เหรียญ 10 สตางค์ เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย มีการผลิตมาใช้งานหลายรุ่นหลายสมัย

10 สตางค์
ประเทศไทย
มูลค่า0.10 บาท
น้ำหนัก0.8[1][2] g
เส้นผ่านศูนย์กลาง17.5 mm
ขอบเรียบ
ส่วนประกอบอะลูมิเนียม
2530 - 2550: 97.5% Al, 2.5% Mg
2551 - ปัจจุบัน: 99% Al
ปีที่ผลิตเหรียญ2451 – ปัจจุบัน
หมายเลขบัญชี-
ด้านหน้า
การออกแบบพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560
ด้านหลัง
การออกแบบอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560

เหรียญ 10 สตางค์รุ่นปัจจุบัน (พ.ศ. 2530 — พ.ศ. 2560) แก้

เหรียญ 10 สตางค์ที่ผลิตใช้งานในปัจจุบัน ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ด้านหลังเป็นอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ออกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 เหรียญนี้ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2539 รูปแบบของเหรียญ 10 สตางค์ที่ผลิต เปลี่ยนเป็นรูปแบบเหรียญที่ระลึก พระราชพิธีกาญจนาภิเษก จึงไม่มีการผลิตเหรียญในรูปแบบปกติ

ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ประกาศใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่เพื่อปรับต้นทุนการผลิตและทำให้ยากต่อการปลอมแปลง โดยเหรียญ 10 สตางค์มีการปรับส่วนประกอบ จากอะลูมิเนียม 97% เป็นอะลูมิเนียม 99% โดยที่มีขนาดและน้ำหนักเหรียญคงเดิม ส่วนลวดลายมีเปลี่ยนภาพด้านหน้าเหรียญเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุใกล้เคียงปัจจุบันมากขึ้น[3] โดยเริ่มปรากฏในเหรียญที่ระบุ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

ในปี พ.ศ. 2561 รูปแบบของเหรียญ 10 สตางค์ที่ผลิต เปลี่ยนเป็นรูปแบบเหรียญที่ระลึก มหาวชิราลงกรณ จึงไม่มีการผลิตเหรียญในรูปแบบปกติ

เหรียญ 10 สตางค์ในอดีต แก้

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2530-2560 แก้

ด้านหน้า
ด้านหลัง

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราคา 10 สตางค์ รุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของ พระเจดีย์วัดพระธาตุเชิงชุม ประกาศออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2530

ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงลวดลายของเหรียญ และเปลี่ยนโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญ 10 สตางค์ เป็นโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล น้ำหนักของเหรียญลดลงเป็น 3.00 กรัม จากเดิม 3.40 กรัม โดยที่ยังมีขนาดความหนาและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะเริ่มแรกไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้