แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตก พ.ศ. 2552

แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตก พ.ศ. 2552 เป็นแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 เมื่อเวลา 14:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในจังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย[1] เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 81 ราย บาดเจ็บมากกว่า 1,297 ราย และไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 210,000 คน (รวมผู้ที่อาศัยในตาซิกมาลายามากกว่า 140,000 ราย)[2][3] แผ่นดินไหวยังส่งผลถึงจาการ์ตา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ทำให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย และถือเป็นแผ่นดินไหวที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ปางันดารัน พ.ศ. 2549[4]

แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตก พ.ศ. 2552
แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตก พ.ศ. 2552ตั้งอยู่ในจังหวัดชวาตะวันตก
แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตก พ.ศ. 2552
แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตก พ.ศ. 2552ตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
แผ่นดินไหวในจังหวัดชวาตะวันตก พ.ศ. 2552
เวลาสากลเชิงพิกัด2009-09-02 07:55:01
รหัสเหตุการณ์ ISC15161670
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น2 กันยายน 2552
เวลาท้องถิ่น14:55:01 WIB
ขนาด7.0 Mw[1]
ความลึก49 กิโลเมตร (30 ไมล์)
ศูนย์กลาง7°46′55″S 107°17′49″E / 7.782°S 107.297°E / -7.782; 107.297พิกัดภูมิศาสตร์: 7°46′55″S 107°17′49″E / 7.782°S 107.297°E / -7.782; 107.297
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอินโดนีเซีย
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VII (แรงมาก)
สึนามิ20 ซม.
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 81 ราย
บาดเจ็บ 1,297 ราย
พลัดถิ่น 210,000 ราย

สาเหตุ แก้

 
แผนที่ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดย USGS

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้ ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนขนาดใหญ่ ระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียซ้อนทับด้านล่างของแผ่นยูเรเชีย[1]

แผ่นดินไหวอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกัน เกิดหลังจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ 5 วัน ในทะเลทางตอนใต้ของยกยาการ์ตา วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์[5] ซึ่งถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่เกี่ยวเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ชวาตะวันตกในครั้งนี้[6]

ความเสียหาย แก้

อาคารสิ่งปลูกสร้างในเมืองบันดุงและตาซิกมาลายา เมืองที่อยู่ใกล้จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากที่สุด เกิดความเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บมากกว่าร้อยคน[7] บ้านเรือนและอาคารประมาณ 18,300 หลังมีความเสียหายเล็กน้อย และต่อมาก็ได้เพิ่มเป็นมากกว่า 87,000 หลัง

แรงสั่นสะเทือนยังไปไกลถึงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย[8] ทำให้มีการอพยพผู้คนออกจากอาคารสำนักงานและโรงแรมหลายแห่ง

และยังมีบ้านอย่างน้อย 11 หลังถูกดินถล่มทับในเมืองจีอันจูร์[9]

พลเมืองประมาณ 37 คน ซึ่งรวมเด็ก 13 คนในจีกังกาเริง ได้รับผลกระทบจากดินถล่มที่เกิดจากแผ่นดินไหว และคาดว่าถูกฝังอยู่ใต้ซากปรักหักพัง[10] พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นแหล่งพวกถ้ำมองที่แห่กันเข้ามาในพื้นที่เพื่อถ่ายรูปการทำลายล้างและเหยื่อ[11]

นอกจากนี้มีโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 แห่งถูกทำลายจากแรงสั่นสะเทือน[12]

ผู้เสียชีวิต แก้

รายงานผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการจากเดอะจาการ์ตาโพสต์เมื่อวันที่ 4 กันยายน[13]

พื้นที่ รวม
จีอันจูร์ 21[13]
การุต 10[13]
ตาซิกมาลายา 9[13]
บันดุง 8[13]
จียามิซ อย่างน้อย 1[13]
ซูกาบูมี อย่างน้อย 1[13]
โบโกร์ อย่างน้อย 1[13]
บันดุงตะวันตก อย่างน้อย 1[9]

แผ่นดินไหวตาม แก้

ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากไม่ยอมกลับเข้าที่อยู่อาศัยเนื่องจากกลัวว่าจะเกิดแผ่นดินไหวอีก[12]

  • 4.9 ริกเตอร์ (2 กันยายน พ.ศ. 2552) เมื่อเวลา 16:28 น. ตามเวลาในท้องถิ่น[14]

ความช่วยเหลือ แก้

ถนนบางสายได้รับการซ่อมแซมและปรับปรุงเรียบร้อยในวันที่ 4 กันยายน.[15] ความช่วยเหลือก็มาถึงพื้นที่ประสบภัยเช่นเดียวกัน[16]

หน่วยงานสุขภาพของบันดุงกล่าวว่าผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีสิทธิในการเข้ารักษาพยาบาลฟรีอย่างน้อย 1 เดือน[15] มีการส่งแพทย์เข้าประจำการเพื่อทำการรักษา 34 คนและนักศึกษาแพทย์อีก 52 คนใน 12 อำเภอของจังหวัด[15]

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 25,000 คนได้อาศัยอยู่ในเต้นท์ที่พักชั่วคราว[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ANSS, "2009 Java: M 7.0 - Java, Indonesia", Comprehensive Catalog, U.S. Geological Survey, สืบค้นเมื่อ 2 October 2018{{cite encyclopedia}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. "Korban Tewas Akibat Gempa Sudah 79 Orang" Kompas newspaper, Sept 8, 2009
  3. "KATALOG GEMPABUMI SIGNIFIKAN DAN MERUSAK 1821-2017" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). BMKG. สืบค้นเมื่อ October 16, 2022.
  4. "Indonesian Quake Death Toll Reaches 64 as Rescue Work Continues". Bloomberg. 2009-09-04. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
  5. "Magnitude 6.2 - SOUTH OF JAVA, INDONESIA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-10. สืบค้นเมื่อ 2009-09-10.
  6. "KOMPAS.com - Gempa Yogyakarta Terkait dengan Gempa di Jawa Barat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-11. สืบค้นเมื่อ 2009-09-10.
  7. Staff (2 กันยายน 2552) "Strong earthquake strikes Indonesia's Java island". เดอะไชน่าโพสต์.
  8. "Deadly earthquake hits Indonesia". BBC News. September 2, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2 September 2009.
  9. 9.0 9.1 "Search on for trapped Indonesians". CNN. September 4, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
  10. CBC News (September 4, 2009). "Indonesian quake death toll rises to 63". CBC. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
  11. Asprihanto, Heru (September 4, 2009). "Indonesia quake landslide attracts voyeurs". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.[ลิงก์เสีย]
  12. 12.0 12.1 12.2 "Over 25, 000 Indonesian quake-affected people live in makeshift tents". Xinhua News Agency. September 4, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7 Erwida Maulia (September 4, 2009). "Aftershock and aid follow earthquake". The Jakarta Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
  14. "Magnitude 4.9 - Java, Indonesia - 2009 September 02 09:28:45 UTC" เก็บถาวร 2009-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Earthquake Hazards Program, United States Geological Survey
  15. 15.0 15.1 15.2 "Bandung Health agency provides free medical treatment for Java quake victims". The Jakarta Post. 2009-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-05. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
  16. "Death toll of Indonesia's quake reaches to 63". Xinhua News Agency. September 4, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 7, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้