เบิ้ล ปทุมราช
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อาทิตย์ สมน้อย (เกิด 30 มิถุนายน พ.ศ. 2539) ชื่อเล่น เบิ้ล หรือที่รู้จักกันในชื่อ เบิ้ล ปทุมราช เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งและนักแสดงชาวไทย อดีตเคยอยู่ในสังกัดอาร์ สยาม เป็นนักร้องลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบันจากผลงานเพลง "อ้ายมีเหตุผล", "เฟสก็หายไลน์ก็เงียบ", "สื่อรักออนไลน์", "ให้น้องไปสา", "ความในใจ", "พังสลาย", "กูลืมเขาแล้ว", "กู๊ดไนท์ จุ๊บ จุ๊บ" และ "มีผัวอ้ายกะฮัก"
เบิ้ล ปทุมราช | |
---|---|
ชื่อเกิด | อาทิตย์ สมน้อย |
รู้จักในชื่อ | เบิ้ล ปทุมราช |
เกิด | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2539 จังหวัดอำนาจเจริญ ประเทศไทย |
แนวเพลง | เพลงลูกทุ่ง, เพื่อชีวิต, ป็อป |
อาชีพ |
|
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง, กีต้าร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | อาร์สยาม (2558–2566) ศิลปินอิสระ (2566–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้อาทิตย์ สมน้อย เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เป็นบุตรของทวี สมน้อย และเสาวนีย์ สมน้อย มีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ศึกษาที่โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัล[1]
ในวัย 17 ปี มาทำงานที่ราชบุรี ล้างเครื่องจักรยานยนต์ และส่งอะไหล่รถ[2] จากนั้นได้ส่งคลิปเพื่อเข้าร่วมประกวดในโครงการ 20 ปี แกรมมี่ โกลด์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2558 โดยได้ติดอยู่ใน 1 ใน 75 หลังจากนั้นได้เข้ามาอยู่กับสังกัดอาร์สยาม ในเครืออาร์เอส ออกเพลงแรก คือ "อ้ายมีเหตุผล" มียอดชม 100 ล้าน จากนั้นออกเพลงแก้ชื่อ "เหตุผลของคนจะไป" ร้องร่วมกับธัญญ่า อาร์สยาม และมีผลงานเพลงเรื่อยมา เช่น "เฟสก็หายไลน์ก็เงียบ", "สื่อรักออนไลน์", "คนดีพี่มาง้อ" ร้องเพลงประกอบละครเรื่อง เชลยศึก กับเพลง "สองสิ่งที่ยิ่งใหญ่" ร้องเพลงประกอบซีรีส์อินเดียเรื่อง หนุมาน สงครามมหาเทพ กับเพลง "ลมหายใจพลีให้เธอ"
เบิ้ล ปทุมราชยังมีผลงานแสดง เช่น ภาพยนตร์เรื่อง หลวงพี่แจ๊ส 5G และ ฮักแพง แสดงในซีรีส์เรื่อง 21 วัน ฉันรักนาย (21 Days)[3]
ผลงาน
แก้ซิงเกิ้ลa
แก้พ.ศ. | ชื่อเพลง | ค่าย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2558 | "อ้ายมีเหตุผล" | อาร์สยาม, อาร์เอส | เพลงแต่งใหม่ |
"คำสอนของพ่อ" | |||
2559 | "เฟสก็หายไลน์ก็เงียบ" | ||
"คนดีพี่มาง้อ" feat. ธัญญ่า อาร์สยาม | |||
2560 | "สื่อรักออนไลน์" | ||
"กอดครั้งสุดท้าย" feat. ธัญญ่า อาร์สยาม | |||
"ให้น้องไปสา" | |||
2561 | "เฮ็ดทุกวิถีทาง" feat. ก้อง ห้วยไร่ | ||
"ความในใจ" | |||
2562 | "ขอโสด" feat. ก้อง ห้วยไร่ | ||
"ความฮัก" | |||
"กูลืมเขาแล้ว" | |||
2563 | "หน้าโหดโหมดคิตตี้" feat. แบม ไพลิน , ออย ธนวรรณ | ||
"พังสลาย" | |||
"กู๊ดไนท์ จุ๊บ จุ๊บ" | |||
2564 | "มีผัวอ้ายกะฮัก" | ||
"ถูกใจให้เบิ้ล" | |||
"ซอมทาง" | |||
2565 | "กาดำ" feat. ธัญญ่า อาร์สยาม | ||
2567 | อ้ายกินดอง น้องลาบงัว ft.สแน็ก อัจฉรีย์ |
เพลงประกอบละคร/ภาพยนตร์/ซีรีส์
แก้- "สองสิ่งที่ยิ่งใหญ่" (เพลงประกอบละคร เชลยศึก)
- "ลมหายใจพลีให้เธอ" (เพลงประกอบซีรีส์อินเดีย หนุมาน สงครามมหาเทพ)
- "ฮักแพง" ร่วมกับ ก้อง ห้วยไร่, แซ็ค ชุมแพ (เพลงประกอบภาพยนตร์ ฮักแพง)
- "กุหลาบแดง" ร่วมกับ แซ็ค ชุมแพ (เพลงประกอบภาพยนตร์ ฮักแพง)
- "เผาคนเป็น" (เพลงประกอบภาพยนตร์ ออนซอนเด)
- "อะลาดิน" (เพลงประกอบซีรีส์ อะลาดิน)
- "ชิมิ" ร่วมกับ ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ (เพลงประกอบละคร กระสือลำซิ่ง)
- "เทพีบ้านไพร" (เพลงประกอบละคร เพลงรักรอยแค้น)
- "ไร่อ้อยคอยรัก" (เพลงประกอบละคร เพลงรักรอยแค้น)
- "ปากหมา (แต่ว่าจริงใจ)" (เพลงประกอบละคร เพลงรักรอยแค้น)
ละครโทรทัศน์
แก้พ.ศ. | ชื่อเรื่อง | รับบทเป็น | ออกอากาศ |
---|---|---|---|
2565 | กระสือลำซิ่ง | เบิ้ล | ช่อง 8 |
2566 | เพลงรักรอยแค้น | ปกรณ์ | |
2568 | ไอ้หนุ่มรถไถ | ไอ้หนุ่ม | |
ละครใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อเรื่อง) | รอเปิดกล้อง เรื่องเดียวกับ นุชนันท์ วรรวิรา | ช่องวัน 31 |
ผลงานซีรีส์
แก้พ.ศ. | ชื่อเรื่อง | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2560 | 21 วัน ฉันรักนาย (21 Days) | ดับเบิ้ล | |
2562 | ลิขิตชีวิต ตอน ลูกผู้ชาย | อ๊อด | |
2567 | ข้า ฆ่า ค่า | บื้อ |
ซิทคอม
แก้พ.ศ. | ชื่อเรื่อง | รับบทเป็น | ออกอากาศ |
---|---|---|---|
2564 | เถิดเทิงม่วนคักฮักหลาย | โดดเดี่ยว | ช่องเวิร์คพอยท์ |
2567 | เป็นต่อ 2024 | ชาย | ช่องวัน 31 |
ผลงานภาพยนตร์
แก้พ.ศ. | ชื่อเรื่อง | รับบทเป็น |
---|---|---|
2561 | หลวงพี่แจ๊ส 5G | |
ฮักแพง | ต้น | |
2562 | ออนซอนเด | (หำ) ต่ง |
2563 | ฮักเถิดเทิง | พิณ เร็กเก้ |
หลวงพี่กะอีปอบ | บักกึ่ม | |
2566 | ฮีโร่ต้มแซ่บ | นาก |
2567 | ปะฉะดะ | |
ผีจิก |
โทรทัศน์
- พ.ศ. 2563 : ลูกทุ่งไอดอล (2563-2564) พิธีกร ซีซั่นออลสตาร์ และ ซีซั่น4
ออนไลน์
- พ.ศ. 2565 : น่ารักสัตว์สัตว์ EP.1 ทางช่อง YouTube:เบิ้ล ปทุมราช
กรรมการ และ โค้ช
แก้- กรรมการและโค้ช เพชรตัดเพชร (รายการโทรทัศน์)
- โค้ช ศึกวันดวลเพลงเสาร์ 5 เสือฟัดเสือ
- โค้ช หมอลำไอดอล
เพลงพิเศษ
แก้- "รักพ่อ..ไม่มีวันพอเพียง" (2559) จัดทำขึ้นเพื่อขอรวมพลังถ่ายทอดบทเพลงนี้ แทนความรู้สึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ของ "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
รางวัล
แก้ปี | รางวัล | สาขา | เสนอชื่อเข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|---|
2565 | Thailand Zocial Awards 2022[4] | Best Entertainment on Social Media สาขาศิลปินชาย | เบิ้ล ปทุมราช | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติ "เบิ้ล ปทุมราช" จากเด็กล้างเครื่องจักรยานยนต์ สู่ซุปตาร์บ้านนา 1000 ล้านวิว". สนุก.คอม.
- ↑ "เบิ้ล ปทุมราช อดีตเด็กอู่ล้างเครื่องมอเตอร์ไซค์ ได้ดีเพราะไม่ลืมตัว". ไทยรัฐ.
- ↑ "เปิดประวัติ "เบิ้ล ปทุมราช" ผู้เข้าชิงรางวัล "daradaily Awards 7"". ดาราเดลี่.
- ↑ "THAILAND ZOCIAL AWARDS ครั้งที่ 10 งานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด". สปริงนิวส์. 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.