เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย
บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ให้บริการเวลาเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าทางสถานีโทรทัศน์ของทางกลุ่มบริษัท จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร[1] และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เนื้อหารายการประเภทซีรีส์ การ์ตูน สารคดี จากหลากหลายประเทศ อย่าง เกาหลีใต้ อินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ และสหรัฐ จำหน่ายเป็นลิขสิทธิ์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ทุกระบบ รวมถึงผ่านระบบวีดิทัศน์ตามคำขอ และชุดความบันเทิงภายในบ้านอย่างดีวีดีและบลูเรย์ มีบริษัทย่อย 4 บริษัทคือ บริษัท เจเคเอ็น แชนเนล จำกัด, บริษัท เจเคเอ็น ไอเอ็มซี จำกัด, บริษัท เจเคเอ็น โนว์เลดจ์ จำกัด และ บริษัท เจเคเอ็น นิวส์ จำกัด โดยถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในทั้ง 4 บริษัท[2]
อุตสาหกรรม | บริการ |
---|---|
รูปแบบ | บริษัทมหาชน (SET:JKN) |
ก่อตั้ง | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 |
บุคลากรหลัก | พล.ร.อ.อภิชาติ เพ็งศรีทอง (ประธานกรรมการ) จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) |
เว็บไซต์ | http://www.jknglobal.com/ |
ประวัติแก้ไข
เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยนายจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดยเริ่มแรกบริษัทดำเนินธุรกิจจากการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ อาทิ ดีวีดีชุดเสื้อยิ้มให้พ่อ, น้ำดื่มตราภัทรพัฒน์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าภายใต้สิทธิ์ของ บริษัท เจเคเอ็น แลนด์มาร์ค จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เอสทีจี มัลติมีเดีย จำกัด และ บริษัท เอสทีวิดีโอ จำกัด) หลังจากนั้นได้เปลี่ยนมาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จนเมื่อประเทศไทยอยู่ในช่วงประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล จึงได้ดำเนินการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ของเจเคเอ็น แลนด์มาร์ค ให้กับบริษัท ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[2] และได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[3]
ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2561 เจเคเอ็น นิวส์ ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์ของซีเอ็นบีซีมาออกอากาศทางทีวีดิจิทัล ก่อนเริ่มทำรายการข่าวภาคภาษาไทยในนามเจเคเอ็นซีเอ็นบีซีครั้งแรกในช่วงกลางปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยช่วง 3 เดือนแรกออกอากาศทางช่องจีเอ็มเอ็ม 25[4] ก่อนเปิดเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2563 เป็นเวลา 9 เดือน หลังจากนั้นได้ย้ายเข้าไปออกอากาศทางช่องเจเคเอ็นทีวี และจากการเติบโตของเจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย อย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จึงได้ย้ายเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบันเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ของตนในระยะยาว[5]
ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย ได้เข้าไปควบคุมการออกอากาศของช่องนิว 18[6] ก่อนที่ในวันที่ 9 เมษายน ปีเดียวกัน เจเคเอ็นจะเข้าซื้อหุ้นสามัญจดทะเบียนของบริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด ผู้รับใบอนุญาตของช่องนิว 18 รวมถึงอาคารสำนักงานของช่องและอุปกรณ์การออกอากาศทั้งหมดจากกลุ่มผู้บริหารของเดลินิวส์ คิดเป็นมูลค่า 1,060,000,000 บาท ทำให้ดีเอ็น บรอดคาสต์ กลายเป็นบริษัทย่อยของเจเคเอ็น[7] โดยจะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้รับใบอนุญาต และจะมีการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น เจเคเอ็น 18 โดยไม่มีการปลดพนักงานเดิมออก โดยแอนได้ถ่ายทอดสดแถลงผ่านทางเฟซบุ๊กของตัวเองเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 9 เมษายน[8] และในวันที่ 19 เมษายน เจเคเอ็นได้ประกาศแผนการตลาดของตนในรูปแบบใหม่เป็น "Content Commerce Company" โดยดึงเนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคมาต่อยอดสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ และใช้ช่องเจเคเอ็น 18 เป็นช่องทางสนับสนุนเพิ่มเติม[9]
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่แก้ไข
- ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565[10]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | นาย จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ | 322,923,173 | 53.16% |
2 | นาย เฉลิม หาญพาณิชย์ | 24,000,000 | 3.95% |
3 | น.ส. พิมพ์อุมา จักราจุฑาธิบดิ์ | 23,358,150 | 3.84% |
4 | BNP PARIBAS SINGAPORE BRANCH | 20,000,000 | 3.29% |
5 | MEDIA KING CAPITAL LTD | 6,130,250 | 1.01% |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน)
- ↑ 2.0 2.1 รายงานประจำปี 2560
- ↑ JK๋N เข้าซื้อ-ขาย ในตลาด MAI วันแรก[ลิงก์เสีย]
- ↑ มติชน (4 มิถุนายน 2562). "JKN News จับมือ GMM25 ดึงรายการข่าวระดับโลกเข้าไทย หวังพลิกโฉมวงการข่าวประเทศไทย". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "'JKN' ตัดริบบิ้นย้ายเข้าเทรด SET เปิดทางนักลงทุนสถาบันไทย-ตปท. เสริมสภาพคล่องการซื้อขาย". ทันหุ้น. 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.
- ↑ "สะท้านจอทีวี "แอน จักรพงษ์" ทุ่มเงินเช่าเวลาช่อง NEW18 ยกสถานีเบื้องต้น 2 เดือน". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
- ↑ "JKN ทุ่มงบ 1,000 ล้าน ซื้อช่อง NEW18". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ จักราจุฑาธิบดิ์, จักรพงษ์ (2021-04-09), 💋Anne Show Special Episode (ตอนพิเศษ), สืบค้นเมื่อ 2021-04-09
- ↑ "แอน จักรพงษ์ กางแผนปั้น JKN18 ชู Content Commerce ตั้งเป้า 5,000 ล้านบาท". ฐานเศรษฐกิจ. 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
- ↑ http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=JKN&selectPage=5