เท็ตสึยะ ยามาโตะ

เท็ตสึยะ ยามาโตะ (ญี่ปุ่น: Tetsuya Yamatoโรมาจิ大和 哲也ทับศัพท์: Yamato Tetsuya) เกิดวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1987 เป็นทั้งนักมวยคิกบ็อกซิ่งและเป็นนักมวยไทย รวมทั้งเป็นช่างทาสีชาวญี่ปุ่น เขาเป็นผู้ชนะรายการแข่งขันเจแปนนีสเนชั่นแนลของเค-วันในรุ่นไลท์เวท ใน ค.ศ. 2010

เท็ตสึยะ ยามาโตะ
ชื่อจริงเท็ตสึยะ อิวาชิตะ
(岩下 哲也)
ฉายาstrong-armed painter
รุ่นไลท์เวท
เกิด (1987-12-10) 10 ธันวาคม ค.ศ. 1987 (36 ปี)
ญี่ปุ่น จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น
ชกทั้งหมด42
ชนะ31
ชนะน็อก22
แพ้10

ประวัติ แก้

ในช่วงเริ่มแรก แก้

เท็ตสึยะ ยามาโตะ เกิดวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1987 ในจังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีชื่อว่า เท็ตสึยะ อิวาชิตะ ภายหลังจากการจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาก็เริ่มทำงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และกลายมาเป็นช่างทาสีอาคารด้วยสีอะครีลิคเรซิ่น

ในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 เขาได้เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะนักมวยคิกบ็อกซิ่งระดับอาชีพเป็นครั้งแรกในรายการ R.I.S.E. และเขาได้ชนะน็อค เออิจิ โอกาวะ ในยกแรกด้วยการใช้ขาซ้ายเตะต่ำ ภายหลังจากการแข่งขันในครั้งนั้น เขาได้กลายมาเป็นสมาชิกของสหพันธ์ NJKF แล้วเข้าร่วมแข่งขันภายใต้นามสหพันธ์ดังกล่าว เขาเข้าร่วมแข่งขันอีกครั้งในวันที่ 24 กันยายน โดยพบกับ ทากูยะ มิเนกาวะ ซึ่งเขาสามารถเอาชนะทีเคโอได้ในที่สุด

ยามาโตะได้รับเลือกเสนอชื่อและได้รับรางวัลรูกกี้ อะวอร์ด 2005 โดยสหพันธ์ NJKF เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2006[1]

ชนะการแข่งขันระดับชาติ แก้

ภายหลังจากที่ยามาโตะแข่งขันระดับอาชีพเป็นระยะเวลาสามปีของสหพันธ์ NJKF เขาก็ได้รับการเสนอให้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งว่าง ในรายการ NJKF ไลท์เวท ในปี ค.ศ. 2008 และเขาก็ได้มีโอกาสต่อสู้กับ ฮิโรมิ นาคายามะ ในรอบเซมิไฟนอล เขาสามารถเอาชนะทีเคโอได้ในยกที่สี่ ด้วยการตัดกำลังโดยการตีศอก ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 เขาได้เผชิญกับ ฮานาวะ ซึ่งยามาโตะสามารถชนะน็อคในยกที่หนึ่งด้วยการใช้หมัดฮุคซ้าย

ในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2009 ยามาโตะได้รับเลือกเสนอชื่อและได้รับรางวัล MVP 2008 โดยสหพันธ์ NJKF รวมถึงรางวัล GBR ในปีเดียวกัน[2][3] เนื่องจากเขาได้ชนะรายการ NJKF ในการต่อสู้สามครั้งของสหพันธ์ดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ. 2008 ซึ่งเขาสามารถเอาชนะได้ทั้งสามครั้ง โดยสองครั้งเป็นการชนะโดยน็อคเอ้าท์

ช่วงกลางปี ค.ศ. 2009 เขาได้รับข้อเสนอในการมีส่วนร่วมในรายการที่มีชื่อว่า "WBC มวยไทยรูล เจแปนนีส ยูนิไฟด์ แชมเปี้ยนชิป ดีซิสชั่น ทัวร์นาเมนท์" ในรุ่นไลท์เวทของสหพันธ์ NJKF, MAJKF[4] และ JPMC[5] โดยแถลงการณ์ว่าเป็นการแข่งขันเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายใต้อำนาจของสถาบัน WBC มวยไทย

ในวันที่ 23 กันยายน เขาได้พบกับ คาซูยะ โอเอะ ในรอบเซมิไฟนอล แล้วเขาก็สามารถเอาชนะน็อคด้วยการโจมตีเข้าที่ลำตัวในยกที่สอง ในการแข่งขันรอบไฟนอลเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม เขาได้พบกับ ยูได โคโนะ เพื่อชิงตำแหน่งว่างครั้งแรกในญี่ปุ่นของรายการ WBC และเขาก็สามารถเอาชนะทีเคโอ โดยแพทย์ได้สั่งหยุดการแข่งขันในยกที่สี่ จากการต่อสู้ในครั้งนี้ ส่งผลให้เขาเอาชนะการแข่งขันระดับชาติได้เป็นรายการที่สอง

ในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2010 เขาได้รับเลือกเสนอชื่อและได้รับรางวัล เอาท์สแตนดิ้ง เพอร์ฟอร์มานซ์ อะวอร์ด 2009 โดยสหพันธ์ NJKF[6] ในฐานะที่เขาได้ทำศึก 7 ครั้ง โดยสามารถเอาชนะได้ 6 ครั้ง ซึ่งเป็นการชนะน็อคทั้ง 6 ครั้ง และแพ้ 1 ครั้ง

ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2010 ยามาโตะได้พบกับ แสนชัย ส.คิงสตาร์ จากประเทศไทยในการแข่งขันที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อท้าชิงตำแหน่งว่างรายการโลกรุ่นไลท์เวท ภายใต้อำนาจของสมาคมมวยไทยแห่งสหรัฐอเมริกา (MTAA) ซึ่งเขาถูกชนะน็อค โดยถูกคู่ต่อสู้ใช้ขาซ้ายเตะสูง ในยกที่หนึ่ง

ชนะการแข่งขันเค-วัน แก้

ในปี ค.ศ. 2010 ยามาโตะได้รับการนำเสนอให้เข้าร่วมการแข่งขันเค-วัน ในรายการแข่งขันเค-วันระดับประเทศของญี่ปุ่นในรุ่นไลท์เวท เขาได้พบกับ มาซาฮิโระ ยามาโมโตะ และแม้ว่าเขาจะถูกมองว่าจะต้องพ่ายแพ้ แต่เขาก็สามารถชนะได้โดยกรรมการตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ในยกพิเศษ และในวันที่ 5 กรกฎาคมของปีเดียวกันนี้ เขาได้ชนะการแข่งขันเค-วัน ระดับชาติ ในรุ่นไลท์เวท (-63 กก.) อีกครั้งหนึ่ง

รายการแข่งขัน แก้

  • ค.ศ. 2010 แชมเปี้ยน เค-วัน เวิลด์แม็กซ์ 2010 รุ่น -63 กก. เจแปน ทัวร์นาเมนท์
  • ค.ศ. 2009 แชมเปี้ยน WBC มวยไทย เจแปนนีสไลท์เวท
  • ค.ศ. 2009 แชมเปี้ยน WMC อินเตอร์คอนติเนนทอล ไลท์เวท
  • ค.ศ. 2008 แชมเปี้ยน นิวเจแปน คิกบ็อกซิ่ง เฟเดอเรชั่น (NJKF) ไลท์เวท

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • ค.ศ. 2009 เอาท์สแตนดิ้ง เพอร์ฟอร์มานซ์ อะวอร์ด (NJKF 24 มกราคม ค.ศ. 2010)
  • ค.ศ. 2008 MVP (NJKF 25 มกราคม ค.ศ. 2009)
  • ค.ศ. 2008 GBR อะวอร์ด (gbring.com 25 มกราคม ค.ศ. 2009)
  • ค.ศ. 2005 รูกกี้ อะวอร์ด (NJKF 15 มกราคม ค.ศ. 2006)

สถิติการชก แก้

สถิติการชก

คำอธิบาย:       ชนะ       แพ้       เสมอ/ถอนสิทธิ์       หมายเหตุ

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้