เห็ดทะเล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Cnidaria
ชั้น: Anthozoa
ชั้นย่อย: Hexacorallia
อันดับ: Corallimorpharia
Stephenson, 1937[1]
วงศ์[2]
ชื่อพ้อง
  • Coralliomorpharia

เห็ดทะเล (อังกฤษ: Mushroom anemones) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรียที่อยู่ในอันดับ Corallimorpharia พบอาศัยอยูในแนวปะการังน้ำตื้นของเขตร้อนทั่วโลก มีรูปรางคล้ายดอกไม้ทะเล (Actiniaria) มาก มีแผนปากกลม โดยแผ่นปากจะมีช่องปากอยู่ตรงกลาง และมีฐานสําหรับยึดเกาะ เห็ดทะเลบางชนิดจะมีหนวดที่รอบปากที่สั้นกวาดอกไมทะเลหรือบางชนิดก็ไมมีหนวดรอบปากหรือไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ เห็ดทะเลถูกแยกออกจากดอกไม้ทะเล เพราะเห็ดทะเลมีโครงสรางทางสรีรวิทยาของรางกายคล้ายกับปะการังโครงแข็ง (Scleractinia) มากกวาดอกไม้ทะเล แตอยางไรก็ตามเห็ดทะเลไมสามารถสร้างโครงสร้างของรางกายที่เปนหินปูนไดเหมือนกับปะการังโครงแข็ง ดังนั้นนักอนุกรมวิธานจึงแยกเห็ดทะเลไว้ในอันดับ Corallimorpharia

เห็ดทะเลอาศัยและเจริญเติบโตบนก้อนหินหรือซากปะการังที่ตายแล้ว เป็นการดำรงชีวิตอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย หรืออาจมีการเคลื่อนที่เล็กน้อยเพื่อความ อยู่รอดและการขยายพันธุ์ ในเนื้อเยื่อตามร่างกายของเห็ดทะเลจะมีสาหร่ายเซลล์เดียว คือ ซูแซนทาลี อาศัยอยู่และเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพา เห็ดทะเลจะได้รับสารอาหารจากการสังเคราะห์แสงของซูแซนทาลีเป็นหลัก บางครั้งพบว่าซูแซนทาลีที่เจริญเติบโตมีจำนวนมากเกินไปเห็ดทะเลก็สามารถกรองกินซูแซนทาลีได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น นอกจากนี้เห็ดทะเลบางชนิดยังสามารถจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกินเป็นอาหารเช่น ลูกกุ้ง, ลูกปลา ซึ่งเป็นการกินอาหารอาหารของเห็ดทะเลอีกวิธีหนึ่ง

เห็ดทะเลมีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้ดีมาก ส่วนมากที่พบคือการแตกหน่อ เห็ดทะเลจะใช้ฐานเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากตำแหน่งเดิมแต่จะทิ้งเนื้อเยื้อส่วนหนึ่งไว้เล็กน้อย เนื้อเยื่อเหล่านี้จะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นเห็ดทะเลตัวใหม่ได้ พบว่าเห็ดทะเลบางชนิดที่มีความสมบูรณ์สามารถแตกหน่อได้ถึง 5–6 หน่อในระยะเวลา 1 ปี อีกวิธีหนึ่งที่พบเห็นทั่วไป คือ เห็ดทะเลจะปล่อยตัวเองออกจากวัสดุยึดเกาะ และล่องลอยไปกับกระแสน้ำเมื่อไปตกในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เห็ดทะเลเหล่านั้นจะสามารถเจริญเติบโตต่อไป

เห็ดทะเลมีสีสันสวยงาม และรูปร่างแปลกตา กอรปกับไม่ได้เป็นสัตว์ที่อยู่ในรายชื่อพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า จึงนิยมในการเก็บจากธรรมชาติเพื่อมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาทะเล ซึ่งปัจจุบันทางกรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์เห็ดทะเลเป็นที่สำเร็จได้แล้ว[3]

การจำแนก แก้

จากเว็บไซต์เวิลด์รีจิสเตอร์ออฟมารีนสปีชีส์แบ่งไว้ทั้งหมด 46 ชนิด ครอบคลุม 10 สกุล ใน 4 วงศ์:

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Corallimorpharia". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2011-12-15.
  2. WoRMS (2011). "Corallimorpharia". 1362. สืบค้นเมื่อ 2011-12-15.
  3. สหภพ ดอกแก้ว (February 5, 2005). "เห็ดทะเล สัตว์ทะลแสนสวยประดับตู้ปลา". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-14. สืบค้นเมื่อ 2016-07-30.
  4. O. Ocaña; J.C. den Hartog; A. Brito; A.R. Bos (2010). "On Pseudocorynactis species and another related genus from the Indo-Pacific (Anthozoa: Corallimorphidae)". Revista de la Academia Canarias Ciencia. 21 (3–4): 9–34.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้