เท็มเม (ญี่ปุ่น: 天明โรมาจิTenmei) เป็นชื่อศักราชของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ระหว่างศักราชอังเอกับศักราชคันเซ ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 1781 ถึงมกราคม ค.ศ. 1789[1] จักรพรรดิที่ครองราชย์ในศักราชนี้คือจักรพรรดิโคกากุ (光格天皇)[2]

การเปลี่ยนศักราช แก้

  • ค.ศ. 1781 เท็มเมกันเน็ง (ญี่ปุ่น: 天明元年โรมาจิTenmei gannen): เข้าศักราชใหม่เมื่อจักรพรรดิโคกากุเสด็จขึ้นครองราชย์ ศักราชก่อนหน้าสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 เดือน 4 ปีอังเอที่ 11

เหตุการณ์ในศักราช แก้

  • ค.ศ. 1782 (ปีเท็มเมที่ 2): เกิดทุกภิกขภัยครั้งใหญ่แห่งเท็มเม
  • ค.ศ. 1782 (ปีเท็มเมที่ 2): มีการเสนอการวิเคราะห์สกุลเงินในจีนและญี่ปุ่นแก่พระจักรพรรดิโดยมินาโมโตะ โนะ มาซัตสึนะ[3]
  • ค.ศ. 1783 (ปีเท็มเมที่ 3): เขาอาซามะ (ญี่ปุ่น: 浅間山โรมาจิAsama-yama) เกิดการปะทุที่แคว้นชินาโนะ ซึ่งอยู่ห่างจากเอโดะทางตะวันตกเฉียงเหนือเพียง 80 ไมล์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยประมาณมากกว่า 20,000 คน (ปัจจุบันภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่บนชายแดนระหว่างจังหวัดกุมมะกับจังหวัดนางาโนะ) Isaac Titsingh ผู้ชำนาญการด้านญี่ปุ่น ได้ตีพิมพ์บันทึกการปะทุของภูเขาไฟอาซามะ ทำให้เป็นภูเขาลูกแรกที่โลกตะวันตกรู้จัก (ค.ศ. 1820)[4] การปะทุของภูเขาไฟทำให้เกิดภัยแล้งหนักกว่าเดิม โดยแคว้นชินาโนะกับแคว้นโคซูเกะไม่สามารถทำการเกษตรได้เป็นเวลา 4-5 ปี[5]
  • ค.ศ. 1783 (ปีเท็มเมที่ 3): รายงานจากงานวิจัยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภัยแล้งรุนแรงขึ้น เพราะหลังภาวะอดอยากเป็นเวลา 8 ปี ไม่มีใครมีอาหารสำรองเหลืออีกเลย[6]
  • ค.ศ. 1784 (ปีเท็มเมที่ 4): มีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศ เพื่อยกย่องแก่โคโบ-ไดชิ ผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธแบบชิงงงที่มรณภาพเมื่อ 950 ปีที่แล้ว[3]
  • ค.ศ. 1784 (ปีเท็มเมที่ 4): ลูกชายของหัวหน้าที่ปรึกษาโชกุนถูกลอบสังหารในปราสาทเอโดะ โดยไม่มีใครนอกจากผู้ลอบสังหารที่ถูกลงโทษ ทำให้แผนการปฏิรูปของทานูมะ โอกิตสึงุถูกยกเลิกไป[7]
  • 17 กันยายน ค.ศ. 1786 (ปีเท็มเมที่ 6, วันที่ 25 เดือน 8): โชกุนโทกูงาวะ อิเอฮารุถึงแก่อสัญกรรมและฝังที่เอโดะ
  • ค.ศ. 1787 (ปีเท็มเมที่ 7): โทกูงาวะ อิเอนาริกลายเป็นโชกุนคนที่ 11 แห่งรัฐโชกุนโทกูงาวะ[8]
  • ค.ศ. 1787 (ปีเท็มเมที่ 7): คุตสึกิ มาซัตสึนะตีพิมพ์ เซโยเซ็มปุ (บันทึกเหรียญตะวันตก) ที่มีภาพสกุลเงินยุโรปและอาณานิคม[9]
  • ค.ศ. 1788 (ปีเท็มเมที่ 7): เกิดการก่อกบฏในร้านขายข้าวที่เอโดะและโอซากะ
  • ค.ศ. 1788 (ปีเท็มเมที่ 8): ไฟไหม้ครั้งใหญ่แห่งเกียวโต โดยเริ่มต้นขึ้นในเวลา 3:00 นาฬิกาของวันที่ 6 มีนาคม (ปีเท็มเมที่ 8, วันที่ 29 เดือน 1) และไม่สามารถควบคุมไฟได้จนถึงวันที่ 8 มีนาคม (วันแรกของเดือนที่สอง) แต่ยังมีเถ้าถ่านที่ออกควันจนกระทั่งเกิดฝนตกหนักในวันที่ 11 มีนาคม (วันที่สี่ของเดือนที่สอง) จักรพรรดิกับราชสำนักหนีไฟไหม้ และพระราชวังถูกเผาทำลาย หลังจากนั้น มีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้ซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างใดก่อนที่จะสร้างพระราชวังใหม่เสร็จ ไฟไหม้ครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์[10]

อ้างอิง แก้

  1. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Temmei" Japan Encyclopedia, p. 956, p. 956, ที่ Google Books; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ archive.today.
  2. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 420–421.
  3. 3.0 3.1 Titsingh, p. 420.
  4. Screech, T. (2006), Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822, pp. 146–148.
  5. Hall, John. (1955). Tanuma Okitsugu, 1719–1788: Forerunner of Modern Japan, p. 122.
  6. Hall, p. 170.
  7. Screech, pp. 148–151, 163-170, 248.
  8. Hall, John Whitney et al. (1991). Early Modern Japan, p. 21.
  9. Screech, T. (2000). Shogun's Painted Culture: Fear and Creativity in the Japanese States, 1760–1829, pp. 123, 125; See – online image of 2 adjacent pages from library collection of Kyoto University of Foreign Studies and Kyoto Junior College of Foreign Languages
  10. Screech, pp. 152–154, 249–250

บรรณานุกรม แก้

  • Hall, John Whitney. (1988). Early Modern Japan (The Cambridge History of Japan, Vol. 4). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 9780521223553; OCLC 489633115
  • __________. (1955). Tanuma Okitsugu, 1719–1788: Forerunner of Modern Japan. Cambridge: Harvard University Press. OCLC 445621
  • Nussbaum, Louis Frédéric and Käthe Roth. (2005). Japan Encyclopedia. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5; OCLC 48943301
  • Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822. London: RoutledgeCurzon. ISBN 978-0-203-09985-8; OCLC 65177072
  • __________. (2000). Shogun's Painted Culture: Fear and Creativity in the Japanese States, 1760–1829. London : Reaktion. ISBN 9781861890641; OCLC 42699671
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า เท็มเม ถัดไป
อังเอ
(ญี่ปุ่น: 安永โรมาจิAn'ei)
  ศักราชหรือเน็งโง
เท็มเม
(ญี่ปุ่น: 天明โรมาจิTenmei)

(ค.ศ. 1781–1789)
  คันเซ
(ญี่ปุ่น: 寛政โรมาจิKansei)