แถบมัค (อังกฤษ: Mach bands) เป็นภาพลวงตาที่ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์แอนสท์ มัค ที่ปรากฏเป็นความเปรียบต่างที่มากเกินความจริงที่ขอบระหว่างเขตที่มีสีเทาต่างกันเพียงเล็กน้อย และปรากฏทันทีที่มาติดกัน เกิดขึ้นเพราะกระบวนการตรวจจับเส้นขอบของระบบสายตามนุษย์

ความเปรียบต่างที่ปรากฏมากเกินความจริงที่เส้นขอบของเขตที่มีสีเทาต่างกันเพียงเล็กน้อย เกิดขึ้นเมื่อแถบมาติดกัน (แถบมัค)

คำอธิบาย แก้

ปรากฏการณ์แถบมัคเกิดขึ้นเพราะกระบวนการฟิลเตอร์ที่เน้นเส้นขอบ มีผลคล้ายกับเทคนิคทำภาพให้ชัดแบบ Unsharp masking (ดูรูป) ที่ทำโดยระบบการมองเห็นของมนุษย์ต่อข้อมูลความส่องสว่างของภาพที่รับมาโดยเรตินา กระบวนการฟิลเตอร์นี้ทำอยู่ในเรตินาเอง ที่เป็นผลจากกระบวนการ lateral inhibition ของเซลล์ประสาทในเรตินา ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้อาศัยทิศทางของเส้นขอบ

ในรังสีวิทยา แก้

มีความสำคัญที่จะคำนึงถึงปรากฏการณ์นี้ของระบบการเห็นเมื่อตรวจภาพเอ็กซ์เรย์ฟัน (dental radiography) ว่ามีฟันผุหรือไม่ เพราะว่า เป็นการใช้ภาพสเกลสีเทา (grayscale) ของฟันและกระดูกเพื่อเช็คความผิดปกติ การวินิจฉัยบวกที่ผิด (false-positive) ว่ามีฟันผุ เกิดขึ้นได้ง่ายถ้าแพทย์ไม่ใส่ใจว่าอาจเกิดมีภาพลวงตาเช่นนี้ได้ อีกอย่างหนึ่ง แถบมัคยังสามารถปรากฏที่ส่วนเชื่อมระหว่างอุปกรณ์หรือตัวซ่อมแซมโลหะ[ต้องการอ้างอิง]กับตัวเคลือบฟัน (enamel) หรือเนื้อฟัน (dentine)[1] นอกจากนั้นแล้ว แถบมัคอาจทำให้วินิจฉัยผิดว่ามีรอยรากฟันแตกเป็นแนวนอนเพราะความเปรียบต่างที่ต่างกันระหว่างฟันและกระดูก[2] นอกจากฟันแล้ว แถบมัคอาจนำไปสู่การวินิจฉัยผิดว่ามีภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) โดยแสดงเส้นสีเข้มที่ส่วนรอบ ๆ ปอด (ดูรูป - เปรียบเทียบกับภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศจริง ๆ ที่จะมีเส้นสีขาวของเยื่อหุ้มปอด [pleura])[3]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Devlin, Hugh. Operative Dentistry: A Practical Guide to Recent Innovations, Springer 2006 ISBN 978-3-540-29616-4 page 11
  2. Nielsen, Christen J.; "Effect of Scenario and Experience on Interpretation of Mach Bands," Journal of endodontics Volume 27, Issue 11, Pages 687–691
  3. doi:10.2214/AJR.07.7081
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้