เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง

เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง (เยอรมัน: Emil Adolf von Behring; 15 มีนาคม ค.ศ. 1854 – 31 มีนาคม ค.ศ. 1917) เป็นนักสรีรวิทยาชาวเยอรมันซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 1901

เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง
เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง
เกิด15 มีนาคม ค.ศ. 1854
ฮันส์ดอร์ฟ
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 1917(1917-03-31) (63 ปี)
มาร์บวร์ค เฮ็สเซิน-นัสเซา
สัญชาติเยอรมัน
มีชื่อเสียงจากวัคซีนคอตีบ
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (ค.ศ. 1901)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาสรีรวิทยา, วิทยาภูมิคุ้มกัน

ประวัติ แก้

เบริงถือกำเนิดที่ฮันส์ดอร์ฟ ไครส์โรเซินแบร์ค จังหวัดปรัสเซีย โดยมีชื่อ อาด็อล์ฟ เอมีล เบริง (Adolf Emil Behring)

ระหว่าง ค.ศ. 1874 และ ค.ศ. 1878 เบริงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่ Akademie für das militärärztliche Bildungswesen เมืองเบอร์ลิน เขาทำงานหลักเป็นแพทย์ทหาร และต่อมาเป็นศาสตราจารย์ด้านสุขศาสตร์ในคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมาร์บวร์ค ภายใต้แรงต่อต้านในช่วงแรกจากสภาคณะ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขารับไว้ตลอดช่วงชีวิต

เบริงเป็นผู้ค้นพบสารต้านชีวพิษ (antitoxin) ต่อคอตีบ และมีชื่อเสียงอย่างมากจากการค้นพบดังกล่าว รวมทั้งจากการอุทิศตนเพื่อศึกษาด้านภูมิคุ้มกัน เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เป็นคนแรกใน ค.ศ. 1901 จากการพัฒนาการรักษาด้วยซีรัมเพื่อต้านคอตีบ (ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับเอมีล รู) และบาดทะยัก เนื่องจากโรคคอตีบนั้นได้คร่าชีวิตประชาชนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก และบาดทะยักเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักในสงคราม ในสภาวัณโรคนานาชาติ (International Tuberculosis Congress) เมื่อ ค.ศ. 1905 เบริงได้ประกาศว่าเขาค้นพบ "สารซึ่งนำมาจากไวรัสเชื้อวัณโรค" สารดังกล่าวที่เบริงตั้งชื่อว่า "T C" มีบทบาทสำคัญในการสร้าง "โบวิวัคซีน" ของศาสตราจารย์เบริง ซึ่งช่วยป้องกันวัณโรควัว

เบริงเสียชีวิตที่มาร์บวร์ค เฮ็สเซิน-นัสเซา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1917 ชื่อของท่านได้นำไปเพื่อรำลึกถึงตามสถาบันหรือบริษัทต่าง ๆ เช่น Dade Behring บริษัททำงานเกี่ยวกับการสินิจฉัยทางคลินิกขนาดใหญ่ของโลก, CSL Behring ผู้ผลิตสารชีวรักษาจากพลาสมา, Behringwerke AG ในมาร์บวร์ค, Novartis Behring และในรางวัลเอมีล ฟ็อน เบริง (Emil von Behring Prize) แห่งมหาวิทยาลัยมาร์บวร์คซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดด้านการแพทย์ในประเทศเยอรมนี

เหรียญรางวัลโนเบลของเบริงปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศในนครเจนีวา

ผลงานตีพิมพ์ แก้

  • Die Blutserumtherapie (1892)
  • Die Geschichte der Diphtherie (1893)
  • Bekämpfung der Infektionskrankheiten (1894)
  • Beiträge zur experimentellen Therapie (1906)

อ้างอิง แก้

  • Karoline Grundmann (3 December 2001). "Emil von Behring: The founder of serum therapy". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้