เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (อังกฤษ: Pleurisy) เป็นการอักเสบชนิดหนึ่งของโพรงเยื่อหุ้มปอด โดยเกิดการอักเสบบริเวณรอบๆปอด[1] อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ทั้งนี้ กรณีที่พบมากที่สุดคือการติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากปอดไปยังโพรงเยื่อหุ้มปอด[2] โดยเยื่อหุ้มปอดทั้งสองข้างที่มีการอักเสบ จะเสียดสีกันทุกครั้งที่ปอดขยายตัวจากการหายใจเข้า[3] ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณหน้าอกในขณะที่หายใจเข้า[4][5]
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ | |
---|---|
ภาพซ้าย(คนปกติ) และภาพขวา(ผู้ป่วย) แสดงตำแหน่งของปอด, ท่อหายใจ, เยื่อหุ้มปอด และ กะบังลม | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | J90, R09.1 |
ICD-9 | 511 |
DiseasesDB | 29361 |
MedlinePlus | 001371 |
MeSH | D010998 |
อาการ
แก้อาการของผู้ป่วยอาการนี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยมีอาการเจ็บปวดเหมือนถูกทิ่มแทงภายในบริเวณหน้าอกด้านซ้ายขณะหายใจ [6] และจะยิ่งเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยไอ, จาม, หัวเราะ หรือ หายใจลึกๆ อาการเจ็บอาจเกิดขึ้นที่จุดๆเดียว หรืออาจแพร่ไปยังบริเวณไหล่หรือหลัง[7] ในบางครั้ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดแบบคงตัวบริเวณหน้าอกแทนการเจ็บเป็นครั้งๆ [8]
จากสาเหตุข้างต้นแล้ว อาการเจ็บหน้าอกบริเวณปอด อาจมีอาการอื่นร่วมได้ดังนี้:
- ไอแห้ง
- มีไข้ และ รู้สึกหนาวเย็น
- หายใจแบบลึกๆ หรือตื้นๆ
- หายใจเร็วกว่าปกติ
- ชีพจรเต้นเร็ว
- เจ็บคอ จากอาการเจ็บและบวมบริเวณรอยต่อ
- หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว
อ้างอิง
แก้- ↑ Cedars-Sinai: Pleurisy.
- ↑ "The Merck Manual Home Health Handbook: Viral Pleuritis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
- ↑ "Wellmont Health System: Pleurisy (pleuritis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-18. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
- ↑ Marshall Cavendish Corporation. Encyclopedia of Health. Vol. 1-18. New York: Marshall Cavendish, 2010, Vol. 13, P. 831.
- ↑ Light, Richard W., and Y. C. Gary Lee. Textbook of Pleural Diseases. London: Arnold, 2003.
- ↑ "The Lung Center: Understanding Pleurisy" (PDF). An online information portal for the community. The Lung Center, New Deli, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-01. สืบค้นเมื่อ 2013-06-22.
- ↑ "Beth Walsh, MA. Pleurisy (pleuritis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-09. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
- ↑ Ferri, Fred F. Ferri's Clinical Advisor 2012. Philadelphia, PA: Elsevier Mosby, 2012, P. 790.