แชน ปัจจุสานนท์
พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525) อดีตทหารเรือชาวไทย อดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตรองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นบิดาของ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ อดีตเสนาธิการทหารเรือ อดีต ผู้บัญชาการทหารเรือ และอดีต องคมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
แชน ปัจจุสานนท์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447 อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี |
เสียชีวิต | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | ไพโรจน์ ปัจจุสานนท์ (สกุลเดิม อมาตยกุล) |
บุตร | พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | ![]() |
ประวัติ แก้ไข
พลเรือตรีแชนเกิดที่ ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรชายของ กำนันปัด กับ นางเชย
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางไพโรจน์ ปัจจุสานนท์ (สกุลเดิม อมาตยกุล) มีบุตรชายคือ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์
การศึกษา แก้ไข
รับราชการ แก้ไข
พลเรือตรีแชนได้รับพระราชทานยศ เรือตรี เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2469[1] ต่อมาเรือตรีแชนได้รับพระราชทานยศ เรือโท เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470[2] จากนั้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2473 เรือโทแชนจึงได้รับพระราชทานยศ เรือเอก[3]
กระทั่งวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2481 เรือเอกแชนจึงได้รับพระราชทานยศ นาวาตรี[4] ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2483 นาวาตรีแชนได้รับพระราชทานยศ นาวาโท [5]
จากนั้นในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 นาวาโทแชนได้รับพระราชทานยศ นาวาเอก[6] ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 นาวาเอกแชนได้รับพระราชทานยศ พลเรือตรี[7] นับเป็นยศทางทหารยศสุดท้ายของท่าน โดยพลเรือตรีแชนขณะยังมียศเป็นนาวาเอกได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2487[8]
ก่อนจะถูกปลดออกจากตำแหน่งและออกจากราชการพร้อมกับนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่อีก 8 นายคือ
- พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ และรักษาราชการเสนาธิการทหารเรือ
- พลเรือโท หลวงเจริญราชนาวา รองผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเรือโท ผัน นาวาวิจิตร ผู้บังคับการกองเรือรบ
- พลเรือตรี ชลิต กุลกำม์ธร รองผู้บังคับการกองเรือรบ
- พลเรือตรี กนก นพคุณ ผู้บังคับการมณฑลทหารเรือที่ 1
- พลเรือตรี ประวิศ ศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
- พลเรือตรี ดัด บุนนาค เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ
และ พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ ผู้บังคับกองสัญญาณทหารเรือ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 [9] ภายหลังจากเหตุการณ์ กบฏแมนฮัตตัน
การเมือง แก้ไข
พลเรือตรีแชนสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2501[10] แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 6 เดือนก็ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้แทนราษฎรภายหลังจากการปฏิวัติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ พระราชทานยศทหารและอำมาตย์ (หน้า ๔๓๖)
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๑๗)
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๑๑)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๓๘)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๕๕)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๙๑๔)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๓๕๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ (หน้า ๒๘๐๗)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ เพื่อแทนประเภทที่ ๒