เดียโบล III (อังกฤษ: Diablo III) เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทแนวสับและเฉือนที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในฐานะภาคที่สามในแฟรนไชส์เดียโบล ซึ่งวางจำหน่ายสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และโอเอสเท็นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012, เพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013, เพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์วันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ตลอดจนนินเท็นโด สวิตช์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น 20 ปีหลังจากเหตุการณ์ในเดียโบล II โดยผู้เล่นเลือกที่จะเล่นเป็นหนึ่งในเจ็ดคลาสตัวละคร ได้แก่ บาร์บาเรียน, ครูเซเดอร์, มังก์, เนโครแมนเซอร์, วิตช์ดอกเตอร์ หรือวิเซิร์ด และได้รับมอบหมายให้กำจัดเจ้าแห่งความกลัว ซึ่งคือเดียโบล เช่นเดียวกับเกมก่อนหน้าในซีรีส์

เดียโบล III
ภาพปก
ผู้พัฒนาบลิซซาร์ดทีม 3[a]
ผู้จัดจำหน่ายบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์
กำกับเจย์ วิลสัน
อำนวยการผลิตอเล็กซ์ เมย์เบอรี
ออกแบบ
โปรแกรมเมอร์เจสัน รีเจียร์
ศิลปินคริสเตียน ลิชต์เนอร์
เขียนบทคริส เมตเซน
แต่งเพลงรัสเซล เบราเวอร์
เดริก ดุ๊ก
เอโด กุยดอตตี
ลอเรนซ์ จูเบอร์
โจเซฟ ลอว์เรนซ์
เกล็น สแตฟฟอร์ด
ชุดเดียโบล
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
  • วินโดวส์, โอเอสเท็น
  • 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
  • เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360
  • 3 กันยายน ค.ศ. 2013
  • เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน
  • 19 สิงหาคม ค.ศ. 2014
  • นินเท็นโด สวิตช์
  • 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018
แนวแอ็กชันเล่นตามบทบาท, สับและเฉือน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ส่วนภาคเสริมที่มีชื่อว่ารีเปอร์ออฟโซลส์ได้รับการวางจำหน่ายสำหรับพีซีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งเปิดตัวสำหรับคอนโซลโดยเป็นส่วนหนึ่งของเวอร์ชันเดียโบล III: อัลทิเมตอีวิลเอดิชัน (อังกฤษ: Diablo III: Ultimate Evil Edition) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 และชุดไรส์ออฟเดอะเนโครแมนเซอร์ได้รับการวางจำหน่ายสำหรับวินโดวส์, แมคโอเอส, เพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์วันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 นอกจากนี้ เดียโบล III: อีเทอร์เนิลคอลเลกชัน (อังกฤษ: Diablo III: Eternal Collection) ซึ่งเป็นการรวมภาครีเปอร์ออฟโซลส์และไรส์ออฟเดอะเนโครแมนเซอร์ ได้รับการวางจำหน่ายสำหรับเพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์วันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 ตลอดจนสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018

เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวก แม้ว่าคุณลักษณะออลเวส์-ออน ดีอาร์เอ็ม จะถูกติเตียนก็ตาม ซึ่งเกมดังกล่าวสร้างสถิติใหม่สำหรับ "เกมพีซีที่ขายได้เร็วที่สุด" โดยขายได้มากกว่า 3.5 ล้านชุดใน 24 ชั่วโมงแรกที่วางจำหน่าย และกลายเป็นเกมพีซีที่ขายดีที่สุดใน ค.ศ. 2012 ด้วยยอดขายกว่า 12 ล้านชุด รวมถึง ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 จำนวนยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 30 ล้านชุด ส่วนภาคต่ออย่างเดียโบล IV ได้รับการประกาศใน ค.ศ. 2019 และมีกำหนดเปิดตัวในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2023

รูปแบบการเล่น

แก้
 
รายการสิ่งของและระบบหน้าจอแสดงผลระหว่างการเล่นเกมของเดียโบล III ยังคงให้ความรู้สึกคล้ายกับที่พบในภาคก่อนหน้านี้ในซีรีส์ รวมถึงมุมมองที่ชวนให้นึกถึงมุมมองไอโซเมตริกของภาคก่อนเดียโบล III โดยรายการสิ่งของมีหกสิบช่องสำหรับไอเทม ซึ่งชุดเกราะและอาวุธแต่ละชิ้นครอบครองสองช่อง และไอเทมอื่น ๆ ทั้งหมดแต่ละชิ้นครอบครองหนึ่งช่อง[1] นอกจากนี้ ยังสามารถขยายเพื่อรวมรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของตัวละคร

เช่นเดียวกับเดียโบล และเดียโบล II เดียโบล III เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่มีการต่อสู้แบบเรียลไทม์ที่รวดเร็วและเอนจินกราฟิกไอโซเมตริก เกมดังกล่าวใช้องค์ประกอบดาร์กแฟนตาซีแบบคลาสสิก และผู้เล่นสวมบทเป็นตัวละครฮีโรที่มีหน้าที่ปกป้องโลกแห่งแซงชัวรีจากกองกำลังแห่งขุมนรก เกมนี้มีองค์ประกอบเล่นตามบทบาทจำนวนมาก เช่น การเลือกคลาสตัวละคร, การเพิ่มประสบการณ์และการเพิ่มเลเวล ตลอดจนการได้รับอุปกรณ์ที่ทรงพลังยิ่งขึ้น

คุณภาพและคุณสมบัติของอุปกรณ์จะถูกสุ่ม นอกเหนือจากค่าสถิติพื้นฐาน (เช่น ความเสียหายและความเร็วในการโจมตีสำหรับอาวุธ หรือแต้มเกราะบนชุดเกราะ) ไอเทมคุณภาพสูงยังมีมีคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น ความเสียหายพิเศษ, โบนัสคุณสมบัติ, โบนัสโอกาสการโจมตีแบบคริติคอล หรือเบ้า ซึ่งทำให้ไอเทมสามารถอัปเกรดได้ด้วยอัญมณี ไอเทมคุณภาพระดับเวทมนตร์มีคุณสมบัติแบบสุ่มถึงสามประการ, ไอเทมคุณภาพหายากมีถึงหกประการ และไอเทมคุณภาพระดับตำนานโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติได้ถึงแปดประการโดยมีระดับการสุ่มที่แตกต่างกันไป ส่วนเซ็ตไอเทมเป็นประเภทย่อยของไอเทมระดับตำนานซึ่งมอบโบนัสสะสมเพิ่มเติมหากติดตั้งไอเทมหลายชิ้นจากเซ็ตเดียวกันพร้อมกัน ทั้งนี้ มอนสเตอร์เลเวลสูงมักจะดรอปไอเทมระดับสูง ซึ่งมักจะมีค่าสถิติพื้นฐานและโบนัสสูงกว่า[2]

 
หน้าต่างสกิลของเดียโบล III ที่อธิบายความสามารถของคลาสวิเซิร์ด

เอนจินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมเอาระบบฟิสิกส์ภายในแบบกำหนดเองของบริษัทบลิซซาร์ด และนำเสนอสภาพแวดล้อมที่ทำลายได้พร้อมเอฟเฟกต์ความเสียหายในเกม เหล่านักพัฒนาพยายามทำให้เกมนี้เลื่อนไหลในระบบที่หลากหลายโดยไม่ต้องใช้ไดเรกต์ 10[3] ซึ่งเดียโบล III ใช้เอนจินเกม 3 มิติแบบกำหนดเอง[4] เพื่อนำเสนอมุมมองเหนือศีรษะแก่ผู้เล่น ในลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายกับมุมมองไอโซเมตริกที่ใช้ในเกมภาคก่อนในซีรีส์นี้[3] ส่วนบรรดาศัตรูใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมแบบ 3 มิติ เช่น คลานขึ้นด้านข้างกำแพงจากด้านล่างเข้าสู่พื้นที่สู้รบ[5]

เกมแบบหลายผู้เล่นสามารถทำได้เช่นเดียวกับในเดียโบล II โดยใช้บริการแบตเทิลดอตเน็ตของบริษัทบลิซซาร์ด[6] พร้อมด้วยคุณสมบัติใหม่จำนวนมากที่พัฒนาขึ้นสำหรับสตาร์คราฟต์ II ที่มีในเดียโบล III[3] ซึ่งผู้เล่นสามารถเข้าและออกจากเซสชันการเล่นแบบร่วมมือกับผู้เล่นอื่นได้[7] ทั้งนี้ เดียโบล III แตกต่างจากภาคก่อนตรงที่ผู้เล่นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนโยบายการจัดการสิทธิดิจิทัลของพวกเขา แม้กระทั่งสำหรับเกมผู้เล่นเดี่ยว[8]

ส่วนระบบเควสต์ที่ได้รับการปรับปรุง, ตัวสร้างเลเวลแบบสุ่ม และตัวสร้างการเผชิญหน้าแบบสุ่มได้รับการนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าเกมจะมอบประสบการณ์ที่แตกต่างเมื่อเล่นซ้ำ[9]

ต่างจากการทำซ้ำครั้งก่อน ทองคำสามารถเก็บขึ้นมาได้โดยการสัมผัส หรือเข้ามาภายในระยะ (ปรับด้วยอุปกรณ์) แทนที่จะต้องเก็บมันด้วยตนเอง หนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความเร็วในการเล่นเกมก็คือลูกแก้วพลังชีวิตที่บรรดาศัตรูทำตก แทนที่ความจำเป็นที่จะต้องมีแถบโพชัน หลังจะถูกแทนที่ด้วยแถบทักษะที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถกำหนดปุ่มแถบด่วนให้แก่ทักษะและคาถาได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้เล่นสามารถกำหนดทักษะได้เพียงสองทักษะ (หนึ่งทักษะสำหรับปุ่มเมาส์แต่ละปุ่ม) และต้องสลับทักษะด้วยแป้นพิมพ์หรือล้อเมาส์ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถกำหนดการโจมตีเฉพาะให้แก่ปุ่มเมาส์ได้[10]

รูนทักษะเป็นคุณสมบัติใหม่อีกประการ นั่นคือตัวดัดแปลงทักษะที่จะได้รับการปลดล็อกเมื่อผู้เล่นเลเวลอัป โดยต่างจากรูนที่ใส่ซอกเกตได้ในเดียโบล II รูนทักษะไม่ใช่ไอเทม แต่มีตัวเลือกสำหรับการเสริมทักษะแทน ซึ่งมักจะเปลี่ยนรูปแบบการเล่นของแต่ละทักษะโดยสิ้นเชิง[11] ตัวอย่างเช่น รูนทักษะหนึ่งสำหรับความสามารถอุกกาบาตของวิเซิร์ดจะลดต้นทุนพลังลึกลับของมัน ในขณะที่อีกรูนจะเปลี่ยนอุกกาบาตให้เป็นน้ำแข็ง โดยทำให้เกิดความเสียหายจากความเย็นมากกว่าไฟ

หมายเหตุ

แก้
  1. บริษัทไอเอิร์นกาแล็กซีร่วมพัฒนาเวอร์ชันนินเท็นโด สวิตช์

อ้างอิง

แก้
  1. Wilson, Jay. "Diablo". Blizzard Entertainment. Blizzard. สืบค้นเมื่อ June 13, 2011.
  2. "Items - Game Guide - Diablo III".
  3. 3.0 3.1 3.2 Onyett, Charles (June 28, 2008). "Diablo III Gameplay Panel Live Blog". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2008. สืบค้นเมื่อ June 28, 2008.
  4. "Diablo III - Frequently Asked Questions". Blizzard Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2014. สืบค้นเมื่อ June 28, 2008.
  5. "Diablo III 'Classes' Gameplay (video)". GameVideos.com. June 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2013. สืบค้นเมื่อ June 29, 2008.
  6. "Live From Blizzard's Worldwide Invitational 2008". IGN. June 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2008. สืบค้นเมื่อ August 26, 2008.
  7. Welsh, Oli (June 28, 2008). "Blizzard announces Diablo III". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2021. สืบค้นเมื่อ June 28, 2008.
  8. Coldewey, Devin (August 1, 2011). "Diablo 3 DRM Requires Constant Internet Connection – Until You Crack It, Of Course". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ blizz_press
  10. "Diablo III Game Guide: Gameplay Fundamentals". Blizzard Entertainment. สืบค้นเมื่อ May 21, 2013.
  11. Breckon, Nick (October 10, 2008). "ShackNews 19 May 2009, retrieved on 2009-19-05". Shacknews.com. สืบค้นเมื่อ May 21, 2009.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้