เอโดงาวะ รัมโปะ

นักเขียนชาวญี่ปุ่น

ทาโร ฮิราอิ (平井 太郎, Hirai Tarō, 21 ตุลาคม ค.ศ.1894 – 28 กรกฎาคม ค.ศ.1965) เป็นที่รู้จักดีในนามแฝงว่า เอโดงาวะ รัมโปะ (江戸川 乱歩, Edogawa Ranpo) เป็นนักเขียนนิยายชาวญี่ปุ่นและนักวิจารณ์ ที่มีส่วนในการพัฒนาวงการนิยายสืบสวนของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก งานเขียนของเขาส่วนมากจะมีตัวเอกเป็นนักสืบที่ชื่อว่า โคโงโร อาเกจิ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของกลุ่มนักสืบเด็กหนุ่มที่ใช้ชื่อว่า “ขบวนการนักสืบเยาวชน” (少年探偵団, Shōnen tantei dan)

เอโดงาวะ รัมโปะ
รัมโปะในปี 1954
รัมโปะในปี 1954
เกิดทาโร ฮิราอิ
21 ตุลาคม ค.ศ. 1894(1894-10-21)
จังหวัดมิเอะ ญี่ปุ่น
เสียชีวิต28 กรกฎาคม ค.ศ. 1965(1965-07-28) (70 ปี)
อาชีพนักแต่งนิยาย
สัญชาติญี่ปุ่น
แนวสืบสวนสอบสวน
นามปากกา
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต江戸川 乱歩
คีวจิไต江戶川 亂步
ฮิรางานะえどがわ らんぽ
คาตากานะエドガワ ランポ
การถอดเสียง
โรมาจิEdogawa Ranpo

รัมโปะ เป็นผู้ที่ชื่นชมนักเขียนนวนิยายสืบสวนของตะวันตก โดยเฉพาะ เอดการ์ แอลลัน โพ นามปากกาของเขาจึงเป็นการเล่นคำจากชื่อของโพ นักเขียนคนอื่นที่มีอิทธิพลต่อเขาได้แก่ เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ และ อกาธา คริสตี ซึ่งเป็นคนที่เขียนหนังสือที่เขาต้องแปลในสมัยที่เป็นนักศึกษาที่ มหาวิทยาลัยวาเซดะ

ประวัติ แก้

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แก้

ทาโร ฮิไร เกิดที่เมืองนาบาริ จังหวัดมิเอะ ในปี ค.ศ. 1894 ซึ่งเป็นที่ที่ปู่ของเขาเป็นซามูไร ที่รับใช้ แคว้นสึ ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปที่ที่ในปัจจุบันคือ คาเมยามะ,มิเอะ และจากที่นั่นไป นาโงยะ เมื่อเขาอายุ 2 ปีเขาได้เริ่มศึกษาที่ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ในปี ค.ศ. 1912 และเมื่อเขาสำเร็จการศึกษาในสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1916 เขาได้ทำงานหลายอย่างที่ต่างออกไป เช่น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์, วาดการ์ตูนให้กับนิตยสาร, ขายโซบะ ในร้านข้างทาง และทำงานร้านหนังสือ

ในปี ค.ศ. 1923 เขาได้เขียนงานเรื่องแรกของเขา โดยเป็นเรื่องราวแนวสืบสวน “เหรียญทองแดง 2 เซน” (二銭銅貨 Ni-sen dōka) โดยใช้นามปากกา “เอโดงาวะ รัมโปะ” ซึ่งเป็นการเล่นคำที่ถ้าอ่านเร็วๆ จะกลายเป็น เอดการ์ แอลลัน โพ ที่เขาชื่นชม เรื่องนี้ได้ถูกตีพิมพ์ใน ชินเซย์เนน ที่เป็นนิตยสารที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้อ่านวัยรุ่น ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกของนิตยสารนี้ ที่ตีพิมพ์งานเขียนเรื่องลึกลับของนักเขียนญี่ปุ่น ซึ่งสิ่งที่ทำให้นักวิจารณ์สนใจในการเปิดตัวของรัมโปะนั้นก็คือเรื่อง “เหรียญทองแดง 2 เซน” ที่เน้นไปที่การใช้ตรรกะโต้เถียงกันเพื่อไขปริศนาด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยเนื้อเรื่องได้มีการใส่รหัสที่แยบยลซึ่งมีที่มาจากลัทธิหนึ่งของพุทธศาสนาที่ชื่อว่า “เนมบุตสึ” และอักษรเบรลล์ของภาษาญี่ปุ่น

ในช่วงปี ค.ศ. 1930 - ค.ศ. 1939 รัมโปะได้เขียนงานที่มีความนิยมออกมาสู่สาธารณะอย่างมากมาย และเขาได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงของวงการนวนิยายลึกลับของญี่ปุ่น นักสืบที่มีชื่อว่า โคโงโร อาเกจิ ผู้ปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องที่มีชื่อว่า “คดีฆาตกรรมบนเนินเขา D.” ได้กลายมาเป็นตัวละครหลักของเรื่องราวของเขา และตัวละครที่เป็นอาชญากรที่ขี้ขลาด รู้จักในชื่อ ปีศาจ 20 หน้า (怪人二十面相, Kaijin ni-jū mensō) ผู้ที่มีความสามารถในการปลอมแปลงตัวเองและปะปนกับคนในสังคมได้อย่างน่าทึ่ง นอกจากนั้นยังมีตัวละครที่เป็นคู่หูของโคโงโรที่มีชื่อว่า โคบายาชิ โยชิโอะ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แก้

ในช่วงหลังสงคราม รัมโปะได้ทุ่มเทอย่างมากในการพัฒนานวนิยายลึกลับ ทั้งในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของมัน และเป็นกำลังใจให้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ในปี ค.ศ. 1964 เขาได้มีส่วนร่วมในการช่วยวารสารน้องใหม่ที่มีชื่อว่า โฮเซกิ (宝石, Hōseki) ที่ทุ่มเทให้กับงานเขียนแนวสืบสวน และในปี ค.ศ. 1947 เขาได้ก่อตั้ง ชมรมผู้เขียนเรื่องของนักสืบ (探偵作家クラブ, Tantei sakka kurabu) ที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมผู้เขียนแนวลึกลับแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本推理作家協会, Nihon Suiri Sakka Kyōkai) นอกจากนั้น เขาได้เขียนบทความมากมายเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของนวนิยายแนวสืบสวนของญี่ปุ่น, ยุโรป และอเมริกา และได้ถูกตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือ ซึ่งนอกจากบทความแล้ว งานเขียนส่วนใหญ่ของเขาในช่วงหลังสงคราม จะมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักอ่านรุ่นเยาว์โดยใช้ โคโงโรf อาเกจิ และขบวนการนักสืบเยาวชนเป็นตัวละครหลัก

ในช่วงปี ค.ศ. 1950 - ค.ศ. 1959 เขาและล่ามแปลภาษาได้ทำงานร่วมกันถึง 5 ปี เพื่อแปลงานเขียนของเขาเป็นภาษาอังกฤษ ในชื่อว่า Japanese Tales of Mystery and Imagination เนื่องจากล่มแปลภาษาสามารถพูดแต่ไม่สามารถอ่านภาษาญี่ปุ่นออก และรัมโปะสามารถพูดแต่ไม่สามารถเขียนภาษาอังกฤษ การแปลจึงมาจากการฟังรัมโปะที่ค่อยๆพูดทีละประโยคและเช็คการเขียนภาษาอังกฤษ

ความสนใจของเขาอีกอย่าง ในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 40 และ 50 นั่นก็คืองานเขียนของเพื่อนรักของเขา จุนอิจิ อิวาตะ นักมนุษยวิทยา ที่ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์การรักร่วมเพศในญี่ปุ่น ในช่วง ทศวรรษที่ 30 รัมโปะ และจุนอิจิ ได้สัญญาที่จะแข่งกันเพื่อหาว่าใครจะเป็นคนหาหนังสือเกี่ยวกับอารมณ์ปรารถนาในความรักระหว่างชายและชายได้มากกว่ากัน รัมโปะหาหนังสือของตะวันตก และจุนอิจิ หาหนังสือของญี่ปุ่น จุนอิจิได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1945 โดยที่งานของเขาสำเร็จเพียงส่วนเดียว รัมโปะจึงได้ทำงานที่เหลือของเขาต่อไป

หนังสือของรัมโปะจำนวนมากได้ถูกทำเป็นภาพยนตร์ ความสนใจในการใช้งานเขียนของรัมโปะเพื่อทำภาพยนตร์ยังคงมีต่อไปหลังจากการเสียชีวิตของเขา รัมโปะทรมาณจากอาการหลายอย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็ง และพาร์กินสัน เสียชีวิตจากอาการเลือดออกในสมองใหญ่ ที่บ้านของเขาในปี ค.ศ. 1965 สุสานของเขาตั้งอยู่ที่ สุสานทามะ ในเขตฟุชู โตเกียว

รางวัลเอโดงาวะ รัมโปะ (江戸川乱歩賞, Edogawa Ranpo Shō?) ที่ตั้งชื่อตามเอโดงาวะ รัมโปะ เป็นรางวัลซึ่งจะมอบให้กับงานเขียนของญี่ปุ่นทุกปีโดย สมาคมผู้เขียนแนวลึกลับแห่งประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 โดยผู้ชนะจะได้เงินรางวัลมูลค่า 10 ล้านเยน และลิขสิทธิ์การตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์โคดันฉะ

รายชื่อนวนิยาย แก้

  • ฆาตกรรมบนเนิน D , วิญญาณหลอน , นักเดินเล่นใต้หลังคา
  • ดวงดาวแห่งเงามืด
  • จอมโจรหน้ากากทองคำ
  • แก๊งมือดำ , มันคือใคร
  • ปริศนาชายแคระ
  • เหรียญทองแดงสองเซ็น , แบบทดสอบจิตวิทยา , อาวุธล่องหน
  • รหัสลับขุมทรัพย์ทองคำ
  • คดีสุดท้ายของยอดนักสืบ
  • ฆาตกรรมผลทับทิม , คดีพิศวงของดอกเตอร์เมระ


รายชื่อรวมเรื่องสั้นและความเรียง แก้

  • เก้าอี้คนเป็น (อยู่ในชุด รวมเรื่องสั้น วิปลาส)
  • วิปริตพิศวาส
  • ฝันกลางวัน
  • ขุมนรกกระจกเงา
  • มรณกรรมของคนละเมอ
  • สิเน่หาอมนุษย์
  • โจรกรรม
  • แหวนเพชร
  • หนึ่งคนสองบทบาท
  • นิ้วมือ
  • จุมพิต
  • หลุมหลบภัย
  • ความเรียง ตุ๊กตา
  • ความเรียง ความปรารถนาในการแปลงกาย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้