เทศบาลตำบลหางดง
เทศบาลตำบลหางดง เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 2–4 และบางส่วนของหมู่ 1, 5, 9 ตำบลหางดง ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลหางดงที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2500[1] ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[2] ในปี พ.ศ. 2564 เขตเทศบาลตำบลหางดงมีประชากรทั้งหมด 7,227 คน
เทศบาลตำบลหางดง | |
---|---|
วัดทรายมูลเดิมชื่อว่าวัดคงหลุมดอนชัย เพราะว่าบริเวณวัดมีแต่หลุมทรายเป็นหลุม ๆ กับก้อนหินเป็นกองอยู่เป็นแห่ง ๆ วิหารศิลปะล้านนา ประดับด้วยไม้แกะสลักลายเมฆ | |
พิกัด: 18°41′19.3″N 98°55′07.6″E / 18.688694°N 98.918778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | หางดง |
จัดตั้ง | • 7 มกราคม 2500 (สุขาภิบาลหางดง) • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.หางดง) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 2.72 ตร.กม. (1.05 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 7,227 คน |
• ความหนาแน่น | 2,656.98 คน/ตร.กม. (6,881.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05501502 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 999 หมู่ 3 ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 |
เว็บไซต์ | www |
พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณเขตศูนย์ราชการต่าง ๆ ของอำเภอหางดง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 21.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 689 กิโลเมตรตามทางรถยนต์ และใช้เวลา 1 ชั่วโมง 5 นาทีถึงกรุงเทพมหานครผ่านท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 2.72 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็น 1,700.0 ไร่ เทศบาลตำบลหางดงมีสภาพทางเศรษฐกิจดีมาก มีการจราจรที่คับคั่งที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นเทศบาลที่รองรับความเจริญของนครเชียงใหม่
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 31-32. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542