เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชุดเรือนไทยหมู่จำนวน 5 หลัง ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม 3 หรือ เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่เรียกกันสั้นๆในชื่อ เรือนไทยจุฬาฯ เป็นชุดเรือนไทยหมู่จำนวน 5 หลัง[1] ออกแบบโดยอาจารย์ เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมไทย) และ รศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 ในโอกาสครบรอบ 70 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเป็นองค์ประธานในพิธียกเสาเอกเรือนไทยเมื่อวันที่ 7 เมษายน ใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จเพียงปีเดียว

เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Ruen Thai Chulalongkorn University
ศาลากลางน้ำ ส่วนของหอกลางที่ยื่นออกมาจากตัวเรือนหมู่หลัก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทเรือนไทย
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมเครื่องสับภาคกลาง
เมืองแขวงวังใหม่, เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย ไทย
พิกัด13°44′31″N 100°31′40″E / 13.741905°N 100.527904°E / 13.741905; 100.527904พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′31″N 100°31′40″E / 13.741905°N 100.527904°E / 13.741905; 100.527904
เริ่มสร้างพ.ศ. 2530 (37 ปี )
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างไม้เต็งรัง
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกรศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี
อ.เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี
เว็บไซต์

เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งหมดก่อสร้างขึ้นด้วยไม้เต็งรัง ใช้วิธีการการเข้าไม้ตามแบบโบราณทุกประการ ไม่มีการใช้การยึดด้วยตะปู แต่ใช้วิธียึดด้วยแท่งไม้ ปัจจุบันเนื่องจากป้องกันความเสียหาย และเพื่อต้องการรักษาสภาพเรือนไทยให้นานที่สุด จึงได้มีการเปลี่ยนไปใช้เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก แทนการใช้เสาไม้ ในส่วนของเรือน มีการใช้ระบบการวางพื้นห้อง 2 รูปแบบ คือ ระบบตงและคาน และระบบรอดกับรา

ผังพื้นของเรือนไทยนี้ มีการจัดวางบันไดทางเข้าออกเป็น 3 ทาง และวางอาคารให้รวมเป็นหมู่ตามหลักนิยม โดยเรือนประธานทำหลังคาแฝด หน้าจั่วลายแสงอาทิตย์ ต่างจากเรือนอื่นๆ ซึ่งมีจั่วใบปรือ จั่วลูกฟักหน้าพรหม เป็นต้น[3] ส่วนอาคารสำนักงาน หรือเทียบกับเรือนครัว ได้แยกออกจากเรือนหมู่ออกไป เช่นเดียวกับ ศาลากลางน้ำหรือ หอกลาง ซึ่งเป็นเรือนเครื่องสับ แต่ตกแต่งด้วยเครื่องลำยอง หน้าบันประดับตราพระเกี้ยวปิดทอง ที่สร้างแยกออกมาจากเรือนหมู่ ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการรับลมได้ดีกว่า ในชั้นใต้ถุน มีการขุดระดับดินเดิมลงไป เพื่อเพิ่มเนื้อที่ใช้สอยด้านล่าง ซึ่งไม่ทำลายระบบสัดส่วนเดิมของอาคาร ที่ไม่ต้องยกอาคารให้สูงขึ้น จนเกิดความชะลูด

ปัจจุบัน ทุกวันศุกร์แรกของเดือนจะมีการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ ที่มีชื่อเรียกว่า "จุฬาวาทิต" ณ เรือนไทยแห่งนี้[1]

องค์ประกอบเรือนไทยจุฬา แก้

  • เรือนประธาน เป็นห้องเก็บเครื่องดนตรี ปี่พาทดึกกำบรรพ์
  • เรือนนิทรรศการ/หอขวาง
  • เรือนห้องแสดงงานศิลปกรรมพื้นบ้าน
  • หอนั่ง/หอนก สำหรับนั่งพักผ่อน
  • หอกลาง หรือ ศาลากลางน้ำ
  • ห้องน้ำจำนวน 2 ห้อง
  • เรือนสำนักงาน/เรือนครัว

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม ๓ (เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), สำนักบริหารระบบกายภาพ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .สืบค้นเมื่อ 26/02/2560
  2. เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .สืบค้นเมื่อ 26/02/2560
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง, เอกสารคำสอน รายวิชา 2501296 มรดกสถาปัตยกรรมไทย, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้าที่ 70 .สืบค้นเมื่อ 28/02/2560