เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural identity) คือ (ความรู้สึกถึง) เอกลักษณ์ของกลุ่มหรือวัฒนธรรม หรือของปัจเจกบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือวัฒนธรรม เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงและทับซ้อนแต่มีความหมายต่างกันกับ "เอกลักษณ์ทางการเมือง" ความเป็นตัวตนหรือความรู้สึกว่าเป็นของกลุ่ม มันเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดของตัวบุคคลและมีความเกี่ยวข้องกับสัญชาติ, เชื้อชาติ, ศาสนา, สังคม ท้องที่หรือชนิดของกลุ่มสังคมใด ๆ ที่มีความโดดเด่นของตัวเองวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลแต่ยังรวมถึงกลุ่มที่เหมือนกันทางวัฒนธรรมของสมาชิกที่แบ่งปันอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมหรือการอบรมที่เหมือนกัน

พรรณาความ

แก้

มีคำถามสมัยใหม่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนถ่ายไปสู่คำถามเกี่ยวกับเอกลักษณ์ การศึกษาทางวัฒนธรรมและทฤษฎีทางสังคมจำนวนมากที่เจาะลึกในประเด็นคำถามเกี่ยวกับเอกลักษณ์ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การบ่งชี้ในรูปแบบใหม่ ๆ และด้วยการประติดประต่อตัวบ่งชี้เล็ก ๆ หลายชิ้นที่แตกออกจากสิ่งเดียวกันทำให้ช่วยให้เราพุ่งการกำหนดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไปที่: สถานที่ เพศ เชื้อชาติ ประวัติศาสตร์ การแสดงออกเกี่ยวกับการเป็นชายหรือหญิง ความเชื่อทางศาสนาและความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์

นักวิจารณ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมบางท่านโต้แย้งว่า การสงวนรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่อาศัยพื้นฐานแห่งความแตกต่างเป็นแรงกดดันให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคม และว่าคตินิยมสากล (Cosmopolitanism), ให้ความมีสำนักร่วมแก่บุคคลในการเป็นพลเมืองหนึ่งเดียวกันมากกว่า[1] แต่ก็ไม่เป็นไปในเชิงของการแตกแยกเสมอไป เมื่อพิจารณาถึงความเกี่ยวพันทางปฏิบัติในสังคมสากล รัฐอาจมีส่วนเป็นผู้สร้างการเชื่อมโยงที่ให้พื้นฐานกลาง ๆ และกำหนดวิธีเพื่อการบ่งชี้ที่สามารถผลัดเปลี่ยนไปมาระหว่างวัฒนธรรมที่ต่างกัน ตัวอย่างอาจเห็นได้จากการจัดระเบียบของโลกทั้งเก่าและใหม่ ในระเบียบของโลกเก่า รัฐในยุโรปต่างแบ่งปันและร่วมวัฒนธรรมระดับสูงที่เป็นภาวะเอกพันธุ์ที่เนื่องมาจากประวัติศาสตร์ที่มีรากมาจากที่เดีนวกันของ "การมีความสัมพันธ์เชิงรุนแรงที่เกิดบ่อยครั้ง และวัฒนธรรมเกรโกโรมันดั้งเดิม" (Brown 2001) บราวน์ได้ให้ข้อถกเถียงไว้ว่า การค้นคิดของโลกตะวันตกเกี่ยวกับ "รัฐชาติ" (nation-state) คือสิ่งพิสูจน์ถึงความความเป็นปัจจัยที่เย้ายวนและเป็นตัวหลอมรวมตัวสำคัญในหลายวัฒนธรรม [2]

บทบาทของอินเทอร์เน็ต

แก้

ในบริบททางวัฒนธรรมเทคโนโลยี ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและโลกเสมือนไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสองโลกที่แยกจากกันและแยกจากกันอาจจะเหมือนกันในบางจุด สำหรับคนรุ่นใหม่ในชีวิตดิจิทัลผสานเข้ากับชีวิตในบ้านของพวกเขาในฐานะองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของชีวิต ในการทำให้ชีวิตดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของขีวิตกระบวนการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม แต่เป็นเพราะเรื่องของอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นเองท่ามกลางการสำรวจ ความคิดของการเรียนรู้ที่ใช้งานของอินเทอร์เน็ต 'เมื่อคุณไม่รู้' การขอความช่วยเหลือในการสอน 'การเรียนรู้' โปรแกรมหรือเกมหรือการแสดงออกเป็นตัวอย่างที่อ้างถึงบ่อย ๆ ว่าทำไมอินเทอร์เน็ตถึงเป็นสถานที่ที่คนหนุ่มสาวใช้งานมากที่สุด

ดูเพิ่ม

แก้
ทั่วไป
โลกาภิวัตน์ (globalisation), คตินิยมสากล (Cosmopolitanism), การกำหนดความแนวคิดด้วยตนเอง (Self-concept), การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง (Self-determination), ความเป็นเสรีนิยม (liberalisation), demos
เอกลักษณ์
เอกลักษณ์ของสังคม (Social identity), ความห่วงใยในเอกลักษณ์ (identity concerns), เอกลักษณ์พหุคูณ (multiple identity ), เอกลักษณ์ทางเพศ (Gender identity)
วัฒนธรรม
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural diversity), สามัตถิยะระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural competence), อนุรักษนิยมทางวัฒนธรรม (cultural conservatism), การข้ามผ่านระหว่างวัฒนธรรม (Transculturation)
การเมือง
การเมืองเรื่องการย้ายถิ่น (Diaspora politics), การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ (Identity politics), Pan-nationalism, อิสรเสรีนิยม (libertarian), ลัทธิจารีตนิยม (conservationism)

บทความจากแหล่งอื่นและอ้างอิง

แก้
  1. The Limits of Nationalism by Chaim Gans. ISBN 978-0-521-00467-1 ISBN 0-521-00467-5
  2. C Brown (2001) Understanding International Relations. Hampshire, Palgrave

หนังสือและสิ่งพิมพ์

แก้

รายการอ่านเพิ่มเติม

แก้
  • Robyns, Clem (1995). "Defending the national identity". In Andreas Poltermann (Ed.), Literaturkanon, Medienereignis, Kultureller Text. Berlin: Erich Schmidt Verlag ISBN 3-503-03727-6.
  • Robyns, Clem (1994). "Translation and discursive identity". In Clem Robyns (Ed.), Translation and the Reproduction of Culture. Leuven: Cetra. Also in Poetics Today 15 (3), 405-428.
  • Anderson, Benedict (1991). Imagined Communities. London: Verso.
  • Gellner, Ernest (1983). Nations and Nationalism. Oxford: Basil Blackwell.
  • Bourdieu, Pierre (1980). "L'identité et la représentation". Actes de la recherche en sciences sociales 35, 63-70.
  • Gordon, David C. (1978). The French Language and National Identity (1930-1975). The Hague: Mouton.
  • de Certeau, Michel; Julia, Dominique; & Revel, Jacques (1975). Une politique de la langue: La Révolution française et les patois. Paris: Gallimard.
  • Balibar, Renée & Laporte, Dominique (1974). Le français national: Politique et pratique de la langue nationale sous la Révolution. Paris: Hachette.
  • Fishman, Joshua A. (1973). Language and Nationalism: Two Integrative Essays. Rowley, MA: Newbury House.
  • (full-text IDENTITIES: how Governed, Who Pays? เก็บถาวร 2023-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  • Woolf, Stuart. "Europe and the Nation-State". EUI Working Papers in History 91/11. Florence: European University Institute.
  • Stewart, Edward C.; Bennet, Milton J. (1991). American Cultural Patterns. Intercultural Press, Boston, MA.
  • Evangelista, M. (2003). "Culture, Identity, and Conflict: The Influence of Gender," in Conflict and Reconstruction in Multiethnic Societies, Washington, D.C.: The National Academies Press [1]