เฟอร์ (อังกฤษ: Firs, Abies) เป็นสกุลไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบปี 48-56 ชนิดในวงศ์สนเขา พบได้ทั่วไปในอเมริกาเหนือและกลาง ยุโรป เอเชีย และแอฟริกาเหนือ ซึ่งพบได้ในภูเขาเกือบทุกช่วง เฟอร์มีความเกี่ยวข้องกับสกุล Cedrus (ซีดาร์) มากที่สุด ต้นเฟอร์ดักลาสไม่ใช่เฟอร์ที่แท้จริงเนื่องจากเป็นอยู่ในสกุล Pseudotsuga

Fir
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 49–0Ma [1]
ลูกสนและใบของ เฟอร์เกาหลี (Abies koreana)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: Gymnosperms
หมวด: Pinophyta
ชั้น: Pinopsida
อันดับ: Pinales
วงศ์: วงศ์สนเขา
วงศ์ย่อย: Abietoideae
สกุล: Abies
Mill.

ชื่อของสกุลมาจากภาษาละตินที่แปลว่า "ขึ้น" ซึ่งพูดถึงความสูงของมัน[2] ชื่อภาษาอังกฤษทั่วไปมีต้นกำเนิดมาจากภาษานอร์สโบราณ fyri หรือภาษาเดนมาร์กโบราณ fyr[3]

เฟอร์เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 10–80 เมตร (33–262 ฟุต) โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 0.5–4 เมตร (1 ฟุต 8 นิ้ว–13 ฟุต 1 นิ้ว) เมื่อโตเต็มที่ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างต้นเฟอร์กับสมาชิกในตระกูลสนอื่น ๆ ได้ด้วยการดูที่ใบรูปร่างเข็มซึ่งติดอยู่กับกิ่งอย่างโดดเดี่ยวโดยมีฐานคล้ายกับยางดูด และดูที่โคน (ลูกสน) ซึ่งตั้งตรงบนก้านและสลายไปเมื่อเติบโตเต็มวัยเหมือนกับต้นซีดาร์ (Cedrus)

การระบุสปีชีส์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับขนาดและการจัดเรียงของใบ ขนาดและรูปร่างของโคน และใบประดับของลูกสนจะยาวและแตกออก หรือสั้นและซ่อนอยู่ภายในโคนหรือไม่

ใบ แก้

เราสามารถแยกความแตกต่างของเฟอร์จากสมาชิกรายอื่นในตระกูลสนได้ด้วยดูการติดของใบกับกิ่งที่ดูคล้ายกับยางดูด

ใบไม้จะมีรูปร่างแบนอย่างเห็นได้ชัด บางครั้งดูเหมือนมีบางอย่างกด ดังที่เห็นใน A. sibirica

ใบไม้มีเส้นสีขาวสองเส้นด้านใต้ แต่ละเส้นประกอบด้วยแถบปากใบที่หุ้มด้วยไข ในสปีชีส์ส่วนใหญ่ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวและมันเงาโดยไม่มีปากใบหรือมีบางส่วนที่ปลายใบมที่จะมองเห็นเป็นจุดสีขาว สปีชีส์อื่น ๆ มีพื้นผิวด้านบนของใบมัวโดยมีสีเทาเขียวหรือสีฟ้าเทาไปจนถึงสีเงินและเคลือบด้วยไขและมีแถบปากใบจำนวนไม่แน่นอนและไม่ต่อเนื่อง ตัวอย่างสปีชีส์ที่มีใบสีเขียวคือ A. alba และสีมัวแบบมีไขคือ A. concolor

ปลายใบมักจะมีรอยบากไม่มากก็น้อย (เช่นใน A. firma) แต่บางครั้งก็มนหรือทื่อ (เช่นใน A. concolor, A. magnifica) หรือแหลมและมีหนาม (เช่นใน A. bracteata, A. cephalonica, A. holophylla). ใบของต้นอ่อนมักจะแหลมกว่า

วิธีที่ใบแตกจากหน่อหลากหลายมาก เฉพาะบางสายพันธุ์เท่านั้นที่มีแตกเป็นรูปทรงหวีที่มีใบเรียงสองด้านและแบนเช่นใน A. alba[4]

โคน (ลูกสน) แก้

เฟอร์แตกต่างจากต้นสนชนิดอื่นที่มีโคนทรงกระบอกตั้งตรงยาว 5-25 ซม. (2-10 นิ้ว) ที่สลายเมื่อโตเต็มที่เพื่อปล่อยเมล็ดที่มีปีก

ตรงกันข้ามกับสปรูซ โคนต้นเฟอร์จะไม่ห้อย แม้แต่โคนของต้นเฟอร์ขนาดใหญ่ก็ยังเติบโตเหมือนเทียน

โคนที่โตเต็มที่แล้วมักจะเป็นสีน้ำตาล โคนอ่อนที่ออกในฤดูใบไม้ผลิอาจเป็นสีเขียวได้ เช่นใน A. grandis, A. holophylla, A. nordmanniana หรือเป็นสีม่วงและฟ้าและสีเข้มในบางเวลาอย่างA. fraseri, A. homolepis (var. umbellata green), A. koreana ('Flava' green), A. lasiocarpa, A. nephrolepis (f. chlorocarpa green), A. sibirica, A. veitchii (var. olivacea green).[4]

อ้างอิง แก้

  1. Schorn, Howard; Wehr, Wesley (1986). "Abies milleri, sp. nov., from the Middle Eocene Klondike Mountain Formation, Republic, Ferry County, Washington". Burke Museum Contributions in Anthropology and Natural History. 1: 1–7.
  2. Coombes, Allen J. (2012). The A to Z of plant names : a quick reference guide to 4000 garden plants (1st ed.). Portland, Or.: Timber Press. p. 23. ISBN 978-1-60469-196-2. OCLC 741564356.
  3. "fir | Origin and meaning of fir by Online Etymology Dictionary". www.etymonline.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
  4. 4.0 4.1 Seneta, Włodzimierz (1981). Drzewa i krzewy iglaste (Coniferous trees and shrubs) (ภาษาโปแลนด์) (1st ed.). Warsaw: Państwowe Wydawnictwo Naukowe (PWN). ISBN 978-83-01-01663-0.

บรรณานุกรม แก้

Philips, Roger. Trees of North America and Europe, Random House, Inc., New York ISBN 0-394-50259-0, 1979.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้