แนวซีคฟรีท
บทความนี้อาจมีงานค้นคว้าต้นฉบับรวมอยู่ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คำว่า แนวซีคฟรีท หมายถึงแนวป้องกันของเยอรมันสองแนวที่มีความแตกต่าง ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
แต่เดิมเป็นแนวป้อมปราการและการป้องกันรถถังที่ถูกสร้างขึ้นโดยเยอรมันในทางภาคเหนือของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1916-17 ได้เป็นที่รู้จักกันในภาษาเยอรมันคือ Siegfriedstellung ("ตำแหน่งแนวซีคฟรีท") พวกบริติชได้เรียกอีกอย่างว่า "แนวฮินเดินบวร์ค" ชื่อที่ถูกนำมาใช้โดยส่วนที่เหลือของฝ่ายสัมพันธมิตร
ภายหลังสงครามโลกครั้งหนึ่ง ป้อมปราการเยอรมนีที่อยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำไรน์จะต้องถูกทำลายเนื่องจากสนธิสัญญาแวร์ซาย[1].
ในช่วงครั้งที่สอง ยังได้เป็นที่รู้จักกันในเยอรมันคือ กำแพงตะวันตก แต่ได้ถูกเรียกโดยฝ่ายสัมพันธมิตรว่า แนวซีคฟรีท ถูกสร้างขึ้นทางด้านตะวันออกที่ไกลออกไปในปี ค.ศ. 1930 อยู่ฝั่งตรงข้ามกับแนวแมกิโนต์ของฝรั่งเศส แนวนี้ได้ทอดยาวไปกว่า 630 กิโลเมตร(390 ไมล์) และมีจุดเด่นด้วยบังเกอร์กว่า 18,000 แห่ง, อุโมงค์ และแท่งหินดักรถถัง เครือข่ายของโครงสร้างการป้องกันได้ลากยาวตั้งแต่เคลเวอตรงพรมแดนติดกับเนเธอร์แลนด์, ลงมาตามพรมแดนตะวันตกของอดีตจักรวรรดิเยอรมันจนถึงเมืองไวล์อัมไรน์ตรงพรมแดนติดกับสวิตเซอร์แลนด์ ได้ถูกวางแผนในปี ค.ศ. 1936 และสร้างขึ้นในระหว่างปีค.ศ. 1938 และ 1940
ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1944 ถึง เดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 แนวซีคฟรีทได้ถูกตีแตกด้วยการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรขนาดใหญ่
อ้างอิง
แก้- ↑ "Treaty of Versailles", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2018-07-20, สืบค้นเมื่อ 2018-07-22
- BunkerBlog: All about German fortifications 1933-1945
- Bunkersite.com: About bunkers built by the Germans during 1933-1945 in the whole of Europe
- http://www.westwallmuseum-irrel.de/
- German Doctrine of the Stabilized Front, Report by US Military Intelligence Division, August 1943
- Bunkers in Europe (include: Siegfried Line)
- Pillbox Warfare in the Siegfried Line
- Storming Simserhof near Bitche - 1944
- Photos of the Siegfried Line
- »You enter Germany: Bloody Huertgen and the Siegfried Line« – Documentary by Achim Konejung and Aribert Weis; 2007
- Der Weltkrieg war vor deiner Tuer - The little Siegfried line (German: WMTS Wetterau-Main-Tauber-Stellung) in the east of the Siegfried line
- A film clip ALLIES PIERCE SIEGFRIED LINE ETC. (1944) is available at the Internet Archive