"เว็นไอนีดยู" (อังกฤษ: When I Need You) คือบทเพลงอันเป็นผลงานการประพันธ์ของอัลเบิร์ต แฮมมอนด์ และคาโรล์ เบเยอร์ เซเยอร์ เพลงนี้ได้รับการขับร้องครั้งแรกโดยอัลเบิร์ดในปี พ.ศ. 2519 ในอัลบั้ม เว็นไอนีดยู อัลบั้มของเขาเอง ต่อมาในฉบับของลีโอ เซเยอร์ อำนวยการสร้างโดยริชาร์ด เพอร์รี เพลงนี้ได้ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 1 ในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักรนาน 2 สัปดาห์ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ภายหลังจากการออกซิงเกิลก่อนหน้านี้ 3 เพลงซึ่งขึ้นอันดับสูงสุดได้เพียงอันดับที่ 2 นอกจากนี้ยังขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ในอันดับที่ 1 เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2520[1] และชาร์ตเพลงร่วมสมัยของผู้ใหญ่ในอันดับที่ 1 เช่นกัน[2] เขาร้องเพลงนี้ในการแสดงครั้งที่ 2 ของเขาในรายการ เดอะมัปเปดโชว์ ฤดูกาลที่ 3

"เว็นไอนีดยู"
ภาพปกซิงเกิล "เว็นไอนีดยู"
เพลงโดยลีโอ เซเยอร์
จากอัลบั้มเอ็นเลสส์ไฟลต์
ด้านบี"ไอธิงค์วีฟอลอินเลิฟทูฟาสต์"
วางจำหน่ายพ.ศ. 2520
แนวเพลงป็อป
ความยาว4:09
ค่ายเพลงวอเนอร์มิวสิก
ผู้ประพันธ์เพลงอัลเบิร์ต แฮมมอนด์, คาโรล์ เบเยอร์ เซเยอร์
โปรดิวเซอร์ริชาร์ด เพอร์รี
"เว็นไอนีดยู"
ไฟล์:1997 - WhenINeedU.jpg
ภาพปกซิงเกิล "เว็นไอนีดยู"
เพลงโดยเซลีน ดิออน
จากอัลบั้มเล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ
วางจำหน่าย7 กันยายน พ.ศ. 2541
บันทึกเสียงสตูดิโอชาร์ตเมเกอร์, สตูดิโอพาราเมาต์
แนวเพลงป็อป
ความยาว4:12
ค่ายเพลงโคลัมเบีย อีพิก
ผู้ประพันธ์เพลงอัลเบิร์ต แฮมมอนด์, คาโรล์ เบเยอร์ เซเยอร์
โปรดิวเซอร์เดวิด ฟอสเตอร์
"เว็นไอนีดยู"
ภาพปกซิงเกิล "เว็นไอนีดยู"
เพลงโดยคลิฟฟ์ ริชาร์ด
จากอัลบั้มเลิฟ... ดิอัลบั้ม
วางจำหน่าย29 ตุลาคม พ.ศ. 2550
บันทึกเสียงซาวด์คิทเชน, สตูดิโอส์ซาวด์เฮาส์แอนด์บลูเวฟ
แนวเพลงป็อป
ความยาว4:14
ค่ายเพลงอีเอ็มไอ
ผู้ประพันธ์เพลงอัลเบิร์ต แฮมมอนด์, คาโรล์ เบเยอร์ เซเยอร์
โปรดิวเซอร์ไมเคิล โอมาร์เตียน

นอกจากนี้เพลงนี้ยังได้มีศิลปินมาขับร้องใหม่อีกหลายคน อาทิ เซลีน ดิออน, เพอร์รี โคโม, ร็อด สจ๊วต, แอลฟา บลอนดี, บราเธอร์ฮูดออฟแมน, จูลีโอ อิเกลเซียส, คลิฟฟ์ ริชาร์ด และ เคลย์ ไอเคน

ฉบับเซลีน ดิออน

แก้

"เว็นไอนีดยู" คือซิงเกิลวิทยุของเซลีน ดิออน จากอัลบั้ม เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2541 ในประเทศบราซิล[3]

หลังจากสิ้นสุดการแสดง คอนเสิร์ตทัวร์ฟอลลิงอินทูยู ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 เซลีนเริ่มต้นการบันทึกเสียงอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มใหม่ ซึ่งเซลีน และเรอเน สามีและผู้จัดการส่วนตัวของเธอต้องการนำเพลงเก่ามาขับร้องใหม่บางเพลง เดวิด ฟอสเตอร์ จึงเสนอเพลงยอดนิยมของลีโอ เซเยอร์ "เว็นไอนีดยู" เพลงนี้บันทึกเสียงที่สตูดิโอส์พาราเมาต์ และสตูดิโอส์ชาร์ตเมเกอร์ โดยเดวิดเป็นผู้อำนวยการสร้างเพลงนี้ด้วยตนเอง เพื่อบรรจุลงในอัลบั้ม เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยเซลีนขับร้องเพลงรี้ระหว่างออกรายการโทรทัศน์พิเศษที่ประเทศแคนาดา Let's Talk About Love avec Julie Snyder ในปลายปี พ.ศ. 2540

ภายหลังความสำเร็จในเพลง "มายฮาร์ตวิลโกออน" และ "อิมมอร์ทอลิตี" ทำให้โซนี มิวสิก ตัดสินใจเผยแพร่เพลง "เว็นไอนีดยู" ในรูปแบบซิงเกิลวิทยุในประเทศบราซิล ช่วงปลายปี พ.ศ. 2541 ซึ่ง 2 ซิงเกิลก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในบราซิล อย่างไรก็ดี เพลงนี้เผยแพร่โดยปราศจากมิวสิกวิดีโอ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จดัง 2 ซิงเกิลแรก

ผู้ประพันธ์เพลง "เว็นไอนีดยู" ร่วมงานกับเซลีนในอีกหลายเพลง อัลเบิร์ต แฮมมอนด์ ประพันธ์เพลง "จัสวอล์กอะเวย์" ซึ่งบรรจุในอัลบั้ม เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ ในปี พ.ศ. 2536 และคาโรล์ เบเยอร์ เซเยอร์ ประพันธ์เพลง "เดอะเพรเยอร์" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอัลบั้ม ดีสอาร์สเปเชียลไทม์ส ในปี พ.ศ. 2541

รูปแบบและรายชื่อเพลง

แก้

ซิงเกิลวิทยุ 1 เพลง (บราซิล)

  1. "เว็นไอนีดยู" – 4:12

ฉบับคลิฟฟ์ ริชาร์ด

แก้

ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 คลิฟฟ์ ริชาร์ด ออกเผยแพร่เพลง "เว็นไอนีดยู" และขึ้นชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักรในอันดับสูงสุดที่ 38[4] และเป็น 1 ใน 5 เพลงที่คลิฟฟ์นำมาขับร้องใหม่ในอัลบั้ม เลิฟ... ดิอัลบั้ม

รูปแบบและรายชื่อเพลง

แก้
  1. "เว็นไอนีดยู"
  2. "มายพรีตตีวัน"
  3. "เนเวอร์เล็ตโก"

อ้างอิง

แก้
  1. บรอนสัน, เฟรด (2003). The Billboard Book of #1 Hits, 5th Edition (Billboard Publications)
  2. Whitburn, Joel (1996). The Billboard Book of Top 40 Hits, 6th Edition (Billboard Publications)
  3. Glatzer, Jenna (2005). Céline Dion: For Keeps. Andrews McMeel Publishing. ISBN 0-7407-5559-5.
  4. "The Official Clive Richards Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-08. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
ก่อนหน้า เว็นไอนีดยู ถัดไป
"ดอนต์ครายฟอร์มีอาร์เจนตินา" โดย จูลี โควิงตัน    
ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ซิงเกิลอันดับหนึ่ง
(ฉบับลีโอ เซเยอร์)

(19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520)
  "Chanson D'Amour" โดย เดอะแมนแฮตตันทรานซ์เฟอร์
"โฮเต็ลแคลิฟอร์เนีย" โดย ดิอีเกิลส์    
ชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ซิงเกิลอันดับหนึ่ง
(ฉบับลีโอ เซเยอร์)

(14 พฤษภาคม พ.ศ. 2520)
  "เซอร์ดุก" โดย สตีวี วันเดอร์