เท็นโด
เท็นโด (ญี่ปุ่น: 天童市; โรมาจิ: Tendō-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดยามางาตะ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2023[update] นครเท็นโดมีจำนวนประชากรประมาณ 60,895 คน[1] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 113.01 ตารางกิโลเมตร (43.63 ตารางไมล์)[2]
เท็นโด 天童市 | |
---|---|
ทิวทัศน์นครเท็นโด | |
ที่ตั้งของเท็นโด (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดยามางาตะ | |
พิกัด: 38°21′44.2″N 140°22′40.6″E / 38.362278°N 140.377944°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | โทโฮกุ |
จังหวัด | ยามางาตะ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลนคร |
• นายกเทศมนตรี | ชินจิ ยามาโมโตะ (山本 信治; ตั้งแต่ธันวาคม ค.ศ. 2008) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 113.01 ตร.กม. (43.63 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 ธันวาคม ค.ศ. 2023)[1] | |
• ทั้งหมด | 60,895 คน |
• ความหนาแน่น | 540 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | เมเปิล |
• ดอกไม้ | กุหลาบพันปี |
• นก | โฮจิโระ (Emberiza cioides) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 06210-3 |
โทรศัพท์ | 023-654-1111 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 1-1-1 Oinomori, Tendō-shi, Yamagata-ken 994-8510 |
เว็บไซต์ | www |
ภูมิศาสตร์
แก้เท็นโดตั้งอยู่ทางตะวันออก-กลางของแอ่งยามางาตะ ทางทิศตะวันออกติดกับเทือกเขาโออุ
เทศบาลข้างเคียง
แก้- จังหวัดยามางาตะ
ภูมิอากาศ
แก้เท็นโดมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Dfa) มีความแตกต่างของอุณหภูมิในแต่ละฤดูกาลอย่างมาก โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นถึงร้อน (และมักจะชื้น) และฤดูหนาวที่หนาวเย็น (บางครั้งก็หนาวจัดมาก) มีหยาดน้ำฟ้าตลอดทั้งปี แต่จะหนักที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในเทนโดอยู่ที่ 11.1 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,381 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะอยู่ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 24.8 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ -1.4 °C[3]
สถิติประชากร
แก้จากข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของเท็นโดยังคงค่อนข้างคงที่ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1960 | 44,521 | — |
1970 | 44,758 | +0.5% |
1980 | 52,597 | +17.5% |
1990 | 57,339 | +9.0% |
2000 | 63,231 | +10.3% |
2010 | 62,214 | −1.6% |
2020 | 62,140 | −0.1% |
ประวัติศาสตร์
แก้ในสมัยเอโดะ พื้นที่ของเท็นโดในปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาเท็นโด ซึ่งเป็นแคว้นศักดินาขนาด 20,000 โกกุ ภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ซึ่งควบคุมโดยตระกูลโอดะ ซึ่งปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1831 ถึง 1871[5]
หลังจากเริ่มต้นสมัยเมจิ พื้นที่ดังกล่าวได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเท็นโด ขึ้นกับอำเภอฮิงาชิมูรายามะ จังหวัดยามางาตะ เมื่อ ค.ศ. 1878 ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1892 และยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1958
การเมืองการปกครอง
แก้นครเท็นโดมีการปกครองในรูปแบบแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งมีสมาชิก 22 คน ในการเมืองระดับจังหวัด นครเท็นโดเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้ตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดยามางาตะจำนวน 2 คน และในการเมืองระดับชาติ นครเท็นโดเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดยามางาตะที่ 1 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
แก้เศรษฐกิจของเท็นโดขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวตามฤดูกาล เกษตรกรรม และผลิตภัณฑ์จากไม้ เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านการผลิตชิ้นส่วนไม้ (โคมะ) ที่ใช้ในหมากรุกญี่ปุ่น (โชงิ) และมีการละเล่น "หมากรุกมนุษย์" มาตั้งแต่ ค.ศ. 1966[6] นอกจากนี้ เมืองนี้ยังมีบ่อน้ำพุร้อนอนเซ็งหลายแห่ง
การศึกษา
แก้- วิทยาลัยอูโยกากูเอ็ง
- เท็นโดมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาล ได้แก่ โรงเรียนประถม 12 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 4 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาประจำจังหวัดยามางาตะ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 1 แห่ง และมีโรงเรียนมัธยมปลายเอกชน 1 แห่ง
การขนส่ง
แก้รถไฟ
แก้- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก: ยามางาตะชิงกันเซ็ง
- สถานี: เท็นโด
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก: สายหลักโออุ
- สถานี: ทากาตามะ – เท็นโดมินามิ – เท็นโด – มิดาเรงาวะ
ทางหลวง
แก้- ทางด่วนโทโฮกุชูโอ – ทางแยกต่างระดับเท็นโด
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 13
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 48
เมืองแฝด
แก้เท็นโดเป็นเมืองแฝดกับเมืองต่อไปนี้[7]
- มาร์ลโบโร (Marlborough) ประเทศนิวซีแลนด์ (ค.ศ. 1989)
- มารอสตีกา (Marostica) ประเทศอิตาลี (ค.ศ. 1993)
- หว่าฝางเตี้ยน (瓦房店市) มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน (ค.ศ. 2002)
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้- เก็นจิยามะ สึนาโงโร (เกิด ค.ศ. 1786) - นักมวยปล้ำซูโม่
- ชิยาโกะ ซาโต (เกิด ค.ศ. 1897) - นักดนตรี
- เค็นจิ ชิมิซุ (เกิด ค.ศ. 1940) - ผู้ก่อตั้งเทนโดรีวไอกิโด
- เค็นตะ คูริฮาระ (เกิด ค.ศ. 1982) - นักเบสบอลอาชีพ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "山形県の人口と世帯数(推計)(令和5年12月1日現在)について" [จำนวนประชากรและครัวเรือนในจังหวัดยามากาตะ (โดยประมาณ) (ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2023)]. จังหวัดยามางาตะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2024-01-13.
- ↑ เว็บไซต์ทางการ
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศเท็นโด
- ↑ สถิติประชากรเท็นโด
- ↑ Baedeker. (2012). Japan, p. 561; Hotta, Anne and Yoko Ishiguro. (1986). A guide to Japanese hot springs, p. 192.
- ↑ "Tendo Ningen Shogi 2022 - April Events in Yamagata".
- ↑ "姉妹都市交流". city.tendo.yamagata.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Tendō. สืบค้นเมื่อ 2020-12-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Tendo จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)