เอเลี่ยน (แฟรนไชส์)

เอเลี่ยน (อังกฤษ: Alien) เป็นสื่อแฟรนไชส์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญ/โลดโผน มีศูนย์กลางอยู่ที่ภาพยนตร์ชุด ซึ่งแสดงการต่อสู้ระหว่าง พันจ่า เอลเลน ริปลีย์ (ซิกอร์นีย์ วีเวอร์) กับ สิ่งมีชีวิตนอกโลก เรียกว่า "ดิ เอเลี่ยน" หรือ ซีโนมอร์ฟ

เอเลี่ยน
Alien
โลโก้แฟรนไชส์อย่างเป็นทางการ
สร้างโดยแดน โอแบนนอน
โรนัลด์ ชูเซตต์
งานต้นฉบับเอเลี่ยน (1979)
เจ้าของทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์
สื่อสิ่งพิมพ์
นวนิยายรายชื่อนวนิยาย
การ์ตูนรายชื่อการ์ตูน
นิตยสาร
  • เอมไพร์คลาสสิกส์ - เอเลี่ยน: เดอะคอมพลีตฮิสทรีออฟออล 8 ฟิล์มส (2018)
ภาพยนตร์และโทรทัศน์
ภาพยนตร์ภาพยนตร์ชุดดั้งเดิม

ภาพยนตร์ชุดต้น

ภาพยนตร์สั้นรายชื่อภาพยนตร์สั้น
เว็บซีรีส์
การแสดงละคร
ละคร
เกม
ดั้งเดิมสินค้า
วิดีโอเกมรายชื่อวิดีโอเกม
เสียง
เพลงประกอบ
เบ็ดเตล็ด
ของเล่นสินค้า

ภาพยนตร์ชุดสร้างและจัดจำหน่ายโดย ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ โดยเริ่มต้นจากภาพยนตร์ เอเลี่ยน (1979) กำกับโดย ริดลีย์ สก็อต ตามมาด้วยภาพยนตร์ภาคต่ออีกสามภาค ได้แก่ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986) กำกับโดย เจมส์ แคเมรอน, เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล (1992) กำกับโดย เดวิด ฟินเชอร์ และ เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ (1997) กำกับโดย ฌอง-ปีแอร์ จูเนต์ สก็อตยังได้กำกับภาพยนตร์ชุดต้น ประกอบด้วย โพรมีธีอุส (2012) และ เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ (2017) ซึ่งเล่าเรื่องราวของ เดวิด 8 แอนดรอยด์ที่ชั่วร้ายและผู้สร้างสัตว์ประหลาดเอเลี่ยนที่เรียกว่า "เอนจิเนียร์ส"

ภาพยนตร์ชุดยังไปสู่การสร้าง นวนิยาย, การ์ตูนและวิดีโอเกม จำนวนมาก มีการข้ามฝั่งกันระหว่างแฟรนไชส์ เอเลี่ยน กับ แฟรนไชส์ พรีเดเตอร์ กลายเป็น แฟรนไชส์ เอเลี่ยน ปะทะ พรีเดเตอร์ ทำให้เกิดเป็นภาพยนตร์สองเรื่อง, การ์ตูน, หนังสือและวิดีโอเกมตามมา

ฉากหลัง แก้

 
โลโก้และคำขวัญสมมติของ เวย์แลนด์-ยูทานิ จาก เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก

แฟรนไชส์ เอเลี่ยน แสดงการเผชิญหน้าที่อันตรายระหว่างมนุษย์กับเอเลี่ยน สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างดาวที่คล้ายปรสิตซึ่งเป็นอันตราย[1] การดำเนินเรื่องส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 21 ถึง 24 มนุษย์กลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถเดินทางในอวกาศได้และมีการก่อตั้งการปกครองระหว่างดวงดาว หลังจากการควบรวมกิจการของสองบริษัทใหญ่ เวย์แลนด์ คอร์โปเรชัน และ ยูทานิ คอร์โปเรชัน การเดินทางระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ในอวกาศนั้นใช้เวลานาน โดยปกติจะใช้เวลานานหลายเดือนหรือหลายปี และจำเป็นต้องใช้การแช่แข็งร่างกาย เพื่อให้ร่างกายคงสภาพเดิม[2] ตลอดซีรีส์นั้น ตัวละครหลายตัวมักจะถูกปั่นหัวซ้ำ ๆ และทำให้ตกอยู่ในอันตรายจากความโลภและไร้ศีลธรรมของ เวย์แลนด์-ยูทานิ คอร์ป บริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการจับตัวเอเลี่ยนเพื่อเอามาทำเป็นอาวุธชีวภาพ[1][3]

ซีรีส์ยังได้ให้เรื่องราวสมมติของต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ หลายพันล้านปีก่อนเหตุการณ์หลักในภาพยนตร์ มีสมาชิกคนหนึ่งของเผ่าพันธุ์ที่คล้ายมนุษย์โบราณ เรียกว่า เอนจิเนียร์ส ได้เสียสละตัวเอง เพื่อให้ดีเอ็นเอของเขาเป็นจุดกำเนิดของมนุษยชาติ การทดลองอื่น ๆ ของเอนจิเนียร์ส มีการออกแบบสารก่อกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงเพื่อกำจัดเผ่าพันธุ์มนุษย์และปูทางให้เอเลี่ยนเพิ่มจำนวนขึ้นผ่านการการฝังตัวอ่อนในเจ้าของร่าง[4][1] เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหลายชั่วอายุคนนั้นได้รับการบันทึกตลอดแฟรนไชส์

เบื้องหลัง แก้

นักเขียนบท แดน โอแบนนอน ต้องการเขียนบทภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์โลดโผน โดยร่วมมือกับนักเขียนบทภาพยนตร์ โรนัลด์ ชูเซตต์ หลังทั้งสองคนเขียนบทภาพยนตร์เสร็จ ช่วงแรกใช้ชื่อว่า สตาร์ บีสต์ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เอเลี่ยน บทภาพยนตร์ถูกขายให้กับ แบรนดีไวน์โปรดักชันส์ ซึ่งมีข้อตกลงการจัดจำหน่ายกับทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ เหล่านักเขียนคาดว่ามันจะเป็นภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างต่ำ แต่ด้วยความสำเร็จของ สตาร์ วอร์ส ทำให้มีแนวโน้มที่ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์จะลงทุนด้วยจำนวนเงินหลายล้าน[5]

ในบทภาพยนตร์เดิม ลูกเรือยานอวกาศเป็นผู้ชายทั้งหมด แม้ว่าจะระบุไว้ว่า ลูกเรือสามารถเปลี่ยนอวัยวะเพศได้ ตัวละครริปลีย์ ซึ่งจะแสดงโดย ทอม สเกอร์ริตต์ ต่อมา อลัน แลดด์ จูเนียร์ ประธานของฟอกซ์และผู้อำนวยการสร้างที่แบรนดีไวน์ได้ยินข่าวลือว่าฟอกซ์กำลังทำงานภาพยนตร์เรื่องอื่นที่แสดงนำโดยผู้หญิงแกร่ง จึงได้มีการตัดสินใจให้บทของริปลีย์เป็นผู้หญิงและสเกอร์ริตต์ให้แสดงเป็นกัปตันดัลลาสแทน

เอช. อาร์ ไกเกอร์ จิตรกรและช่างแกะสลักชาวสวิส เป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยนในร่างโตเต็มวัยและซากยานอวกาศ ขณะที่ เมอบิอุส ศิลปินชาวฝรั่งเศส สร้างรูปลักษณ์ของชุดอวกาศและ รอน คอบบ์ ออกแบบฉากในการถ่ายทำ[6][7][8]

ขณะที่ภาพยนตร์ เอเลี่ยน ที่กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ นั้นประสบความสำเร็จ ฟอกซ์ไม่ได้ตัดสินใจให้มีการสร้างภาคต่อในทันที จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1983 เมื่อ เจมส์ แคเมรอน แสดงความสนใจต่อผู้อำนวยการสร้าง เดวิด ไกเลอร์ ที่ต้องการจะสานต่อเนื้อเรื่องของ เอเลี่ยน หลัง ฅนเหล็ก 2029 ของแคเมรอนกลายเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมในบ็อกซ์ออฟฟิศ แคเมรอนและเกล แอนน์ เฮิร์ดได้รับการอนุมัติให้กำกับและสร้างภาคต่อ เอเลี่ยน กำหนดฉายปี ค.ศ. 1986[9] แคเมรอนเขียนบทภาพยนตร์ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก จากเนื้อเรื่องที่เขาพัฒนาขึ้นมากับไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์

หลังจากภาพยนตร์ภาคที่สองฉายแล้ว วีเวอร์ไม่สนใจที่จะกลับมารับบทเดิม ทำให้ผู้อำนวยการสร้าง เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์ ต้องสร้างภาพยนตร์ เอเลี่ยน ภาคที่สามโดยที่ไม่มีตัวละครรีปลีย์ แต่ โจ รอธ ประธานของฟอกซ์ ไม่เห็นด้วยกับการไม่มีตัวละครรีปลีย์ และวีเวอร์ได้รับข้อเสนอด้วยเงินเดือนจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐและให้มีชื่อเป็นผู้อำนวยการสร้างใน เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล ไกเลอร์, ฮิลล์และแลร์รี เฟอร์กูสัน เป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์จากเนื้อเรื่องของบทภาพยนตร์ก่อนหน้านี้โดย วินเซนต์ วอร์ด ตั้งใจจะปิดฉากแฟรนไชส์ เอเลี่ยน ด้วยการสังหารตัวละครริปลีย์ ซึ่งเป็นตัวละครหลัก เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล เผชิญกับการสร้างที่ติดขัด ด้วยความยากลำบากในการเขียนบทภาพยนตร์, ปัญหาในการหาผู้กำกับ, เริ่มต้นการสร้างทั้ง ๆ ที่บทภาพยนตร์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ รวมถึงการแทรกแซงจากสตูดิโอจำนวนมาก[10][11]

ขณะที่การตอบรับของ เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล จากแฟนและนักวิจารณ์นั้นไม่ดีนัก แต่ภาพยนตร์กลับทำเงินได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก ทำให้ฟ็อกซ์สนใจในการสานต่อแฟรนไชส์ เมื่อปี ค.ศ. 1996 การสร้างภาพยนตร์เอเลี่ยนเรื่องที่สี่ เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ ก็เริ่มขึ้น ริปลีย์นั้นไม่อยู่ในบทร่างแรกของบทภาพยนตร์และวีเวอร์ไม่สนใจที่จะกลับมารับบทเดิม สุดท้ายเธอก็กลับมาเข้าร่วมโครงการหลังได้รับข้อเสนอด้วยเงินเดือนจำนวน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีอำนาจในการควบคุมความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น รวมถึงการอนุมัติของผู้กำกับ บทดำเนินเรื่อง 200 ปีหลังเหตุการณ์ใน เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล ฟิ้นคืนชีพตัวละครริปลีย์โดยการโคลนนิ่งมนุษย์[12] ภาพยนตร์กำกับโดย ฌอง-ปีแอร์ จูเนต์ ภาพยนตร์ประสบปัญหาการถ่ายทำที่ยืดเยื้อและอธิบายโดยผู้เขียนบท จอสส์ วีดอน ว่าทำ ทุกอย่างผิดไปหมด จากบทของเขา[13] ภาพยนตร์ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1997 ได้รับการตอบรับที่หลากหลาย, ทำกำไรคืนจากบ็อกซ์ออฟฟิศได้เพียงเล็กน้อยและไม่ประสบความสำเร็จ

ภาพยนตร์ แก้

ภาพยนตร์ วันฉายในสหรัฐ ผู้กำกับ ผู้เขียนบทภาพยนตร์ เนื้อเรื่องโดย ผู้อำนวยการสร้าง
ภาพยนตร์ชุดหลัก
เอเลี่ยน 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 (1979-05-25) ริดลีย์ สก็อต แดน โอแบนนอน แดน โอแบนนอนและโรนัลด์ ชูเสตต์ กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์
เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 (1986-07-18) เจมส์ แคเมรอน เจมส์ แคเมรอน, เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์ เกล แอนน์ เฮิร์ด
เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (1992-05-22) เดวิด ฟินเชอร์ เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์และแลร์รี เฟอร์กูสัน วินเซนด์ วอร์ด กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด ไกเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์
เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (1997-11-26) ฌอง-ปีแอร์ จูเนต์ จอสส์ วีดอน กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์และบิลล์ บาดาลาโต
โพรมีธีอุส 8 มิถุนายน ค.ศ. 2012 (2012-06-08) ริดลีย์ สก็อต จอน สไปทส์และเดมอน ลินเดลอฟ เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์และริดลีย์ สก็อต
เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 (2017-05-19) จอห์น โลแกนและดันเต ฮาร์เปอร์ แจ็ค แพกเลนและไมเคิล กรีน เดวิด ไกเลอร์, วอลเตอร์ ฮิลล์, ริดลีย์ สก็อต, มาร์ก ฮัฟฟามและมิคาอิล ชีฟเฟอร์
เอเลี่ยน: โรมูลัส 16 สิงหาคม ค.ศ. 2024 (2024-08-16) เฟเด อัลวาเรซ เฟเด อัลวาเรซและโรโด ซายาเกซ ริดลีย์ สก็อต, ไมเคิล พรัส, เฟเด อัลวาเรซ, เบรนต์ โอคอนเนอร์, เอลิซาเบธ แคนทิลลอนและทอม โมแรน
ภาพยนตร์ข้ามฝั่ง
เอเลี่ยนปะทะพรีเดเตอร์ สงครามชิงเจ้ามฤตยู 13 สิงหาคม ค.ศ. 2004 (2004-08-13) พอล ดับบลิว.เอส. แอนเดอร์สัน พอล ดับบลิว.เอส. แอนเดอร์สัน, แดน โอบานอนและโรนัลด์ ชูเซตต์ จอห์น เดวิส, กอร์ดอน แคร์โรลล์, เดวิด กิลเลอร์และวอลเตอร์ ฮิลล์
สงครามฝูงเอเลี่ยน ปะทะ พรีเดเตอร์ 2 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007 (2007-12-25) เกร็กและคอลิน สเตราส์ เชน ซาเลอร์โน จอห์น เดวิส, เดวิด กิลเลอร์และวอลเตอร์ ฮิล

ภาพยนตร์ชุดดั้งเดิม แก้

เอเลี่ยน (1979) แก้

ขณะที่ยานอวกาศเชิงพาณิชย์ ยูเอสซีเอสเอส นอสโตรโม กำลังเดินทางกลับโลก ได้จับสัญญาณลึกลับจากยานอวกาศมนุษย์ต่างดาวที่ถูกทิ้งร้างบนดาวเคราะห์น้อย ลูกเรือของยานอวกาศจึงเดินทางไปสำรวจที่นั่น ขณะที่กำลังสำรวจยานอวกาศดังกล่าว หนึ่งในลูกเรือของ นอสโตรโม ค้นพบซากศพนักบินของยานและห้องขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยวัตถุคล้ายไข่เป็นจำนวนมาก ไข่ใบหนึ่งได้ปล่อยสัตว์ตัวหนึ่งออกมาแล้วไปติดที่หน้าของลูกเรือคนหนึ่งแล้วทำให้เขาหมดสติ ลูกเรือคนอื่น ๆ จึงนำตัวเขาขึ้นยานอวกาศแล้วกักตัว ต่อมาปรสิตได้ตายแล้วลูกเรือคนดังกล่าวก็ฟิ้นขึ้นเป็นปกติ แต่ต่อมาไม่นาน สิ่งมีชีวิตต่างดาวระเบิดออกมาจากหน้าอกของเขาและโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นสัตว์ประหลาดสูง 2.5 เมตร แล้วก็เริ่มไล่ฆ่าลูกเรือคนอื่น ๆ

เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986) แก้

เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล (1992) แก้

เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ (1997) แก้

การตอบรับ แก้

รายการตัวบ่งชี้
(E) ระบุจำนวนตัวเลขตามข้อมูลที่มีอยู่

ตัวเลขในตารางนี้ไม่ได้ถูกปรับอัตราเงินเฟ้อ ในกรณีที่จำนวนตัวเลขสองตัวแตกต่างกันที่ยกมาจากรายได้ของบ็อกซ์ออฟฟิศ ข้อมูลนั้นถูกนำมาจากสองแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน

การทำเงินในบ็อกซ์ออฟฟิศ แก้

ภาพยนตร์ วันฉาย รายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศ ทุนสร้าง อ้างอิง
อเมริกาเหนือ ต่างประเทศ ทั่วโลก
เอเลี่ยน 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 $80,931,801 $122,698,829 $203,630,630 $11 ล้าน [14]
เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1986 $85,160,248 $98,156,207 $183,316,455 $18 ล้าน [14]
เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 $55,473,545 $104,340,953 $159,814,498 $50 ล้าน [14]
เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 $47,795,658 $113,580,410 $161,376,068 $70 ล้าน [14]
โพรมีธีอุส 8 มิถุนายน ค.ศ. 2012 $126,477,084 $276,877,385 $403,354,469 $125 ล้าน [14]
เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 $74,262,031 $164,600,000 $240,891,763 $97 ล้าน [14]
ทั้งหมด $470,100,367 $880,253,784 $1,352,383,883 (E) $371 ล้าน  

การตอบรับของนักวิจารณ์ แก้

ภาพยนตร์ รอตเทนโทเมโทส์ เมทาคริติก ซีนะมาสกอร์
เอเลี่ยน 98% (คะแนนเฉลี่ย 9.09/10) (121 บทวิจารณ์)[15] 89 (34 บทวิจารณ์)[16]
เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก 97% (คะแนนเฉลี่ย 8.99/10) (74 บทวิจารณ์)[17] 84 (22 บทวิจารณ์)[18] A[19]
เอเลี่ยน 3 อสูรสยบจักรวาล 43% (คะแนนเฉลี่ย 5.34/10) (54 บทวิจารณ์)[20] 59 (20 บทวิจารณ์)[21] C[19]
เอเลี่ยน 4 ฝูงมฤตยูเกิดใหม่ 55% (คะแนนเฉลี่ย 5.79/10) (80 บทวิจารณ์)[22] 63 (21 บทวิจารณ์)[23] B−[19]
โพรมีธีอุส 73% (คะแนนเฉลี่ย 6.95/10) (303 บทวิจารณ์)[24] 64 (43 บทวิจารณ์)[25] B[19]
เอเลี่ยน: โคเวแนนท์ 66% (คะแนนเฉลี่ย 6.3/10) (392 บทวิจารณ์)[26] 65 (52 บทวิจารณ์)[27] B[19]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Aliens (Motion picture). A 20th Century Fox / Brandywine Production. OCLC 901628690.
  2. Dean Foster, Alan (1978). Alien: The Official Novelization. Bankside, London, United Kingdom: Titan Publishing Group. p. 11. ISBN 978-1783290154.
  3. Alien 3 (Motion picture). A 20th Century Fox / Brandywine Production. May 22, 1992. OCLC 776089792.
  4. Prometheus (Motion picture). 20th Century Fox in association with Scott Free/Brandywine Productions. June 8, 2012. OCLC 1001820935.
  5. "Star Beast: Developing the Story", The Beast Within: The Making of Alien.
  6. Lina Badley, Film, and the Body Fantastic: Contributions to the Study of Popular Culture, Greenwood Press 1995
  7. McIntee, David A. (2005). Beautiful Monsters: The Unofficial and Unauthorised Guide to the Alien and Predator Films. Telos. pp. 19–28.
  8. Sutton, Robert. "R0BTRAIN's Bad Ass Cinema: Alien". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2007. สืบค้นเมื่อ September 4, 2006.
  9. Schickel, Richard (July 28, 1986). "Help! They're Back!". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2007. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.
  10. "Last in Space". Entertainment Weekly. May 29, 1992. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2008. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
  11. "David Fincher". Senses of Cinema. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2007. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
  12. Hochman, David (December 5, 1997). "Beauties and the Beast". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2008. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
  13. "Joss for a minute: A brief chat with Joss Whedon". December 16, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2007. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 "Alien franchise". The Numbers. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
  15. "Alien". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
  16. "Alien (1979): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
  17. "Aliens". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ March 16, 2020.
  18. "Aliens (1986): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 20, 2018.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 "Cinemascore". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-20.
  20. "Alien 3". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
  21. "Alien 3 (1992): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
  22. "Alien Resurrection". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
  23. "Alien Resurrection (1997): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
  24. "Prometheus (2012)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ October 26, 2020.
  25. "Prometheus (2012): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
  26. "Alien: Covenant (2017)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
  27. "Alien: Covenant reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ June 12, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้