เพลงชาติเกย์ (อังกฤษ: gay anthem หรือ LGBT anthem) คือเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในบรรดากลุ่มสังคมที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยมากมักหมายถึงเกย์ผู้ชาย เนื้อเพลงมักจะมีความหมายเกี่ยวกับความหวังในการต่อต้านการไม่มีคู่ ความทะนงตน ความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือความท้าทาย

ธีม แก้

ถึงแม้ว่าทุก ๆ เพลงจะมีความแตกต่างกัน แต่เกณฑ์ที่ถือว่าเป็นเพลงชาติเกย์ มักมีโครงสร้างของเป็นรูปแบบ โดยในหนังสือ Queer ได้ระบุธีมในความมีความหมายร่วมกันของเพลงดังต่อไปนี้[1]

ดิว่าเสียงใหญ่
เพลงจำพวกนี้ของเพลงชาติเกย์ มีความเกี่ยวดองอย่างยิ่งด้านบุคลิกภาพของเกย์ผู้ชายส่วนใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นเพลงป็อปดีว่า เพลงร้องที่มักจะร้องโดยเหล่าเกย์ไอค่อนหญิง ตัวอย่างเช่น แพตตี้ ลาเบลล์, บาร์บรา สไตรแซนด์, จูดี การ์แลนด์, กลอเรีย เกย์เนอร์, มาดอนน่า, คริสติน่า อากีเลร่า, ไคลี มิโนก, อารีธา แฟรงคลิน, ไดอาน่า รอส, มารายห์ แครี, ดอนน่า ซัมเมอร์ และแชร์
ความยากลำบากในความรัก
โดยมากเป็นเรื่องเล่าของความรัก ในการกลับมาที่เข้มแข็งกว่าเดิม อย่างเช่น เพลง "I Will Survive" (แปลว่า "ฉันจะรอด") ของ กลอเรีย เกย์เนอร์ และ No More Tears (Enough is Enough) (แปลว่า "ไม่เอาอีกแล้วน้ำตา พอเป็นพอ") โดยบาร์บรา สไตรแซนด์และดอนน่า ซัมเมอร์
คุณไม่ได้อยู่คนเดียว
เพลงที่มีเนื้อหามาด้วยกัน ในลักษณะกลุ่มสังคมและความมั่นใจ อย่างเช่น เพลง "We Are Family" (แปลว่า "พวกเราคือครอบครัวกัน") โดยซิสเตอร์สเลดจ์, "YMCA" โดยเดอะวิลเลจพีเพิล และเพลง "Sisters Are Doing It for Themselves" (สาว ๆ ทำเพื่อตัวเอง) โดยยูริธมิกส์และอารีธา แฟรงคลิน
โยนทิ้งไป ความกังวล
เป็นเพลงที่พูดถึงการปราศจากความกังวลที่ทำให้เกิดปัญหา และการปาร์ตี้ สังสรรค์ ตัวอย่างเช่นเพลง "Turn the Beat Around" โดยวิกกี้ ซู โรบินสัน, "Step Back in Time" โดยไคลี มิโนก และ "Holiday" โดยมาดอนน่า
ความหยิ่งในศักดิ์ศรีที่ยากที่จะชนะ
เป็นเพลงประเภทที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้การกดขี่, ความมืด ความกลัวสู่อิสรภาพ ความสวย ความงาม หรือการหยิ่งทรนง ตัวอย่างเช่นเพลง "Free" (คำแปล อิสรภาพ) โดยอัลตร้า เนเต้, "Supermodel" (แปลว่า "ยอดนางแบบ") โดย รูพอล และ "Greatest Love of All" (แปลว่า "ความรักอันยิ่งใหญ่ของทุกคน") โดยวิทนีย์ ฮูสตัน
การเฉลิมฉลองในความไม่อายต่อเรื่องเพศ
เป็นเพลงที่พูดถึงการเอาชนะความอายในการสังสรรค์ เช่นเพลง "So Many Men", "So Little Time" โดยมิเคล บราวน์ และ "It's Raining Men" โดยเดอะเวทเทอร์เกิลส์
การเสาะหาการยอมรับ
เพลงที่เกี่ยวกับการต้อนรับของดินแดนแห่งความฝันในการยอมรับและให้ความหวังในการใช้ชีวิต อย่างเช่น "Somewhere Over the Rainbow" (แปลว่า "สักที่บนสายรุ้ง") โดยจูดี การ์แลนด์ และ "There's a Place for Us" (แปลว่า "คงมีสักที่สำหรับพวกเรา") เพลงประกอบภาพยนตร์ West Side Story
เพลงที่จุดประกายในโลกอันน่าเบื่อ
มีเรื่องเกี่ยวกับการใช้ การข่มเหงและการอยู่รอดที่จะบอกเรื่องราวแห่งความโศกเศร้า เช่น "Maybe This Time" (แปลว่า "บางครั้งเวลานี้") โดยลิซา มิเนลลี, "You Don't Have to Say You Love Me" (แปลว่า "คุณไม่จำเป็นต้องบอกว่าคุณรักฉัน") โดยดัสตี้ สปริงฟิลด์ และ "And I Am Telling You I'm Not Going" (คำแปล และฉันจะบอกว่าฉันจะไม่ไปไหน) โดยเจนนิเฟอร์ ฮอลลิเดย์
ความรักเอาชนะทุกสิ่ง
เรื่องเกี่ยวกับความไม่ยอมแม้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่ยากจะชนะ อย่างเช่น "Ain't No Mountain High Enough" (แปลว่า "ไม่มีภูเขาใดสูงเกิน") โดย ไดอาน่า รอส และ "As Long as He Needs" (แปลว่า "ตราบใดที่คุณต้องการฉัน") โดย เชอร์ลีย์ บาสซีย์
เชอะ คำขอโทษ?
เป็นเพลงที่เกี่ยวข้องกับการไม่ฟังคำสั่ง ในสิ่งที่บางคนอาจต้องการ เช่น "I Am What I Am" (แปลว่า "ฉันก็เป็นอย่างฉัน") โดยกลอเรีย เกย์เนอร์ และ "I'm Coming Out" (แปลว่า "ฉันออกมาแล้ว") โดย ไดอาน่า รอส

อ้างอิง แก้

  1. Simon Gage, Lisa Richards, and Howard Wilmot. Queer, pp. 26-7. June 13, 2002. ISBN 1560253770