แบรด พิตต์

(เปลี่ยนทางจาก แบรด พิทท์)

วิลเลียม แบรดลีย์ พิตต์ (อังกฤษ: William Bradley Pitt; เกิด 18 ธันวาคม ค.ศ. 1963) เป็นนักแสดงและโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลออสการ์, รางวัลแบฟตา และรางวัลลูกโลกทองคำสองครั้ง สำหรับการแสดงของเขา นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลออสการ์สองครั้ง, รางวัลแบฟตาสองครั้ง และรางวัลลูกโลกทองคำอีกสามครั้ง ในฐานะผู้อำนวยการสร้างภายใต้บริษัทผลิตภาพยนตร์ แพลนบีเอนเตอร์เทนเมนต์ ด้วย

แบรด พิตต์
Brad Pitt at the premiere of 'Once Upon a Time in Hollywood' in 2019.
พิตต์ใน ค.ศ. 2019
เกิดวิลเลียม แบรดลีย์ พิตต์
(1963-12-18) 18 ธันวาคม ค.ศ. 1963 (60 ปี)
ชอว์นี รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมิสซูรี
อาชีพ
  • นักแสดง
  • ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
ปีปฏิบัติงาน1987–ปัจจุบัน
ผลงานรายการทั้งหมด
คู่สมรส
บุตร6 คน
ญาติดักลาส พิตต์ (น้องชาย)
รางวัลรายการทั้งหมด

พิตต์ได้รับการยอมรับครั้งแรกจากบทนักโบกรถคาวบอยในภาพยนตร์การเดินทางเรื่อง มีมั่งไหมผู้ชายดี ๆ สักคน (1991) บทบาทนำครั้งแรกของเขาเป็นภาพยนตร์ดราม่าที่มีทุนสร้างสูงอย่าง สายน้ำลูกผู้ชาย (1992) และ ตำนานสุภาพบุรุษหัวใจชาติผยอง (1994) และภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง เทพบุตรแวมไพร์ หัวใจรักไม่มีวันตาย (1994) เขายังได้รับการชื่นชมจากการแสดงในภาพยนตร์อาชญากรรมระทึกขวัญเรื่อง เซเว่น เจ็ดข้อต้องฆ่า (1995) และภาพยนตร์ไซไฟเรื่อง 12 มังกี้ส์ 12 ลิงมฤตยูล้างโลก (1995) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์

พิตต์ยังแสดงในภาพยนตร์เรื่อง ไฟท์ คลับ ดิบดวลดิบ (1999) และภาพยนตร์โจรกรรมเรื่อง คนเหนือเมฆปล้นลอกคราบเมือง (2001) รวมถึงภาพยนตร์ภาคต่อ 2 มงกุฎ ปล้นสุดโลก (2004) และ 13 เซียนปล้นเหนือเมฆ (2007) ความสำเร็จเชิงพาณิชย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาได้แก่ คนเหนือเมฆปล้นลอกคราบเมือง (2001), ทรอย (2004), นายและนางคู่พิฆาต (2005), มหาวิบัติสงคราม Z และ กาลครั้งหนึ่งใน...ฮอลลีวู้ด (2019) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำเป็นครั้งที่สองและรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ผลงานอื่น ๆ ของพิตต์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ได้แก่ เบนจามิน บัตตัน อัศจรรย์ฅนโลกไม่เคยรู้ (2008) และ เกมล้มยักษ์ (2011) เขายังเป็นผู้อำนวยการสร้างในภาพยนตร์เรื่อง ภารกิจโหด แฝงตัวโค่นเจ้าพ่อ (2006) และ ปลดแอก คนย่ำคน (2013) โดยทั้งสองเรื่องได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ตลอดจน ต้นไม้แห่งชีวิต (2011), เกมล้มยักษ์ และ เกมฉวยโอกาสรวย (2015) ซึ่งล้วนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พิตต์จึงกลายเป็นนักแสดงคนที่สองที่ได้รับรางวัลออสการ์ทั้งสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ในฐานะบุคคลสาธารณะ พิตต์ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในผู้อิทธิพลที่สุดและผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมบันเทิงของสหรัฐ เป็นเวลาหลายปีที่เขาถูกยกให้เป็นผู้ชายที่เซ็กซี่ที่สุดในโลกจากสื่อต่าง ๆ และชีวิตส่วนตัวของเขากลายเป็นเรื่องที่ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้าง เขาหย่าร้างกับนักแสดงหญิง เจนนิเฟอร์ อนิสตัน และแองเจลินา โจลี พิตต์มีบุตรทั้งหมดหกคนกับโจลี โดยสามคนเป็นบุตรบุญธรรมจากต่างประเทศ

ชีวิตช่วงแรก

แก้

พิตต์เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ที่ชอว์นี รัฐโอคลาโฮมา พ่อของเขาชื่อ วิลเลียม อัลวิน พิตต์ เป็นเจ้าของบริษัทขนส่งรถบรรทุก แม่ของเขา เจน เอตตา (สกุลเดิม ฮิลล์เฮาส์) เป็นที่ปรึกษานักเรียน[2][3] หลังจากนั้นไม่นานครอบครัวย้ายไปที่สปริงฟิลด์ รัฐมิสซูรี ซึ่งเขาอาศัยอยู่กับพี่น้องที่อายุน้อยกว่าชื่อ ดักลาส มิตเชลล์ (เกิด ค.ศ. 1966) และ จูลี นีล (เกิด ค.ศ. 1969)[4] พิตต์เติบโตมาในครอบครัวคริสต์ศาสนิกชนที่อนุรักษ์นิยม[5][6] เขาถูกเลี้ยงดูแบบสหคริสตจักรแบปทิสต์ใต้ (Southern Baptist Convention) และต่อมา "ผันผวนระหว่างลัทธิอไญยนิยมและอเทวนิยม"[7] ซึ่งภายหลังเขากลับมาศรัทธาความเชื่อทางเจตภาพ[8] พิตต์ยังอธิบายสปริงฟิลด์ว่าเป็น "ประเทศมาร์ก ทเวน ประเทศเจสซี เจมส์" ที่เติบโตมากับ "เนินเขาและทะเลสาบจำนวนมาก"[9]

พิตต์เข้าเรียนที่โรงเรียนคิกอะบูไฮสกูล ซึ่งเขาเป็นสมาชิกของทีมกอล์ฟ ว่ายน้ำ และเทนนิส[10] หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม พิตต์ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี สาขาวารสารศาสตร์โดยเน้นที่การโฆษณา ใน ค.ศ. 1982[11] เมื่อใกล้สำเร็จการศึกษา พิตต์ไม่พร้อมที่จะตั้งหลักปักฐาน เขาหลงรักภาพยนตร์และได้กล่าวว่าเป็น "ประตูสู่โลกที่แตกต่างสำหรับผม" และเนื่องจากรัฐมิสซูรีไม่ใช่แหล่งที่ผลิตภาพยนตร์ เขาจึงตัดสินใจไปในที่ภาพยนตร์ถูกผลิตขึ้น[12][13] พิตต์ออกจากมหาวิทยาลัยและย้ายไปยังลอสแองเจลิส โดยเรียนการแสดงและทำงานจิปาถะอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสองสัปดาห์[14] เขากล่าวถึงแกรี โอลด์แมน, ฌอน เพนน์ และมิกกีย์ รูร์ก ว่าเป็นวีรบุรุษการแสดงในช่วงแรกของเขา[15]

ชีวิตส่วนตัว

แก้
 
แอนเจลีนา โจลีและพิตต์ที่เทศกาลภาพยนตร์กานครั้งที่ 60

ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 พิตต์คบหากับนักแสดงร่วมของเขาหลายคน ซึ่งรวมถึงรอบิน กิฟเวนส์ (เฮดออฟเดอะคลาส),[16] จิล เชลัน (จิตสยอง หลอนซ่อนตาย)[16] และจูเลียต ลูวิส (เทพบุตรคนเดือด และ ฆาลิฟอร์เนีย)[17] หลังจากนั้น พิตต์ยังสานสัมพันธ์และหมั้นกับกวินเน็ธ พัลโทรว์ นักแสดงร่วมจากเรื่อง เซเว่น เจ็ดข้อต้องฆ่า ซึ่งทั้งคู่คบหากันตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ถึง 1997[16]

ใน ค.ศ. 1998 พิตต์ได้พบกับเจนนิเฟอร์ อนิสตัน จากซีรีส์เรื่อง เฟรนส์ ทั้งคู่สมรสกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 ในพิธีส่วนตัวที่แมลิบู[18] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 พิตต์และอนิสตันประกาศว่าพวกเขาตัดสินใจแยกทางกัน สองเดือนต่อมาอนิสตันฟ้องหย่าโดยเธอกล่าวถึงความแตกต่างของทั้งคู่ที่เข้ากันไม่ได้[19] แม้จะมีรายงานจากสื่อว่าพิตต์และอนิสตันมีความสัมพันธ์ที่รุนแรง พิตต์กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ว่าเขาและอนิสตัน "เป็นห่วงซึ่งกันและกัน" และเสริมว่าทั้งคู่เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของกันและกัน[20]

ระหว่างการฟ้องหย่าของพิตต์ ความสัมพันธ์ของเขากับแอนเจลีนา โจลี นักแสดงร่วมจากเรื่อง นายและนางคู่พิฆาต ดึงดูดความสนใจของสื่อมวลชน โจลีและพิตต์ระบุว่าพวกเขาตกหลุมรักกันในกองถ่าย[21][22] และเขายืนยันว่าไม่มีการนอกใจอนิสตันในระหว่างที่ทั้งคู่คบกันแน่นอน[21] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 หนึ่งเดือนหลังจากที่อนิสตันฟ้องหย่า ปาปารัสซีได้ถ่ายภาพของพิตต์ โจลีและแมดด็อกซ์ลูกชายของเธอที่ชายหาดในประเทศเคนยา โดยสื่อต่างตีความภาพว่าเป็นหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างพิตต์และโจลี ตลอด ค.ศ. 2005 ทั้งสองได้พบเจอกันบ่อยมากขึ้น จนทำให้สื่อบันเทิงต่างขนานนามทั้งคู่ว่า "แบรนเจลีนา"[23] เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2006 โจลียืนยันกับนิตยสาร พีเพิล ว่าเธอตั้งครรภ์กับพิตต์ และยอมรับความสัมพันธ์ของทั้งคู่เป็นครั้งแรก พิตต์และโจลีประกาศการหมั้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 หลังจากคบหากันได้ 7 ปี[24] ทั้งคู่สมรสกันในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ในพิธีส่วนตัวที่ประเทศฝรั่งเศส[25] เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2016 โจลีฟ้องหย่าพิตต์โดยกล่าวถึงความแตกต่างที่เข้ากันไม่ได้[26]

อ้างอิง

แก้
  1. "Win for Angelina Jolie as court disqualified judge in Brad Pitt divorce case". The Guardian. Associated Press. July 23, 2021. สืบค้นเมื่อ July 25, 2021. The judge already ruled the pair divorced, but separated the child custody issues." [...] "They were declared divorced in April 2019, after their lawyers asked for a judgment that allowed a married couple to be declared single while other issues remained, including finances and child custody.
  2. Peyser, Andrea (2010). Celebutards. Citadel Press. p. 81. ISBN 978-0806533841.
  3. Bunbury, Stephanie (December 14, 2008). "The business of being Brad". Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2009. สืบค้นเมื่อ May 13, 2009.
  4. Chris Mundy (December 1, 1994). "Slippin' around on the road with Brad Pitt". Rolling Stone.
  5. Blair, Leonardo (September 30, 2019). "Brad Pitt no longer identifies as atheist, says he was just being 'rebellious'" (ภาษาอังกฤษ). The Christian Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2019. สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.
  6. Alexander C. Kaufman (July 6, 2012). "Brad Pitt's Mother Bashes Obama in Local Paper". The Providence. The Wrap. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2012. สืบค้นเมื่อ July 6, 2012.
  7. Galloway, Stephen (January 25, 2012). "The Many Revolutions of Brad Pitt". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2014. สืบค้นเมื่อ February 7, 2014.
  8. Baron, Zach (September 16, 2019). "Brad Pitt Is Still Searching". GQ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2020. สืบค้นเมื่อ March 13, 2020.
  9. Stated on Inside the Actors Studio, 2012
  10. Dyball, Rennie (September 19, 2011). "Brad Pitt Was a Wrestler and a Diver – Never a Baseball Player". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2011. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  11. "Brad Pitt – Film Actor, Producer, Actor". A & E Television Networks. March 1, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2011. สืบค้นเมื่อ October 9, 2018.
  12. "Interview With Brad Pitt". Parade. September 18, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2014. สืบค้นเมื่อ August 28, 2014.
  13. Tom Junod (May 20, 2013). "Brad Pitt: A Life So Large". Esquire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2014. สืบค้นเมื่อ August 28, 2014.
  14. Baron, Zach (September 16, 2019). "Brad Pitt Is Still Searching". GQ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2020. สืบค้นเมื่อ March 13, 2020.
  15. "Brad Pitt on Oscars". MTV UK. January 23, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 9, 2018. สืบค้นเมื่อ February 23, 2018.
  16. 16.0 16.1 16.2 Gliatto, Tom (June 30, 1997). "Love Lost". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2009. สืบค้นเมื่อ February 25, 2009.
  17. Mock, Janet. "Brad Pitt Biography". People. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2011. สืบค้นเมื่อ February 25, 2009.
  18. "Pitt and Aniston announce split". BBC News. January 8, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2009. สืบค้นเมื่อ March 19, 2009.
  19. "Judge signs Aniston-Pitt divorce papers". USA Today. Associated Press. August 22, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2012. สืบค้นเมื่อ November 14, 2008.
  20. Kevin West (February 2009). "Brad Pitt". W. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2010. สืบค้นเมื่อ February 24, 2009.
  21. 21.0 21.1 Mark Harris (October 15, 2008). "The Mommy Track". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2015. สืบค้นเมื่อ August 27, 2017.
  22. Mark Binelli (December 25, 2008). "Brad Pitt: The Rolling Stone Interview". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2017. สืบค้นเมื่อ August 27, 2017.
  23. Robin Stummer (May 28, 2006). "To Brad and Angelina: a C-section (and the keys to a hysterical nation)". The Independent. UK. สืบค้นเมื่อ February 21, 2010.
  24. "Angelina Jolie and Brad Pitt engaged: official". Reuters. April 13, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2014. สืบค้นเมื่อ April 13, 2012.
  25. Michael Rothman (August 28, 2014). "All the Details: Brad Pitt and Angelina Jolie Are Married". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 8, 2015. สืบค้นเมื่อ August 28, 2014.
  26. "Angelina Jolie files for divorce from Brad Pitt 'for the health of the family'". The Daily Telegraph. September 20, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2016. สืบค้นเมื่อ September 20, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้