เหตุรถไฟชนกันที่ตลิ่งชัน พ.ศ. 2522

เหตุการณ์รถไฟชนกันที่ตลิ่งชัน พ.ศ. 2522 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าตรู่ ราว 06.20 น. ของวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522[1] เมื่อขบวนรถไฟเที่ยวแรก ขบวนที่ 165 เส้นทาง ราชบุรี-ธนบุรี (ปัจจุบัน คือ รถชานเมือง ขบวน 352) ซึ่งมีผู้โดยสารแน่นทั้งขบวน เดินทางมาถึงทางแยกบริเวณสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ได้มีขบวนรถสินค้าที่ 729 เส้นทาง บางซื่อ-ปาดังเบซาร์ วิ่งฝ่าสัญญาณไฟเข้าไปชนรถไฟขบวน 165 กลางขบวน[1] ทำให้รถไฟทั้งสองขบวนตกราง มีผู้เสียชีวิต 51 คน บาดเจ็บ 138 คน ผู้ประสบภัยส่วนมากเป็นนักเรียน และพ่อค้าที่นำสินค้ามาขายที่ตลาด ข้างสถานีรถไฟธนบุรี ค่าเสียหายของการรถไฟฯ 2,038,235 บาท[2] จากการสอบสวนพบว่า อุบัติเหตุเกิดจากความผิดพลาดของพนักงานขับรถสินค้า เนื่องจากทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน และพนักงานผู้ควบคุมสัญญาณหางปลาที่สถานีรถไฟ ตามหนังสือของกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2522 แจ้งรายละเอียดว่า "ตามหลักแล้ว รถไฟที่จะเข้าเทียบชานชาลา ต้องให้นายสถานีให้สัญญาณ เพื่อให้รถเข้าสถานีจอดไม่ล้ำเส้นปลอดภัย แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น มาจาก รถขบวนสินค้าที่ 729 เข้าชานชาลา โดยไม่หยุดที่เส้นปลอดภัย ประจวบกับผู้ให้สัญญาณได้ให้รถโดยสาร 176 เข้าสู่สถานี ในขณะที่รถขบวนสินค้ายังวิ่งอยู่จึงเป็นเหตุให้รถไฟชนกัน"[1]

รถไฟชนกันที่สถานีตลิ่งชัน พ.ศ. 2522
ชุมทางตลิ่งชัน (พ.ศ. 2567)
เหตุรถไฟชนกันที่ตลิ่งชัน พ.ศ. 2522ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
เหตุรถไฟชนกันที่ตลิ่งชัน พ.ศ. 2522
รายละเอียด
วันที่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522
สถานที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน
พิกัด13°47′21″N 100°26′21″E / 13.7893°N 100.4393°E / 13.7893; 100.4393
ประเทศไทย
สายสายใต้
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
บริการขบวนที่ 165 เส้นทาง ราชบุรี-ธนบุรี (ปัจจุบัน คือ รถชานเมือง ขบวน 352) และ ขบวนรถสินค้า เส้นทาง บางซื่อ-ปาดังเบซาร์
ประเภทเหตุการณ์รถไฟชนกัน
จำนวน
รถไฟ2
เสียชีวิต51
บาดเจ็บ138
Route map
บางบำหรุ
ชุมทางตลิ่นชัน (จุดเกิดเหตุ)
บ้านฉิมพลี

ในส่วนของคดีอาญา ได้มีการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง 4 คน ประกอบด้วย พนักงานหอสัญญาณ ผู้ช่วยนายสถานีที่ทำหน้าที่นายสถานีในวันนั้น พนักงานขับรถและช่างเครื่อง รถไฟสินค้าขบวนสินค้าที่ 729[1] ในเวลาต่อมา 28 มกราคม 2534 ศาลทหารกรุงเทพ ได้อ่านคำพิพากษา สั่งจำคุก พนักงานหอสัญญาณ และพนักงานขับรถไฟสินค้า เป็นเวลา 4 ปี ในข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส ขณะที่ ศาลได้ยกฟ้อง ผู้ช่วยนายสถานีที่ทำหน้าที่นายสถานีในวันนั้น และช่างเครื่องรถไฟโดยสาร[1]

เหตุการณ์รถไฟชนกันครั้งนี้ ถือเป็นอุบัติเหตุทางรถไฟที่ร้ายแรงอีกครั้งหนึ่งของไทย[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "3 นาทีคดีดัง : รถไฟชนรถไฟ คร่า 51 ศพ (คลิป)". www.thairath.co.th. 2020-10-18.
  2. กระทู้ถามที่ ๑๓๖ ร. เรื่อง รถไฟตกราง เก็บถาวร 2014-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนพิเศษที่ 166 ง วันที่ 1 ตุลาคม 2532
  3. การรถไฟแห่งประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, 2549, ISBN 974-323-889-1