เยื่อพรหมจารี (อังกฤษ: hymen) หมายถึง แผ่นเยื่อเมือก (อังกฤษ: mucous membrane) อันกำบังทางเข้าช่องคลอดของสตรีอยู่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโยนี (อังกฤษ: vulva)[1][2]

เยื่อพรหมจารี
อวัยวะเพศหญิงซึ่งแคมเล็กเปิดออก
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินhymen vaginae
MeSHD006924
TA98A09.1.04.008
TA23530
FMA20005
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เยื่อพรหมจารีอาจฉีกขาดเป็นครั้งแรกในการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งอาจทำให้เลือดออกชั่วคราวหรือรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่การฉีกขาดและมีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล[3][4] เยื่อพรหมจารียังสามารถยืดหรือฉีกขาดเป็นผลมาจากพฤติกรรมอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การฉีกขาดบาดเจ็บจากการตรวจสุขภาพ การสำเร็จความใคร่ หรือการออกกำลังกาย ด้วยเหตุผลเหล่านี้เยื่อพรหมจารีจึงไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ของความเป็นพรหมจารี[5][6] แม้ยังคงมีความเชื่อเช่นนั้นในบางวัฒนธรรม เยื่อพรหมจารีจะไม่งอกใหม่หลังจากฉีกขาด[7] แต่สามารถผ่าตัดตกแต่งเยื่อพรหมจรรย์ได้

เยื่อพรหมจารีแบบต่าง ๆ (พื้นที่สีเข้มคือปากช่องคลอด)

อ้างอิง

แก้
  1. Emans, S. Jean. "Physical Examination of the Child and Adolescent" (2000) in Evaluation of the Sexually Abused Child: A Medical Textbook and Photographic Atlas, Second edition, Oxford University Press. 61-65
  2. Perlman, Sally E. (2004). Clinical protocols in pediatric and adolescent gynecology. Parthenon. p. 131. ISBN 1842141996. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. "The Hymen". University of California, Santa Barbara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-09. The hymen oftentimes, though not always, rips or tears the first time a female engages in penetrative intercourse, which may cause some temporary bleeding and slight discomfort.
  4. . Emma Curtis, Camille San Lazaro. "Appearance of the hymen in adolescents is not well documented". BMJ : British Medical Journal (ภาษาอังกฤษ). 318 (7183). 1999-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-24. สืบค้นเมื่อ 2018-01-21. We agree with Rogers and Stark that so called rupture and bleeding of the hymen is not to be routinely expected after first sexual intercourse.{{cite journal}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  5. Perlman, Sally E.; Nakajyma, Steven T.; Hertweck, S. Paige (2004). Clinical protocols in pediatric and adolescent gynecology. Parthenon. p. 131. ISBN 1-84214-199-6.
  6. Knight, Bernard (1997). Simpson's Forensic Medicine (11th ed.). London: Arnold. p. 114. ISBN 0-7131-4452-1.
  7. Dr Justin J. Lehmiller (February 6, 2015). "Sex Question Friday: Is It Possible For A Woman To Become A Virgin Again?". สืบค้นเมื่อ 2016-11-24.