แผ่นดินไหวในไต้หวัน พ.ศ. 2559

แผ่นดินไหวในไต้หวัน พ.ศ. 2559 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 03:57 น. ตามเวลาในประเทศไต้หวัน (UTC+08:00) จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างเขตเทศบาลพิเศษเกาสฺยงและเทศมณฑลผิงตง ทางตอนใต้ของประเทศไต้หวัน ห่างจากเมืองผิงตง เกาสฺยง และไถหนัน ราว 28 กิโลเมตร 46 กิโลเมตรและ 48 กิโลเมตรตามลำดับ หน่วยงานธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (USGS) วัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ 6.4 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 23 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นทะเลฟิลิปปินส์กับแผ่นยูเรเชีย ถือว่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่แผ่นธรณีภาคมีความไม่มั่นคงและมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวระดับรุนแรงได้

แผ่นดินไหวในไต้หวัน พ.ศ. 2559
แผ่นดินไหวในไต้หวัน พ.ศ. 2559ตั้งอยู่ในไต้หวัน
แผ่นดินไหวในไต้หวัน พ.ศ. 2559
เวลาสากลเชิงพิกัด2016-02-05 19:57:27
รหัสเหตุการณ์ ISC611838796
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 (2016-02-06)
เวลาท้องถิ่น03:57:27 (UTC+8)
ขนาด6.4 Mw
ความลึก23.0 กิโลเมตร (14.3 ไมล์)
ศูนย์กลาง22°56′N 120°35′E / 22.94°N 120.59°E / 22.94; 120.59
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VII (แรงมาก)
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.22 g
ความเร็วสูงสุด38.99 cm/s
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 116 คน
บาดเจ็บ 550 คน
อ้างอิง[1][2][3][4][5]

แผ่นดินไหวทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะในเมืองไถหนันซึ่งมีอาคารหลายแห่งพังถล่ม มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 116 คน บาดเจ็บ 550 คน

แผ่นดินไหวตามขนาดแรงที่สุดวัดได้ 4.9 Mw เป็นแผ่นดินไหวตามครั้งแรกและเกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวหลักเพียง 3 นาที จนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์สามารถตรวจวัดแผ่นดินไหวตามได้ทั้งสิ้น 68 ครั้ง[6]

ธรณีวิทยา แก้

 
แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลกทะเลฟิลิปปินส์และทิศทางการเคลื่อนตัวในตำแหน่งต่าง ๆ เกาะไต้หวันตั้งอยู่กึ่งกลางภาพค่อนไปทางซ้ายบน

แผ่นดินไหวขนาด 6.4 Mw ครั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำตามแนวเฉียง (oblique thrust fault) ในเปลือกโลกที่ความลึกระดับตื้นถึงปานกลาง (ราว 20 กิโลเมตร) ไต้หวันตั้งอยู่บนแผ่นธรณีภาคที่ซับซ้อนบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นทะเลฟิลิปปินส์และแผ่นยูเรเชีย โดยพบว่า ทิศเหนือและทิศตะวันออกของไต้หวัน แผ่นทะเลฟิลิปปินส์จะมุดตัวลงใต้แผ่นยูเรเชียด้วยอัตราเร็ว 74 มิลลิเมตรต่อปีไปทางทิศเหนือ-ตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวร่องลึกบาดาลรีวกิว ส่วนทิศใต้ของเกาะไต้หวันบริเวณทะเลจีนใต้ แผ่นยูเรเชียกลับมุดตัวลงใต้แผ่นทะเลฟิลิปปินส์ด้วยอัตราเร็ว 96 มิลลิเมตรต่อปีไปทางทิศตะวันออกตามแนวร่องลึกบาดาลมะนิลา ลักษณะดังกล่าวทำให้เปลือกโลกบริเวณเกาะไต้หวันมีลักษณะการชนทวีปแนวโค้ง (arc-continent collision) ปรากฏตลอดแนวชายฝั่งทิศตะวันตกของเกาะไต้หวัน โดยเคลื่อนที่ไปทางเหนือ แผ่นเปลือกโลก ณ ตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ชนกันในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้และเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วประมาณ 80 มิลลิเมตรต่อปี

ประเทศไต้หวันเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อย ศตวรรษที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 6.4 แล้ว 90 ครั้งในรัศมี 250 กิโลเมตรรอบศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งนี้ แผ่นดินไหวหลายครั้งมีความรุนแรงและเป็นที่สังเกตว่ามีศูนย์กลางภายในเกาะไต้หวัน บ่อยครั้งกว่าที่จะเกิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะซึ่งเป็นเขตมุดตัวของเปลือกโลก แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ห่างออกไปทางทิศใต้ 120 กิโลเมตรเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย แผ่นดินไหวจี๋จี๋ (หรือแผ่นดินไหว 921) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 ขนาด 7.6 ห่างจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพียง 100 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างและมีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 คน ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองของประวัติศาสตร์ไต้หวัน รองจากแผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2478 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 3,200 คน[7]

ผลกระทบ แก้

 
ซากจากการถล่มของอาคารที่พักอาศัยสูง 17 ชั้นในเมืองไถหนัน

ผลจากแผ่นดินไหวทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่โดยรอบศูนย์กลาง โดยเฉพาะในเมืองไถหนันซึ่งมีอาคารหลายแห่งรวมทั้งอาคารที่พักอาศัยพังถล่ม ทำให้มีผู้ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังจำนวนมาก ทั้งนี้ต่อมาหน่วยกู้ภัยได้ช่วยเหลือจนสามารถออกมาได้ 327 คน[8] มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 116 คน[9] และบาดเจ็บ 550 คน[10] สิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ของเมืองอย่างน้อย 23 แห่งได้รับความเสียหาย[11]

มีรายงานว่าหลังเหตุแผ่นดินไหวบ้านเรือนกว่า 168,000 หลังไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยภายหลังสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ครัวเรือนส่วนใหญ่ได้ตามปกติ[12] นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าบ้านเรือนราว 400,000 หลังไม่มีน้ำประปาใช้[13] ระบบรถไฟความเร็วสูงของไต้หวันช่วงสถานีไถจงและสถานีจั้วหยิงในเกาสฺยง ได้หยุดให้บริการตั้งแต่วันเสาร์เนื่องจากระบบจ่ายไฟฟ้าและระบบรางช่วงเมืองไถหนันเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ซึ่งต่อมาในวันเดียวกันได้เปิดให้บริการแล้วเป็นบางช่วง[14]

อ้างอิง แก้

  1. "M6.4 – 28km NE of Pingtung, Taiwan". United States Geological Survey. 5 February 2016. สืบค้นเมื่อ 5 February 2016.
  2. "Body of last victim of apartment collapse in Tainan found". Focus Taiwan. 18 February 2016. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
  3. "Taiwan earthquake: Rescuers in frantic search for missing". BBC News. สืบค้นเมื่อ 5 February 2016.
  4. "Magnitude 6.4 earthquake strikes southern Taiwan; at least 2 buildings collapse". Los Angeles Times. 6 February 2016.
  5. "Dozens missing, 15 dead after quake rattles Taiwan". USA TODAY. 6 February 2016.
  6. "68 aftershocks recorded after major earthquake". Focus Taiwan. 8 กุมภาพันธ์ 2559.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ USGS
  8. "Taiwan Earthquake Death Toll Rises to 59; 76 Still Missing". ABC News. 11 กุมภาพันธ์ 2559.
  9. "Remains of last unaccounted-for quake victim found". Focus Taiwan. 13 กุมภาพันธ์ 2559.
  10. "Press Release of CEOC for 0206 Earthquake". Central Emergency Operation Center. 12 กุมภาพันธ์ 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02. สืบค้นเมื่อ 2016-02-12.
  11. Hung Jui-chin (7 กุมภาพันธ์ 2559). "Earthquake damages at least 23 historical buildings in Tainan". Taipei Times.
  12. "Quake fells Taiwan apartment building, at least two dead". SWI swissinfo.ch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-06. สืบค้นเมื่อ 2016-02-07.
  13. Wu Chun-feng, Jason Pan และ Lee I-chia (7 กุมภาพันธ์ 2559). "Tainan reels after 6.4 quake". Taipei Times.
  14. "[Update] Bullet train services restored from North to Chiayi after earthquake in South". The China Post. 6 กุมภาพันธ์ 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้