เอมี เจด ไวน์เฮาส์ (อังกฤษ: Amy Jade Winehouse, เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1983 - เสียชีวิต 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011) นักร้องแนวโซลชาวอังกฤษ และนักแต่งเพลงแจ๊ส

เอมี ไวน์เฮาส์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเอมี เจด ไวน์เฮาส์
เกิด14 กันยายน ค.ศ. 1983
ที่เกิดลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 (อายุ 27 ปี)
แนวเพลงอาร์แอนด์บี,บลู-อายด์ โซล,แจ๊ส
อาชีพนักร้อง,นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปี2003-2011
ค่ายเพลงIsland
Universal Republic Records
Universal Records / Universal Republic Group
คู่สมรสเบลค ฟิดเลอร์ (สมรส 2007; หย่า 2009)
เว็บไซต์amywinehouse.co.uk

อัลบั้มชุดแรกของเธอออกในปี 2003 ชื่อชุด Frank ได้ถูกเสนอชื่อรางวัลเมอร์คิวรีไพรซ์ และเธอได้รับรางวัลไอวอร์ โนเวลโล[1] ในปี 2004 สำหรับซิงเกิลเปิดตัวของเธอ "Stronger than Me" และอีกครั้งหนึ่งในเดือน พฤษภาคม 2007 กับซิงเกิลแรกจากอัลบั้มในปี 2006 Back to Black ในเพลง "Rehab" และต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังได้รับรางวัลบริทอวอร์ด สาขาศิลปินหญิงที่ดีที่สุดของเกาะอังกฤษ นอกจากนั้นยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ปี 2007 อีกด้วย[2]

ในปี 2007 เธอชนะได้รับรางวัลแกรมมี สาขาเพลงแห่งปี ในเพลง rehab สาขาบันทึกเสียงแห่งปี [3]

ทางด้านชีวิตส่วนตัว เธอได้เข้าพิธีแต่งงานกับแฟนหนุ่ม เบลค ฟิดเลอร์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2007 เกี่ยวกับสุขภาพเธอเป็นโรคซึมเศร้า มีปัญหาติดยาและติดเหล้า เธอเคยถูกจับกุมข้อหาครอบครองยาเสพติด พร้อมกับเบลก ฟิล์ดเดอร์-ซิวิล สามีของเธอ และในช่วงปลายปี 2007 โดนจับอีกครั้งเนื่องจากข้อหาทำร้ายร่างกายสามี แต่ทั้งสองคดีจบไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์[4] ทั้งคู่ได้แยกทางกันในเวลาต่อมา

ก่อนไวน์เฮาส์จะเสียชีวิต ที่รายงานว่าเธอคบหาอยู่กับเรก แทรวิสส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ [5] แต่เพิ่งเลิกรากันก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เธอเศร้าเสียใจ ดื่มสุราและเสพยาอย่างหนักจนเสียชีวิต [6]

ประวัติ

แก้

เอมี ไวน์เฮาส์เกิดที่เขตเซาธ์เกท เมืองเอนฟีลด์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เธอเกิดในครอบครัวเชื้อสายยิวที่รักดนตรีแจ๊ส[7] ครอบครัวของเธอมีสมาชิก 4 คน พ่อของเธอชื่อ มิทเชลล์ ทำงานอาชีพเป็นคนขับรถแท็กซี่ แม่ของเธอชื่อ เจนิส ทำงานอาชีพเป็นเภสัชกร และพี่ชายของเธอชื่อ อเล็กซ์[8] ในตอนที่เอมี่ยังเป็นเด็กพ่อของเธอมักจะร้องเพลงของแฟรงก์ ซินาตรา ซึ่งทำให้เอมีร้องเพลงแบบนั้นมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ตอนที่เธอเป็นนักเรียน ครูมักจะดุเธอเรื่องร้องเพลงในห้องเรียนเสมอ[9]

เมื่อเอมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของเธอชื่อซินเธีย แนะนำให้เธอเข้าโรงเรียนสอนการแสดง ซูซิ เอิร์นชอร์ (Susi Earnshaw Theatre School)[10] เมื่อเธออายุ 10 ขวบ เธอได้ตั้งวงเพลงแร็ปชื่อ สวีท แอนด์ เซาเออร์ (Sweet 'n' Sour) กับเพื่อนชื่อ จูเลียท แอชบี (Juliette Ashby)[11] เอมีเรียนอยู่ที่โรงเรียนซูซิ เอิร์นชอร์ได้ 4 ปี จึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนสอนการแสดง ซิลเวียร์ ยัง (Sylvia Young Theatre School) เธอได้ร่วมแสดงในละครเรื่อง เดอะ แฟสท์ โชว์ (The Fast Show) กับเพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ ในปีค.ศ. 1997[12] แต่พอเธออายุได้ 14 ปี เธอก็ถูกไล่ออกเนื่องจากไม่ตั้งใจเรียนและไปเจาะจมูกมา[13][8] หลังจากนั้นเธอจึงไปเข้าโรงเรียนบริท (BRIT School) ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศิลปะการแสดงและเทคโนโลยี ในเซลเฮิร์สท ชานเมืองครอยดอน[14]

เส้นทางอาชีพนักร้อง

แก้

การเข้าสู่วงการ

แก้

เอมีได้กีต้าร์เป็นของตัวเองครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี เธอได้เริ่มแต่งเพลง และทำงานต่างๆ เช่น เป็นนักหนังสือพิมพ์ให้กับ เวิร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนท์ นิวส์ เน็ตเวิร์ค (World Entertainment News Network) และร้องเพลงในวงดนตรีแจ๊ส เป็นต้น[8] แฟนหนุ่มในขณะนั้นของเธอ ชื่อ ไทเลอร์ เจมส์ ซึ่งเป็นนักร้องเพลงโซลได้ส่งเทปเพลงตัวอย่างของเอมีไปให้ A&R[7] ทำให้เธอได้เซ็นต์สัญญากับ ไอซ์แลนด์ เรคคอร์ด ยูนิเวอร์แซล (Island Records/Universal) ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท 19 แมนเนจเมนท์ (19 Management) ของ ไซมอน ฟูลเลอร์ (Simon Fuller) [15] และกับ EMI เอมีได้ร่วมร้องเพลงและออกทัวร์กับ ชาร์รอน โจนส์ กับวงแดป-คิงส์ [16]

ความสำเร็จก้าวแรก

แก้

อัลบั้มชุดแรกของเธอคือ Frank วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2003 อัลบั้มชุดนี้ควบคุมดูแลโดย ซะลาม เรมิ เพลงส่วนใหญ่จะออกแนวแจ๊ส นอกจากนี้ยังมีเพลงที่เธอนำมาร้องใหม่ 2 เพลง เอมีมีส่วนร่วมในการแต่งเพลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้ เธอได้รับบทวิจารณ์ในแง่ดีอย่างล้นหลาม [17][18] พร้อมทั้งได้รับคำชมเชยมากมายว่า เนื้อเพลงเยี่ยมและน่าจับตามอง [19] และได้มีการเทียบเคียงเสียงร้องของเธอกับ ซาราห์ วอห์น[20] มาซี เกรย์ และนักร้องชื่อดังคนอื่นๆอีกด้วย[19]

อัลบั้ม Frank ติดอันดับต้นๆของ ยูเค อัลบั้มส์ ชาร์ท ในปี ค.ศ. 2004 เมื่ออัลบั้มนี้ได้ถูกเสนอชื่อขึ้นชิงบริทอวอร์ดส ในสาขา British Female Solo Artist และ British Urban Act นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวอีกด้วย[21] ในปีเดียวกันนั้นเอง เธอได้รับ ไอวอร์ โนเวลโล อวอร์ด สาขาเพลงร่วมสมัยยอดเยี่ยม จากซิงเกิลเปิดตัว "Stronger Than Me" คู่กับโปรดิวเซอร์ของเธอ ซะลาม เรมิ[22] ยิ่งไปกว่านั้น อัลบั้ม Frank ยังถูกเสนอชื่อขึ้นชิง เมอร์คิวรี มิวสิก ไพรซ์ อีกด้วย เอมีได้ไปร้องเพลงในเทศกาลเพลงแกลสตันบูรี และ วี เฟสติวอล ด้วย

เอมีกล่าวว่า เธอพอใจกับอัลบั้ม Frank เพียง 80% เท่านั้น เนื่องจากเพลงบางส่วนไม่ใช่ตัวเธอ [7] ในช่วงระหว่างการทำอัลบั้มที่ 2 เธอกล่าวว่า เธอไม่สามารถฟังเพลงในอัลบั้ม Frank ได้อีกต่อไป จริงๆคือเธอไม่เคยฟังมันได้เลย ถึงแม้เธอจะชอบร้องมัน แต่สำหรับการฟังนั้น มันคนละเรื่องเลย [23] เอมียังกล่าวอีกว่า เธอฟังเพลงในอัลบั้ม Frank ได้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเธอก็ภูมิใจกับมัน เอมีคิดว่ามันเป็นอัลบั้มที่ยอดเยี่ยมของเธอ ไม่ใช่ว่าเธอไม่ชอบอัลบั้มนี้ แต่เธอต้องทำให้แตกต่างออกไป[24]

ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่

แก้

ในอัลบั้มชุดที่ 2 เอมีเปลี่ยนจากแนวแจ๊สในอัลบั้ม Frank มาเป็นแนวของนักร้องวงผู้หญิงในยุค 50และ 60 เอมีกล่าวว่า หลังจากเสร็จสิ้นจากอัลบั้ม Frank เธอไม่สามารถแต่งเพลงได้เลยตลอดระยะเวลา 18 เดือน จนกระทั่งเอมีได้พบกับ มาร์ก รอนสัน ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เธอ เธอจึงแต่งเพลงได้ครบทั้งอัลบั้มภายใน 6 เดือน [23] หลังจากซิงเกิล "Fuck Me Pumps" ต้นปีค.ศ. 2006 เพลงจากอัลบั้มที่ 2 ของเอมี ได้แก่ เพลง "Wake Up Alone" และ เพลง "Rehab" ก็ได้กระจายเสียงผ่านทางคลื่นวิทยุ อีสต์ วิลเลจ เรดิโอ ในนิวยอร์ก ในรายการของมาร์ก รอนสัน ต่อมาเพลงทั้งสองนี้ได้ถูกรวมเข้าในอัลบั้มที่ 2 ของเธอด้วย และมีเพลงอื่นๆในอัลบั้มนี้เปิดในวิทยุเช่นเดียวกัน

เพลงตัวอย่าง:

อัลบั้มชุดที่ 2 ของเอมี มีชื่อว่า Back to Black มีจำนวนเพลงทั้งสิ้น 11 เพลง อัลบั้มนี้เริ่มโปรโมตในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 และวางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรวันที่ 30 เดือนเดียวกัน โปรดิวเซอร์อัลบั้มนี้คือ ซะลาม เรมิ และ มาร์ก รอนสัน อัลบั้ม Back to Black ติดอันดับ 1 ของ ยูเค อัลบั้มส์ ชาร์ท เป็นเวลาหลายครั้ง และติดอันดับ 7 ของบิลบอร์ด 200 ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม Back to Black ขายได้ 5 รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในสหราชอาณาจักรและไอทูนส์ของสหราชอาณาจักร ประจำปีค.ศ. 2007 ด้วย[25][26]

ปัจจุบันมีซิงเกิลหลายตัวจากอัลบั้ม Back to Black โดยซิงเกิลแรกของอัลบั้มนี้คือ "Rehab" โปรดิวซ์โดย มาร์ก รอนสัน และได้ออกอากาศในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2006[23] ซิงเกิลนี้ติดอันดับสูงสุดอันดับ 7 ของ ยูเค ซิงเกิลส ท็อป 75[27][28] และได้รับไอวอร์ โนเวลโล อวอร์ด สาขาเพลงร่วมสมัยยอดเยี่ยมอีกด้วย[29] หลังจากที่เอมีได้ร้องเพลง "Rehab" ที่งานเอ็มทีวี มูวี่ อวอร์ดส ประจำปีค.ศ. 2007 ซิงเกิล "Rehab" ก็ติดอันดับสูงสุดอันดับ 9 ของ บิลบอร์ด ฮอท 100 ในสัปดาห์ที่ 26 ของปีค.ศ. 2007 (สัปดาห์ของวันที่ 21 มิถุนายน) อย่างรวดเร็ว นิตยสารไทม์ให้ "Rehab" เป็นอันดับ 1 ใน 1 ใน 10 เพลงยอดเยี่ยมประจำปีค.ศ. 2007 นักเขียนคอลัมน์ จอช ทีแรนจีล ได้ยกย่องเอมีเกี่ยวกับความมั่นใจในตัวเองของเธอและให้ความคิดเห็นว่า "จากลักษณะพูดพล่ามที่ติดตลกและยั่วยวน จนอาจถึงขั้นสติแตกนี่เองที่เป็นเสน่ห์ในแบบฉบับของหล่อนที่ยากเกินห้ามใจ และเมื่อได้ผสานกับฝีมือการสร้างชั้นยอดของ มาร์ก รอนสัน ที่ผลิตแต่ผลงานเพลงโซลขั้นเทพมาตลอดสี่ทศวรรษ เชื่อได้เลยว่าคุณจะไม่ผิดหวังที่ได้บทเพลงที่ดีที่สุดของปีค.ศ. 2007 จากเขาและเธอคนนี้"[30]

ซิงเกิลที่สองของอัลบั้ม Back to Black คือ "You Know I'm No Good" วางจำหน่ายในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2007 ในซิงเกิลนี้ประกอบด้วยรีมิกซ์ที่ให้เสียงร้องจังหวะแร็พโดย โกสต์เฟซ คิลลาห์ ซิงเกิล "You Know I'm No Good" ติดอันดับ 18 ของ ยูเค ซิงเกิล ชาร์ท ต่อมาซิงเกิล "Back to Black" ซึ่งมีชื่อเดียวกันกับอัลบั้มก็ได้วางจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 และที่สหราชอาณาจักรในวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน ซิงเกิล "Back to Black" ติดอันดับสูงสุดอันดับที่ 25 และในวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 อัลบั้ม Back to Black แบบพิเศษก็ได้วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ในอัลบั้มนี้จะมีแผ่นซีดีเพิ่มอีกหนึ่งแผ่นซึ่งประกอบไปด้วย บี-ซายด์ส (B-sides) เพลงที่หาฟังยาก เพลงที่ร้องสด และอื่นๆ เช่นเพลง "Valerie" ซึ่งดีวีดีการแสดงของเอมี I Told You I Was Trouble: Live in London ก็ได้วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรในวันเดียวกันนั้นด้วย ส่วนในสหรัฐอเมริกาวางจำหน่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ดีวีดีนี้ประกอบด้วยบันทึกการแสดงสดของเธอที่แชพเพิร์ดส บุช เอ็มไพร์ ณ กรุงลอนดอน และสารคดีความยาว 50 นาทีเกี่ยวกับการเข้าสู่วงการของเธอย้อนไป 4 ปี[31] ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ซิงเกิล "Love Is a Losing Game" ซึ่งเป็นซิงเกิลตัวสุดท้ายของอัลบั้ม Back to Black ก็ได้วางจำหน่ายที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

ด้วยกระแสความดังของอัลบั้ม Back to Black อัลบั้ม Frank จึงถูกนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้งที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ติดอันดับ 61 ของบิลบอร์ด 200 ชาร์ท[32] พร้อมได้รับบทวิจารณ์ในแง่ดีอีกเช่นเคย[33][34]

ในส่วนอัลบั้มของเอมีเอง เธอก็ได้ร่วมมือกับศิลปินอื่นๆ ด้วย หนึ่งในนั้นคือเพลง "Valarie" ของมาร์ก รอนสัน ในอัลบั้มเดี่ยวของเขาชื่อ Version ซึ่งเอมีเป็นผู้ขับร้อง เพลงนี้ออกอากาศในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ติดอันดับสูงสุดอันดับที่ 2 ในสหราชอาณาจักร "Valarie" ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริท สาขา "Best British Single" ประจำปีค.ศ. 2008[35][36][37] นอกจากนี้เอมียังได้ร่วมงานกับ มิวทยา บูนา อดีตสมาชิกวงชูการ์เบบ ในเพลง "B Boy Baby" ซึ่งเป็นเพลงในอัลบั้มที่สี่ของมิวทยาชื่อ Real Girl[38]

ทัวร์คอนเสิร์ต

แก้
 
เอมี่ร้องเพลงที่เบาเวอร์รี่ บอลรูม นิวยอร์กซิตี้ ในปีค.ศ. 2007

หลังจากที่อัลบั้ม Back to Black วางจำหน่าย เอมีก็เริ่มเดินสายทัวร์คอนเสิร์ต เธอเริ่มออกทัวร์ในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 หนึ่งในนั้นเป็นคอนเสิร์ตกุศลชื่อ Little Noise Sessions ที่โบสถ์ยูเนียนชาเปล ในอีสลิงตัน ลอนดอน นอกจากนี้เอมียังได้ร่วมรายการเพลงประจำปีของจูลส์ ฮอลแลนด์ ในรายการฮูทเท็นแอนนี่ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 เอมีได้ทัวร์คอนเสิร์ตเล็กๆ 14 แห่ง และระหว่างช่วงฤดูร้อนในปีค.ศ. 2007 เอมีได้ร่วมร้องเพลงในงานเทศกาลเพลงต่างๆ เช่น เทศกาลกลาสตันเบอร์รี่[39], เทศกาลลอลลาโปลูซา ในชิคาโก, ร็อก เวิร์ชเทอร์ และเวอร์จินมิวสิกเฟสติวอล ฯลฯ

อย่างไรก็ตามทัวร์คอนเสิร์ตของเอมีก็ไม่ได้ราบรื่นดีนัก เอมีได้ยกเลิกคอนเสิร์ตในฟินแลนด์ที่จะแสดงในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เนื่องจากเจ็บคอ[40] และในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน คืนวันแรกของทัวร์คอนเสิร์ต 17 วัน ณ National Indoor Arena ในเบิร์มมิงแฮม นักวิจารณ์เพลงกล่าวได้กล่าวในหนังสือพิมพ์เบิร์มมิ่งแฮมเมล์ว่า "คอนเสิร์ตนี้เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ฉันเกิดมา... ฉันเห็นศิลปินผู้มีพรสวรรค์ดูเหมือนร่างกายจะแตกเป็นชิ้นๆ เดินโซเซไปมาบนเวที และยังสบถใส่ผู้ชมอีกด้วย"[41] ซึ่งคอนเสิร์ตครั้งอื่นๆ ก็เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ตลอด[42] ในที่สุดวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เอมีได้ประกาศยกเลิกทุกคอนเสิร์ตของปี 2007 โดยแพทย์แนะนำให้เอมีพักผ่อนระยะยาว Live Nation ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนคอนเสิร์ตของเอมีได้ออกมากล่าวถึงเหตุผลที่ต้องยกเลิกคอนเสิร์ตว่า "เอมีเคร่งเครียดจากการทัวร์คอนเสิร์ตมาตลอดหลายสัปดาห์ติดต่อกัน"[43]

เสียชีวิต

แก้

เอมี ไวน์เฮาส์ ได้เสียชีวิตลงในอพาร์ทเมนต์ส่วนตัวที่ลอนดอน เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งสาเหตุเบื้องต้นได้สันนิษฐานว่าเกิดจากการติดสารเสพติดและสุราเป็นเวลายาวนาน โดยเธอได้สิ้นใจลงก่อนรถพยาบาลจะเข้ามาถึง[44]

ผลงานเพลง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ความสำเร็จที่น่าหวั่นวิตกของ เอมี่ ไวน์เฮาส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.
  2. Amy Winehouse เก็บถาวร 2007-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน msninconcert.msn.com
  3. Amy Winehouse Wins Big at Grammy Awards The New York Time Feb. 11, 2008 Retrieved 27-11-2020
  4. เอมี่ ไวน์เฮาส์ ถูกจับเข้าคุกหลังตบหน้าผู้ชายในผับ เก็บถาวร 2008-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mtvthailand.com
  5. Cable, Simon (2 June 2010). "Revealed, the clean cut new boyfriend who may tame Amy Winehouse". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  6. Tragic Amy Winehouse 'heartbroken' over split from Reg Traviss as she dies aged 27 Daily Mail. Retrieved 24 July 2011
  7. 7.0 7.1 7.2 Mulholland, Garry. "Charmed and Dangerous." The Observer. 1 February 2004. Retrieved on 28 October 2006.
  8. 8.0 8.1 8.2 Eliscu, Jenny. (2007-06-14) , "The Diva and Her Demons." เก็บถาวร 2007-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Rolling Stone. (1028) :58–69. Retrieved 2007-12-14.
  9. SAnderson, Elizabeth. "Amy Winehouse's mother explains why she feels powerless to stop her troubled daughter’s descent into hell of addiction." Mail Online. 18 August 2007. Retrieved on 1 July 2008.
  10. Sandall, Robert. "Can Amy Winehouse be saved?" The Times. 27 July 2008.
  11. "Singer of the Week - Amy Winehouse". AskMen.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
  12. The Fast Show Episode #3.2 ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส  
  13. "Q - The Interview: Amy Winehouse". The Independent on Sunday. 2004-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. Braddock, Kevin. "Fame Academy: The Brit School." The Independent 28 January 2007. Accessed: 17 May 2008.
  15. Rothstein, Simon. "A Frank Interview with Amy." The Sun. 5 April 2004. Retrieved on 23 November 2006.
  16. Sisario, Ben. "She’s Not Anybody’s Backup Act." New York Times. 29 September 2007. Retrieved on 2007-12-13
  17. "Amy Winehouse: Frank". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.. Google.com. Retrieved on 20 November 2006
  18. Lindon, Beccy. "Amy Winehouse, Frank." The Guardian. 17 October 2003. Retrieved on 4 November 2006.
  19. 19.0 19.1 Bush, John. Amy Winehouse Frank Review. allmusic.com. Retrieved on 4 November 2006.
  20. Boraman, Greg. Urban Review: Amy Winehouse, Frank. BBC.co.uk. 27 November 2003. Retrieved on 4 November 2006.
  21. Amy Winehouse (official site) . Retrieved on 28 October 2006.
  22. ASCAP Members Honored At The Ivors เก็บถาวร 2008-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ASCAP.com. Retrieved on 28 October 2006.
  23. 23.0 23.1 23.2 Swift, Jacqui. "Wine, Woman and Song." The Sun 27 October 2006. Retrieved on 28 October 2006
  24. Cooke, Chris."Back for Good - Amy Winehouse" CMU Beats. December 2006. Retrieved on 2008-8-31
  25. Cleland, Gary. "Amy Winehouse tops year end iTunes chart." The Telegraph. 13 December 2007. Retrieved on 13 December 2007
  26. "Amy Winehouse - I Told You I Was Trouble - Documentary & Live Concert DVD." ilikemusic.com Retrieved 25 October 2007.
  27. "Profile: Amy Winehouse." BBC.com. 29 August 2007.
  28. Amy Winehouse - Rehab - Music Charts. acharts.us. 2007-12-18.
  29. "Winehouse wins best contemporary song." เก็บถาวร 2020-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ninemsn.com.au. 2007-05-27. Retrieved 2007-12-13.
  30. Tyrangiel, Josh. "Top 10 Songs - 50 Top 10 Lists of 2007." เก็บถาวร 2009-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time.com.
  31. "Universal Republic Stars, Amy Winehouse and Mika, to Release Special Live DVDs in U.S. 13 November." Universal Republic Records Press release. 2007-12-02. Retrieved 2007-12-13.
  32. Harris, Chris. "'American Idol' Champ Jordin Sparks Fails To Ignite The Charts, Barely Cracking Billboard Top 10." เก็บถาวร 2010-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV.com. 28 November 2007. Retrieved on 2007-12-13
  33. Friskics-Warren, Bill. "Amy Winehouse: A 'Frank' Assessment." Washington Post 20 November 2007. Retrieved 2007-12-13
  34. Toombs, Mikel. "Listen Up: Amy Winehouse's 'Frank'." Seattle Post-Intelligencer. 21 November 2007. Retrieved 2007-12-13.
  35. Mark Ronson featuring Amy Winehouse - Valerie. ilikemusic.com Retrieved 2007-12-13.
  36. Colothan, Scott. Leona Lewis Does The Chart Double Again เก็บถาวร 2007-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Hi-HopElements.com. 26 November 2007. Retrieved 2007-12-13.
  37. Amy Winehouse - I Told You I Was Trouble - Documentary & Live Concert DVD. ilikemusic.com. Retrieved on 2007-12-13.
  38. Brit Awards nominations go pop. egigs.co.uk. 14 January 2008.
  39. Wilkes, Neil. "Winehouse camps in style at Glastonbury." เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน DigitalSpy 2007-06-24. Retrieved on 2007-06-25.
  40. Bruitzman, Dennis. "Headliner Amy Winehouse cancels Provinssirock." เก็บถาวร 2009-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  41. Coleman, Andy. "Amy Winehouse Birmingham Show ends in chaos." Birmingham Mail. 2007-11-15. Accessed 2008-01-06.
  42. "Amy Winehouse fans revolt after shambolic gig." New Musical Express. 26 November 2007.
  43. "Amy Winehouse scraps all concerts." BBC News. 27 November 2007. Retrieved 2007-12-13.
  44. ""เอมี ไวน์เฮาส์"เสียชีวิต!ในบ้านพักลอนดอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-08. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้