แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552

แผ่นดินไหวที่อิตาลี พ.ศ. 2552 คือเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ที่เกิดขึ้นในแคว้นอาบรุซโซทางภาคกลางของประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 หลังจากเกิดแรงสั่นสะเทือนขนาดเล็กประมาณร้อยครั้งก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือนมกราคม รวมทั้งแผ่นดินไหวขนาด 4.0 เมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา บริเวณที่ได้รับความเสียหายหลักจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ที่เมืองลากวีลา มีผู้เสียชีวิตที่ทราบจำนวนแน่ชัดแล้วอย่างน้อย 308 ราย[8] นับเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดของอิตาลีในรอบกว่า 20 ปี

แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552
ที่ทำการท้องถิ่นเสียหายจากแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552ตั้งอยู่ในแคว้นอาบรุซโซ
แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552
แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี
แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552
เวลาสากลเชิงพิกัด2009-04-06 01:32:42
รหัสเหตุการณ์ ISC13438018
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น6 เมษายน 2552 (2552-04-06)
เวลาท้องถิ่น03:32 CEST[1]
ขนาดMw6.3 (GCMT)[2]
ความลึก9.46 กิโลเมตร (5.88 ไมล์)[1]
ศูนย์กลาง42°20′51″N 13°22′48″E / 42.3476°N 13.3800°E / 42.3476; 13.3800[1]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแคว้นอาบรุซโซ อิตาลี
ความเสียหายทั้งหมด16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้X (อนุภาพรุนแรง) [4]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.66 g[5]
ความเร็วสูงสุด42.83 cm/s[5]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 308 ราย[6]
บาดเจ็บ 1,500+ ราย[7]
ไร้ที่อยู่อาศัย 65,000+ ราย[8]

สาเหตุ

แก้
 
ความเสียหายของอาคารบ้านเรือนจากแผ่นดินไหว

เป็นไปได้ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้จะเกิดจากการเคลื่อนตัวในแนวเหนือ-ใต้ของรอยเลื่อนที่พาดผ่านเทือกเขาแอเพนไนน์ แม้ว่าจะมีแนวรอยเลื่อนในแนวตะวันออก-ตะวันออกอีกแห่งที่มีขนาดเล็กกว่าและตามปกติจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายครั้งก็ตาม[9] แนวรอยเลื่อนเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกยุโรปและแผ่นเปลือกโลกแอฟริกาในระบบที่มีความซับซ้อนทางธรณีวิทยาและธรณีแปรสัณฐานที่ยังครอบคลุมถึงแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน เช่น แผ่นเอเดรียติก[9][10] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 01:32 ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (หรือ 03:32 ตามเวลาในท้องถิ่น) ที่ระดับความลึกจากพื้นดินประมาณ 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) โดยมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่พิกัด 42.423° เหนือ 13.395° ตะวันออก[10] หรือจุดที่ห่างจากกรุงโรมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 90 กิโลเมตร (60 ไมล์) ที่เมืองปากานีกาใกล้กับเมืองลากวีลา[11] วัดขนาดได้ 6.3 ตามมาตราขนาดโมเมนต์[10]

อิตาลีประสบเหตุแผ่นดินไหวบ่อยครั้งแต่ตามปกติไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เกิดล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2545 ที่แคว้นโมลีเซ มีขนาด 5.9 ตามมาตราริกเตอร์ และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 25 ราย และถือเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 20 ปีในขณะนั้น[9] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ของเมืองลากวีลาซึ่งสร้างขึ้นบนชั้นหินของทะเลสาบโบราณ ทำให้เกิดโครงสร้างพื้นดินที่ดูเหมือนจะขยายแรงสั่นสะเทือนให้มากขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง เมืองนี้ถูกทำลายจากแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 1858, พ.ศ. 1892, พ.ศ. 1995, พ.ศ. 2044, พ.ศ. 2189, พ.ศ. 2246, และ พ.ศ. 2249[12]

ผลกระทบ

แก้
สัญชาติ เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหาย
  อิตาลี 287 1,173 10
  มาซิโดเนีย 6[13]
  โรมาเนีย 5[14]
  เช็ก 2[15]
  ปาเลสไตน์ 2[16]
  ยูเครน 2[17]
  อาร์เจนตินา 1[18]
  ฝรั่งเศส 1[19]
  กรีก 1[20] 5
  อิสราเอล 1[21]
รวม: 308 1,500 10

แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายให้กับอาคารประมาณ 3,000-10,000 หลังในเมืองลากวีลาซึ่งส่วนใหญ่สร้างในยุคกลาง[11] อาคารหลายหลังรวมทั้งหอพักของมหาวิทยาลัยและโบสถ์พังทลายลง มีผู้เสียชีวิตแล้ว 308 ราย ในจำนวนดังกล่าวมีชาวอิตาลี 287 ราย ชาวมาซิโดเนีย 6 ราย[13] ชาวโรมาเนีย 5 ราย[14] ชาวเช็ก 2 ราย[15] ชาวปาเลสไตน์ 2 ราย[16] ชาวยูเครน 2 ราย[17] ชาวอาร์เจนตินา 1 ราย[19] ชาวฝรั่งเศส 1 ราย[19] ชาวกรีก 1 ราย[20] และชาวอิสราเอล 1 ราย[21] มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 1,000 ราย[7] ส่วนอีก 66,000 รายต้องไร้ที่อยู่อาศัย[8]

แผ่นดินไหวหลักครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวขนาดเล็กสองครั้งเมื่อวันก่อนหน้า[11] แผ่นดินไหวครั้งนี้ยังสามารถรู้สึกได้ไกลถึงกรุงโรมไปจนถึงส่วนอื่น ๆ ของแคว้นลาซิโอ เช่นเดียวกับแคว้นโมลีเซ อุมเบรีย และคัมปาเนีย โรงเรียนในแคว้นอาบรุซโซต้องปิดการเรียนการสอน ชาวเมืองลากวีลาจำนวนมากต้องทิ้งบ้านเรือนของตัวเอง ใจกลางเมืองลากวีลาและเมืองปากานีกาซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันนั้น ถนนหลายสายใช้สัญจรไม่ได้เนื่องจากมีเศษอิฐเศษปูนหล่นลงมากีดขวาง สถานที่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ยุคกลางเกือบทั้งหมดพังเสียหาย โรงพยาบาลที่เมืองลากวีลาซึ่งผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากถูกส่งตัวไปที่นั่นยังประสบความเสียหายจากอาฟเตอร์ช็อกขนาดความรุนแรง 4.8 ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวหลักไปแล้วหนึ่งชั่วโมง และยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้งตลอดช่วงเช้าและช่วงบ่ายของวันที่ 6 เมษายน

 
ตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

หมู่บ้านต่าง ๆ ในหุบเขานอกเมืองลากวีลาตลอดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 17 สาย 2 ประสบกับหายนะครั้งใหญ่ มีรายงานว่าในเมืองออนนามีผู้เสียชีวิตถึง 24 ราย[22] หมู่บ้านวิลลาซานตันเจโลและบอร์โกดีกัสเตลนูโอโวได้รับความเสียหายอย่างหนัก[23] และยังมีรายงานผู้เสียชีวิตในหมู่บ้านปอจโจปีเซนเซ ตอร์นิมปาร์เต ฟอสซา และโตตานีอีกด้วย[24]

ข้อโต้เถียงเรื่องการเตือนภัยล่วงหน้า

แก้

นายจัมปาโอโล จูลีอานี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ได้พยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวทางสื่อโทรทัศน์ในอิตาลีก่อนหน้านี้หนึ่งเดือน[25][26][27] โดยใช้วิธีวัดปริมาณแก๊สเรดอนที่แพร่ออกมาจากพื้นดิน เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกกระต่ายตื่นตูม[27] และถูกบังคับให้นำผลการค้นพบออกจากอินเทอร์เน็ต เขายังถูกแจ้งความเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าเนื่องจากทำให้ผู้คนในพื้นที่เกิดความตื่นกลัว หลังจากทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองซุลโมนา[28][29] ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองลากวีลาไปทางทิศใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร (31 ไมล์) ในวันที่ 30 มีนาคม แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น (และที่จริงบริเวณเมืองนี้ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 6 เมษายน) [30] นายเอนโซ บอสกี ผู้อำนวยการสถาบันธรณีฟิสิกส์แห่งชาติกล่าวว่า "ทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวจะต้องมีคนที่อ้างว่าทำนายมันได้ก่อนหน้า แต่เท่าที่ผมทราบ ไม่มีใครสามารถทำนายแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้อย่างแม่นยำ และปกติเราก็ทำนายการเกิดแผ่นดินไหวไม่ได้อยู่แล้ว"[31]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Istituto Nazionale Geofisica e Vulcanologia (INGV). Location of April 6, 2009 earthquake updated with all the available data เก็บถาวร 2009-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 24 August 2009. 7 September 2009.
  2. International Seismological Centre. ISC-EHB Bulletin. Thatcham, United Kingdom. [Event 13438018].
  3. "Italy Quake Reconstruction to Cost at Least $16 Billion". Fox News. 15 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2009. สืบค้นเมื่อ 23 October 2012.
  4. Gabriele Ameri; Dino Bindi; Francesca Pacor; Fabrizio Galadini (2011). "The 2009 April 6, Mw 6.3, L'Aquila (central Italy) earthquake: finite-fault effects on intensity data". Geophysical Journal International. 186 (2): 837–851. Bibcode:2011GeoJI.186..837A. doi:10.1111/j.1365-246X.2011.05069.x.
  5. 5.0 5.1 "Table 3 Peak ground acceleration (PGA), Velocity (PGV) and Displacement".
  6. Alexander D.E. (2010). "The L'Aquila Earthquake of 6 April 2009 and Italian Government Policy on Disaster Response". Journal of Natural Resources Policy Research. 2 (4): 325–342. doi:10.1080/19390459.2010.511450. S2CID 153641723.
  7. 7.0 7.1 "Abruzzo in ginocchio, i morti sono 272 Ancora scosse. Venerdì i funerali di Stato". Corriere della Sera (ภาษาอิตาลี). Milan. 8 April 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2009.
  8. 8.0 8.1 8.2 Hooper, John (28 April 2009). "Pope visits Italian village hit hardest by earthquake". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2009. สืบค้นเมื่อ 19 May 2009.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Background: Italy and earthquakes". The Guardian. 2009-04-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Magnitude 6.3 - CENTRAL ITALY 2009 April 06 01:32:42 UTC". USGS. 2009-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Powerful Italian quake kills many". BBC News. 2009-04-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  12. "L'Aquila, prov. of L'Aquila, Abruzzo". Abruzzo2000.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  13. 13.0 13.1 "Хакик Бајрами шестиот македонски граѓанин кој загина во Италија" (ภาษามาซิโดเนีย). A1 TV. 2009-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
  14. 14.0 14.1 "Cinci români, printre victimele cutremurului din Italia" (ภาษาโรมาเนีย). Realitatea TV. 2009-04-07. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  15. 15.0 15.1 "Quake: Over 100 dead, 1,500 injured". Agenzia Nazionale Stampa Associata. 2009-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  16. 16.0 16.1 La Repubblica เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 10/04/2009
  17. 17.0 17.1 "Eight-year-old Ukrainian girl killed in earthquake in Italy". Ukrainian Independent Information Agency. สืบค้นเมื่อ 2009-04-08.
  18. "Murió una argentina en el sismo de Italia" (ภาษาสเปน). Clarín. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Italie/séisme: Une française tuée". Le Figaro (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. Agence France-Presse. 7 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2009.
  20. 20.0 20.1 "Trapped Greek student found dead in L' Aquila". Athens News Agency. 2009-04-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  21. 21.0 21.1 "Body of Israeli missing since Italy quake found". ynet. สืบค้นเมื่อ 2009-04-08.
  22. Italian rescuers work into night, BBC, April 6, 2008
  23. Italy quake kills at least 175, scores saved, Katia Dolmadjian, AFP, April 6, 2008
  24. Italy in desperate race to save the buried after the earthquake เก็บถาวร 2011-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, TImes Online, April 6, 2008
  25. Lewis, Aidan (6 April 2009). "Row over Italian quake 'forecast'". BBC NEWS. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  26. Mackey, Robert (April 6, 2009). "Earthquake Warning Was Removed From Internet". New York Times Blog. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  27. 27.0 27.1 Why did quake cause so much damage? (Television production). BBC News. 2009-04-06. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 1 minute 55 seconds. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  28. FALCONI, MARTA (April 7, 2009). "Strong quake in Italy kills over 150, wounds 1,500". Yahoo News!. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  29. FALCONI, MARTA (April 7, 2009). "Strong quake in Italy kills over 150, wounds 1,500". Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  30. "Italy: State of emergency after deadly central quake". Adnkronos International. 2009-04-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  31. "Italian earthquake: expert's warnings were dismissed as scaremongering". Daily Telegraph. 2009-04-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.

ดูเพิ่ม

แก้