ฟราดาริกา มุนแซ็ญ

(เปลี่ยนทางจาก เฟเดริกา มุนเซญ)

ในบทความนี้ นามสกุลแรกหรือนามสกุลฝ่ายบิดาคือ มุนแซ็ญ ส่วนนามสกุลที่สองหรือนามสกุลฝ่ายมารดาคือ มัญเญ ฟราดาริกา มุนแซ็ญ อี มัญเญ (กาตาลา: Frederica Montseny i Mañé, ออกเสียง: [munˈsɛɲ]; ค.ศ. 1905–1994) เป็นนักอนาธิปไตยและปัญญาชนซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขและนโยบายสังคมในรัฐบาลสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ช่วงสงครามกลางเมืองสเปน เธอเป็นที่รู้จักเป็นนักเขียนนวนิยายและความเรียง และการเป็นรัฐมนตรีหญิงคนแรก ๆ ในยุโรปตะวันตก

ฟราดาริกา มุนแซ็ญ
ฟราดาริกา มุนแซ็ญ อี มัญเญ
กระทรวงสาธารณสุขและนโยบายสังคม (Ministerio de Sanidad y Asistencia Social)
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 – 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1937
ก่อนหน้าฌูแซ็ป ตูมัส อี ปิเอรา (Josep Tomàs i Piera)
ถัดไปเฆซุส เอร์นันเดซ โตมัส (Jesús Hernández Tomás) (สาธารณสุข) และเฌามา ไอกวาเด (Jaume Aiguader) (นโยบายสังคม)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905(1905-02-12)
มาดริด สเปน
เสียชีวิต14 มกราคม ค.ศ. 1994(1994-01-14) (88 ปี)
ตูลูซ ฝรั่งเศส
เชื้อชาติสเปน
คู่สมรสฌาร์มินัล อัซเกลอัส (Germinal Esgleas)
บุตรบิดา อัซเกลอัส มุนแซ็ญ
ฌาร์มินัล อัซเกลอัส มุนแซ็ญ
บลังกา อัซเกลอัส มุนแซ็ญ

ชีวประวัติ แก้

ฟราดาริกา มุนแซ็ญ เกิดวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ในมาดริด ประเทศสเปน เธอเป็นลูกที่รอดชีวิตคนเดียวของฌูอัน มุนแซ็ญ (Joan Montseny) กับตาแรซา มัญเญ มิราแบ็ต (Teresa Mañé Miravet) ทั้งสองเป็นครู และเป็นนักอนาธิปไตยเชื้อสายกาตาลา พวกเขาอาศัยอยู่ในมาดริด เนื่องจากพ่อของเธอถูกจำคุกและต้องลี้ภัยในเวลาต่อมาเหตุจากเหตุระเบิดขบวนแห่วันสมโภชพระคริสตวรกายในบาร์เซโลนา ค.ศ. 1896 (1896 Barcelona Corpus Christi procession bombing) ทั้งสองกลับสเปนอย่างลับ ๆ และอาศัยอยู่ในเมืองหลวง ตั้งแต่ ค.ศ. 1898 บุพการีของเธอร่วมกันทำหน้าที่บรรณาธิการวารสารรายปักษ์ชื่อ ลาเรบิสตาบลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในวารสารอนาธิปไตยฉบับที่สำคัญที่สุดในเวลานั้น ครอบครัวเธอใช้เงินเก็บเพื่อหาบ้านในเขตชานเมืองของมาดริด ผู้พัฒนาที่สร้างบ้านพวกเขาขู่ฟ้องร้องพ่อของเธอ เมื่อเขากล่าวหาว่าผู้พัฒนาขโมยเงินจากคนจนที่จ่ายค่าบ้านที่ไม่ถูกสร้างเสียที ทำให้ครอบครัวต้องย้ายออกและใช้เวลาหลายปีหลังจากนั้นในการย้ายที่อยู่ตลอดเวลา และเอาชีวิตรอดด้วยการเขียนและการเพาะปลูกเป็นครั้งคราว ในวัยเด็กของมุนแซ็ญ หน่วยพิทักษ์​พลเรือน​ (Guardia Civil) มักมาเยี่ยมบ้านครอบครัวเธอเพื่อค้นหาพ่อของเธอ เธอถ่วงเวลาให้พวกเขาเข้ามาช้าที่สุดเพื่อให้เวลาพ่อเธอซ่อนตัว[1][2]

มุนแซ็ญได้รับการศึกษาที่บ้านจากบุพการีของเธอ หลังจากที่เธอมีทักษะอ่านเขียนแล้ว แม่ของเธอใช้วิธีการสอนแบบพิพัฒนาการเพื่อเสริมสร้างความอยากรู้อยากเห็นของลูกเธอ ทำให้มุนแซ็ญสามารถอ่านเนื้อหาที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้เธอไล่ตามความสนใจทางปัญญาของตัวเอง มุนแซ็ญได้รู้จักกับทั้งวรรณกรรมและทฤษฎีทางสังคมและการเมือง เธอยังกล่าวว่าการเติบโตในสิ่งแวดล้อมชนบทได้มีส่วนในพัฒนาการทางปัญญาของเธอ ตลอดชั่วชีวิตเธอ เธอจะกลับไปหาธรรมชาติเมื่อต้องจัดการกับปัญหาทางสังคม[3][2] เธอมีลูกสามคนกับฌาร์มินัล อัซเกลอัส[4]

การทำงาน แก้

 
ฟราดาริกา มุนแซ็ญ กล่าวคำปราศรัยที่งานประชุมครั้งประวัติศาสตร์ของสมาพันธ์แรงงานแห่งชาติ (Confederación Nacional del Trabajo) ในบาร์เซโลนา ค.ศ. 1977 เป็นครั้งแรกหลังจาก 36 ปีของสเปนภายใต้การนำของฟรังโก
 
สวนสาธารณะฟราดาริกา มุนแซ็ญ ในปารีส

ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน มุนแซ็ญสนับสนุนรัฐบาลสาธารณรัฐ เธอต่อต้านการใช้ความรุนแรงในอาณาเขตของสาธารณรัฐโดยกล่าวว่าเป็น "ความกระหายเลือดที่ก่อนหน้านี้นึกไม่ออกเลยว่าจะเกิดจากมนุษย์สุจริต"[5] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1936 ฟรันซิสโก ลาร์โก กาบาเยโร (Francisco Largo Caballero) แต่งตั้งมุนแซ็ญเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข การกระทำครั้งนี้ทำให้เธอได้กลายเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์สเปนที่ได้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี[6]

ลี้ภัย แก้

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 เธอและผู้นิยมสาธารณรัฐคนอื่นย้ายไปยังเมืองตูลูซ และกลับมาสเปนใน ค.ศ. 1977 หลังฟรังโกเสียชีวิต ต่อมาเธอเสียชีวิตวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1994 สิริอายุ 88 ปี[7]

มรดก แก้

ถนน สวนสาธารณะ และโรงเรียนหลายแห่งในสเปน โดยเฉพาะแคว้นกาตาลุญญา และในเมืองเช่นปารีส ตั้งชื่อตามเพื่อรำลึกถึงเธอ[8]

งาน แก้

นวนิยาย แก้

  • Horas trágicas (1920)
  • Amor de un día (1920)
  • Ana María (1920)
  • El amor nuevo (1920)
  • El juego del amor y de la vida (1920)
  • La mujer que huía del amor (1920)
  • La vida que empieza (1920)
  • Los caminos del mundo (1920)
  • María Magda (1920)
  • Maternidad (1920)
  • Vampiresa (1920)
  • Florecimiento (1925)
  • La victoria (1925)
  • Vida nueva (1925)
  • ¿Cuál de las tres? (1925)
  • Los hijos de la calle (1926)
  • El otro amor (1926)
  • La última primavera (1926)
  • Resurrección (1926)
  • El hijo de Clara (1927)
  • La hija del verdugo (1927)
  • El rescate de la cautiva (1927)
  • El amor errante (1927)
  • La ruta iluminada (1928)
  • El último amor (1928)
  • Frente al amor (1929)
  • Sol en las cimas (1929)
  • El sueño de una noche de verano (1929)
  • La infinita sed (1930)
  • Sonata patética (1930)
  • Pasionaria (1930)
  • Tú eres la vida (1930)
  • El ocaso de los dioses (1930)
  • Aurora roja (1931)
  • Cara a la vida (1931)
  • El amor que pasa (1931)
  • Nocturno de amor (1931)
  • Una mujer y dos hombres (1932)
  • Amor en venta (1934)
  • Nada más que una mujer (1935)
  • Vidas sombrías (1935)
  • Tres vidas de mujer (1937)
  • La indomable (1938)
  • Una vida (1940)
  • Amor sin mañana
  • La rebelión de los siervos
  • La sombra del pasado
  • Martirio
  • Nuestra Señora del Paralelo
  • Sinfonía apasionada
  • Una historia triste

งานอื่น ๆ แก้

  • La mujer, problema del hombre (1932)
  • Heroínas (1935)
  • Buenaventura Durruti (1936)
  • In Memoriam of Comrade Durruti (1936)
  • La voz de la F.A.I. (1936)
  • El anarquismo militante y la realidad española (1937)
  • La incorporación de las masas populares a la historia: la Commune, primera revolución consciente (1937)
  • Anselmo Lorenzo (1938)
  • Cien días de la vida de una mujer (1949)
  • Jaque a Franco (1949)
  • Mujeres en la cárcel (1949)
  • El problema de los sexos: matrimonio, unión libre y amor sin convivencia (1950)
  • Pasión y muerte de los españoles en Francia (1950)
  • María Silva: la libertaria (1951)
  • El Éxodo: pasión y muerte de españoles en el exilio (1969)
  • Problemas del anarquismo español (1971)
  • Crónicas de CNT: 1960-1961 (1974)
  • Qué es el anarquismo (1974)
  • El éxodo anarquista (1977)
  • Cuatro mujeres (1978)
  • Seis años de mi vida (1978)
  • Mis primeros cuarenta años (1987)

อ้างอิง แก้

  1. Davies (1998), pp. 137–138.
  2. 2.0 2.1 Fredericks (1976), p. 72.
  3. Davies (1998), pp. 138–139.
  4. Mangini, S.; González, S. M. (1995). Memories of Resistance: Women's Voices from the Spanish Civil War (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. p. 46. ISBN 978-0-300-05816-1.
  5. Beevor, A. (2006). The Battle for Spain. The Spanish Civil War 1936–1939. London: Penguin Books. p. 87 – โดยทาง archive.org. a lust for blood inconceivable in honest man before
  6. Thomas, H. (2001). The Spanish Civil War. London: Penguin Books. p. 458. ISBN 978-0-14-101161-5.
  7. "Federica Montseny, Spanish Minister, 88". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1994-01-24. ISSN 0362-4331.
  8. Ayuso, S. (23 สิงหาคม 2019). "Los españoles que liberaron París". El País (ภาษาสเปน). ISSN 1134-6582. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.

บรรณานุกรม แก้

  • Davies, C. (1998). Spanish Women's Writing 1849–1996. London/Atlantic Highlands, NJ: Athlone Press.
  • Fredericks, S. F. (1976). "Federica Montseny and Spanish Anarchist Feminism". Frontiers: A Journal of Women Studies. 1 (3): 71–80. doi:10.2307/3346171. JSTOR 3346171.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Alexander, R. J. (1999). The Anarchists in the Spanish Civil War. London: Janus.
  • Ealham, C. (2011). "De la unidad antifascista a la desunión libertaria". Mélanges de la Casa de Velázquez. 41 (1): 121–142. doi:10.4000/mcv.3874.
  • Kern, R. (1978). Red Years, Black Years: A Political History of Spanish Anarchism, 1911–1937. ฟิลาเดลเฟีย: Institute for the Study of Human Issues.
  • Nash, M. (1975). "Dos intelectuales anarquistas frente al problema de la mujer: Federica Montseny y Lucía Sánchez Saornil". Convivium. 44–45: 121–142.
  • Nash, M. (1995). Defying Male Civilization: Women in the Spanish Civil War. เดนเวอร์: Arden Press.
  • Tavera, S. (2005). Federica Montseny: La indomable. มาดริด: Temas de Hoy.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้