เลมอนเนด (อัลบั้มบียอนเซ่)
เลมอนเนด (อังกฤษ: Lemonade) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 6 ของนักร้องชาวอเมริกัน บียอนเซ่ เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2016 โดยพาร์กวูดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และโคลัมเบียเรเคิดส์ พร้อมด้วยภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน ความยาว 65 นาที เป็นวิชวลอัลบั้มชุดที่สองของบียอนเซ่ ต่อจากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 ในชื่อของเธอเอง (2013) และเป็นคอนเซปต์อัลบั้มที่มีเพลงประกอบเกี่ยวกับการเดินทางทางอารมณ์ของบียอนเซ่หลังจากการนอกใจของสามีในบริบทของรุ่นและเชื้อชาติ โดยพื้นฐานแล้วเป็นอัลบั้มแนวอาร์แอนด์บีและอาร์ตป็อปครอบคลุมแนว เพลงที่หลากหลาย ได้แก่ เร็กเก บลูส์ ร็อก ฮิปฮอป โซล ฟังก์ อเมริกานา คันทรี กอสเปล อิเล็กทรอนิกส์ และแทร็ป มีนักร้องรับเชิญคือเจมส์ เบลค, เคนดริก ลามาร์, เดอะวีกเอนด์ และแจ็ก ไวต์ และมีองค์ประกอบแซมพลิงและการสอดแทรกของเพลงฮิปฮอปและเพลงร็อกจำนวนหลายเพลง[3]
เลมอนเนด | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 23 เมษายน ค.ศ. 2016 | |||
บันทึกเสียง | 2014–2015 | |||
สตูดิโอ |
| |||
แนวเพลง | ||||
ความยาว | 45:45 | |||
ค่ายเพลง | ||||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับอัลบั้มของบียอนเซ่ | ||||
| ||||
ซิงเกิลจากเลมอนเนด | ||||
|
เลมอนเนดได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากทั่วโลก และเป็นสตูดิโออัลบั้มที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในอาชีพของบียอนเซ่ อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มอันดับต้น ๆ ของนักวิจารณ์เพลงในปี 2016[4] และได้รับเลือกให้เป็นอัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุค ค.ศ. 2010 จากสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แอสโซซิเอเต็ดเพรส[5] ในปี ค.ศ. 2020 อัลบั้มนี้อยู่ในอันดับที่ 32 ในรายการ 500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของโรลลิงสโตน ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีจำนวน 9 รางวัล ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีประจำปี ครั้งที่ 59 (2017) ได้แก่ อัลบั้มแห่งปี บันทึกเสียงแห่งปี และเพลงแห่งปี ได้รับรางวัลอัลบั้มเออร์เบินร่วมสมัยยอดเยี่ยมและมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม วิชวลของอัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 11 รายการในงานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ประจำปี ค.ศ. 2016 ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับรางวัลถึง 8 รายการ รวมถึงรางวัล Breakthrough Long Form Video และ Video of the Year ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการเสนอชื่อสี่ครั้งจากงานรางวัลไพรม์ไทม์เอมมี ครั้งที่ 68 อัลบั้มได้รับรางวัลพีบอดี สาขาความบันเทิง
เลมอนเนดติดอันดับชาร์ตในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงบิลบอร์ด 200 ในสหรัฐ ซึ่งทำรายได้ 653,000 พร้อมกับยูนิตเทียบเท่าอัลบั้ม รวมถึง 485,000 ชุดในสัปดาห์แรกของการขาย ได้รับการรับรองระดับทริปเปิลแพลทินัมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)[6] ในตอนท้ายของปี ค.ศ. 2016 เลมอนเนดขายได้มากกว่า 1.5 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกาทำให้เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอันดับสามของปีในสหรัฐอเมริกา[7] และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในปี ค.ศ. 2016 อ้างอิงจากสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (IFPI) ด้วยยอดขาย 2.5 ล้านชุดทั่วโลก[8] อัลบั้มนี้ได้รับการประชาสัมพันธ์ทั้งหมดห้าซิงเกิล : "Formation" ซึ่งเป็นเพลงฮิตติดสิบอันดับของบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐ "Sorry" "Hold Up" "Freedom" และ "All Night" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 บียอนเซ่เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตเดอะฟอร์เมชันเวิลด์ทัวร์เพื่อโปรโมตอัลบั้ม ซึ่งทุกสนามเป็นการทัวร์สนามกีฬาที่ไปเยือนในอเมริกาเหนือและยุโรป
รายการเพลง
แก้ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | โปรดิวเซอร์ | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Pray You Catch Me" |
|
| 3:16 |
2. | "Hold Up" |
|
| 3:41 |
3. | "Don't Hurt Yourself" (featuring Jack White) |
|
| 3:53 |
4. | "Sorry" |
| 3:52 | |
5. | "6 Inch" (featuring the Weeknd) |
|
| 4:20 |
6. | "Daddy Lessons" |
| 4:48 | |
7. | "Love Drought" |
|
| 3:57 |
8. | "Sandcastles" |
|
| 3:02 |
9. | "Forward" (featuring James Blake) |
|
| 1:19 |
10. | "Freedom" (featuring Kendrick Lamar) |
|
| 4:49 |
11. | "All Night" |
|
| 5:22 |
12. | "Formation" |
|
| 3:26 |
ความยาวทั้งหมด: | 45:45 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ยาว |
---|---|---|---|
13. | "Sorry" (original demo) |
| 3:24 |
ความยาวทั้งหมด: | 49:06 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ผู้กำกับ | ยาว |
---|---|---|---|
14. | "Formation" (choreography version) | Melina Matsoukas | 4:22 |
15. | "Lemonade Film" | 65:51 | |
ความยาวทั้งหมด: | 119:26 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "Lemonade Film" | 65:22 |
- หมายเหตุ
- ^[a] หมายถึงผู้ผลิตร่วม
- ^[b] หมายถึงผู้ผลิตเพิ่มเติม
- ^[c] หมายถึงการเพิ่มผู้กำกับภาพยนตร์
อ้างอิง
แก้- ↑ Wilson, Carl (April 25, 2016). "Beyoncé's "Lemonade" is incredible as a visual album. But how is it as just music?". Slate. สืบค้นเมื่อ October 2, 2016.
...contemporary R&B album
- ↑ Hogan, Marc. "Exit Music: How Radiohead's OK Computer Destroyed the Art-Pop Album in Order to Save It". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ May 9, 2020.
There were still great art-pop albums, but, increasingly, they weren’t necessarily rock albums. Across the last 20 years, monumental rap, R&B, and pop records like D’Angelo’s Voodoo, Kanye West’s My Beautiful Dark Twisted Fantasy, and Beyoncé’s Lemonade have filled the void of full-length statements with both artistic seriousness and mass appeal that was formerly largely occupied by guitar bands
- ↑ Drake, David (April 26, 2016). "Beyoncé's 'Lemonade': A Guide to Samples and Interpolations". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2016. สืบค้นเมื่อ June 25, 2016.
- ↑ Savage, Mark (2016-12-22). "Beyonce tops 2016 album 'poll of polls'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
- ↑ "'Lemonade' by Beyoncé is named the AP's album of the decade". AP NEWS. 2019-12-12. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
- ↑ "Gold & Platinum". RIAA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-07-04.
- ↑ "Drake's 'Views' Is Nielsen Music's Top Album of 2016 in the U.S." Billboard. January 5, 2017. สืบค้นเมื่อ June 17, 2019.
- ↑ "Global Music Report 2017 (page 9)" (PDF). IFPI. April 25, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 25, 2017.
- ↑ Lemonade (booklet). Beyoncé. Parkwood. 2016.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 "Lemonade (credits)". Beyonce.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2023-03-04.
- ↑ 11.0 11.1 "Lemonade by Beyoncé". iTunes Store. สืบค้นเมื่อ November 30, 2020.
- ↑ "Lemonade by Beyoncé". Tidal. สืบค้นเมื่อ November 30, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Lemonade ที่ดิสคอกส์ (รายการวางจำหน่าย)
- Beyoncé's 'Lemonade' and Information Resources, a Resource Guide from the Maryland Institute College of Art
- Beyoncé: Lemonade ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส