เชียด อภัยวงศ์[1] เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของไทยถึง 4 คน คือ นายควง อภัยวงศ์ นายทวี บุณยเกตุ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และนายปรีดี พนมยงค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489

เชียด อภัยวงศ์
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
12 มีนาคม พ.ศ. 2488 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
ก่อนหน้าทองเปลว ชลภูมิ
ถัดไปหม่อมหลวงขาบ กุญชร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446
จังหวัดพระตะบอง
เสียชีวิต6 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 (68 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์

ประวัติ แก้

เชียด อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 ที่ตำบลพระตะบอง เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ กับนางริ้ว อภัยภูเบศร์ สำเร็จการศึกษา Diplome de Pharmacie จากมหาวิทยาลัยปารีส

นายเชียด สมรสกับหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์) [2] มีบุตรธิดา 3 คน เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2515 โดยมีการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515

การทำงาน แก้

เชียด เริ่มเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั่วคราวตำแหน่งเภสัชกรโท สังกัดกองเภสัชกรรม กรมวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2481 จนถึงปี พ.ศ. 2488 (เคยเป็นผู้จัดการองค์การเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2484[3]) จึงลาออกจากราชการเพื่อไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489

ต่อมาเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานเทคนิค โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2490 และได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์เอก กองการวิจัย กรมวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2497 และได้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาให้กับบริษัท ส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติ จำกัด ซึ่งขณะนั้นมี เสริม วินิจฉัยกุล เป็นผู้อำนวยการ มีส่วนในการประสานงานกับช่างชาวฝรั่งเศสในด้านการติดตั้งทดลองเครื่องจักรและการผลิตเคมีภัณฑ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2507

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เชียด อภัยวงศ์. จัดพิมพ์เป็นบรรณาการเนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ นายเชียด อภัยวงศ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง 29 สิงหาคม 2515. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. 2515
  2. ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์
  3. จัดการองค์การเภสัชกรรม
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๑๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔