการเป็นพลเมืองของเธออย่างเป็นทางการ โดยพื้นฐานแล้วเธอเป็นคนไร้สัญชาติและไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ซึ่งทำให้การดำรงอยู่ของเธอในประเทศไทยไม่ปลอดภัยและทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอนาคตของคลินิก[13]

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • พ.ศ. 2561 - รางวัลเอ็น-พีซ ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ[14]
  • พ.ศ. 2561 - รูซ์ไพร์ซ[15][16]
  • พ.ศ. 2560 - สหพันธ์แบปทิสต์โลกยกย่องผลงานของซินเธีย หม่อง ที่แม่ตาวคลินิก
  • พ.ศ. 2558 - รางวัลมูลนิธิอิลกา ครั้งที่ 25 สำหรับการบริการสาธารณะ
  • พ.ศ. 2556 - รางวัลสันติภาพซิดนีย์
  • พ.ศ. 2555 - รางวัลประชาธิปไตยของกองทุนแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ประจำ พ.ศ. 2555
  • พ.ศ. 2552 - รางวัลผู้สร้างแรงบันดาลใจ จาก "คนค้นฅน" ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ไทย
  • พ.ศ. 2551 - รางวัลนานาชาติแคว้นกาตาลุญญาร่วมกับอองซานซูจี[17]
  • พ.ศ. 2550 - รางวัลประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (มูลนิธิไต้หวันเพื่อประชาธิปไตย)[18]
  • พ.ศ. 2550 - รางวัลเด็กแห่งโลก สำหรับรางวัลสิทธิเด็กกิตติมศักดิ์ (สมาคมเด็กแห่งโลก ประเทศสวีเดน)[19]
  • พ.ศ. 2548 - ได้รับการเสนอชื่อจากโครงการผู้หญิง 1,000 คน เพื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
  • พ.ศ. 2548 - รางวัลวีรบุรุษแห่งความเมตตาอันซัง จากทะไลลามะและภูมิปัญญาในการดำเนินการ
  • พ.ศ. 2548 - รางวัลความกังวลระดับโลกสำหรับชีวิตมนุษย์ครั้งที่แปด
  • พ.ศ. 2548 - รวมอยู่ในบทความเดือนพฤศจิกายนของไทม์แมกกาซีนเรื่อง 18 วีรบุรุษด้านสุขภาพระดับโลก[20]
  • พ.ศ. 2545 - รางวัลแมกไซไซสำหรับผู้นำชุมชน
  • พ.ศ. 2544 - รางวัลพิเศษเอเชีย จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน
  • พ.ศ. 2544 - รางวัลฟัน เฮเฟน กูดฮาร์ต
  • พ.ศ. 2542 - รางวัลด้านสุขภาพและสิทธิมนุษยชนโจนาธอน แมนน์
  • พ.ศ. 2542 - รางวัลประธานสมาคมการแพทย์สตรีอเมริกัน
  • พ.ศ. 2542 - รางวัลเสรีภาพจอห์น ฮัมฟรีย์[21]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Archived copy of Maetao Clinic, About Us". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2008-08-20.
  2. "Mae Tao Clinic Annual Report 2016" (PDF). Maetaoclinic.org.
  3. "From Rice Cooker to Autoclave at Dr. Cynthia's Mae Tao Clinic: Twenty Years of Health, Human Rights and Community Development in the Midst of War" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-13.
  4. "Saving lives on the Burmese border". BBC News. 5 March 2007.
  5. "Saving lives on the Burmese border". News.bbc.co.uk. 5 March 2007. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  6. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. "Ingenitex Media". Burmaissues.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-10. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  8. "Statement by Mrs. Laura Bush After a Visit to Mae Tao Clinic". Georgewbush-whitehouse.archives.gov. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  9. MTC Child Protection Department internal resource
  10. MTC HR Internal source
  11. "Malaria as a weapon of war". Briarpatchmagazine.com. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  12. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-08-20.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  13. "THAILAND: Dr Cynthia's clinic targeted by Thai Government's crackdown on migrant workers — Asian Human Rights Commission". Asian Human Rights Commission. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  14. "Dr. Cynthia Maung Wins UNDP's N-Peace Award". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
  15. "2018 Roux Prize: Cynthia Maung". Institute for Health Metrics and Evaluation (ภาษาอังกฤษ). 2018-12-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
  16. "Dr. Cynthia Wins the Roux Prize". Chiang Mai International Rotary (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.[ลิงก์เสีย]
  17. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-26. สืบค้นเมื่อ 2010-09-16.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  18. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-25. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  19. "Home - World's Children's Prize". Worldschildrensprize.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-24. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  20. "TIME Magazine -- U.S. Edition -- November 7, 2005 Vol. 166 No. 19". Content.time.com. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  21. "John Humphrey Freedom Award 2009". Rights & Democracy. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2011. สืบค้นเมื่อ 11 May 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้