เจ. ดี. แซลินเจอร์

เจ. ดี. แซลินเจอร์ (อังกฤษ: J. D. Salinger; 1 มกราคม พ.ศ. 246227 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือ เจอโรม เดวิด แซลินเจอร์ (Jerome David Salinger) เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีของเขาคือ The Catcher in the Rye

เจ. ดี. แซลินเจอร์
เจ. ดี. แซลินเจอร์ ในปี ค.ศ. 1950
เจ. ดี. แซลินเจอร์ ในปี ค.ศ. 1950
เกิดเจอโรม เดวิด แซลินเจอร์
1 มกราคม ค.ศ. 1919(1919-01-01)
นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิตมกราคม 27, 2010(2010-01-27) (91 ปี)
คอร์นิช, รัฐนิวแฮมป์เชอร์, สหรัฐอเมริกา
อาชีพนักเขียน
สัญชาติอเมริกัน
ช่วงเวลาพ.ศ. 2483-2508
ผลงานที่สำคัญThe Catcher in the Rye
(พ.ศ. 2494)
คู่สมรสซิลเวีย เวลเตอร์
(พ.ศ. 2488–2490; หย่า)
แคลร์ ดักลัส
(พ.ศ. 2498–2510; หย่า)
คอลลีน โอนีล
(สมรส พ.ศ. 2531)

ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

เจ. ดี. แซลินเจอร์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2462 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในครอบครัวชาวยิว ในวัยเด็ก เขาย้ายโรงเรียนบ่อยมาก จนสุดท้ายมาเรียนที่ Columbia University School of General Studies และเริ่มเขียนนิยายที่นั่น แซลินเจอร์เคยคบหากับอูนา โอนีล แต่ก็เลิกกัน เมื่อเธอตัดสินใจแต่งงานกับชาร์ลี แชปลิน ในปี พ.ศ. 2494 เขาก็ตีพิมพ์นิยายเล่มแรก The Catcher in the Rye ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของเด็กหนุ่มวัย 16 ปีที่มีปัญหากับสิ่งต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ได้รับการตอบรับดีมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกโจมตีจากสถาบันต่าง ๆ เช่นกัน รวมถึงถูกโยงเข้ากับการลอบสังหารจอห์น เลนนอนและความพยายามลอบสังหารโรนัลด์ เรแกน[1][2] ต่อมาเขาย้ายไปอยู่เมืองคอร์นิช ในรัฐนิวแฮมป์เชอร์ และแต่งงานกับแคลร์ ดักลัส ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน แต่ภายหลังก็หย่ากัน ก่อนจะแต่งงานใหม่อย่างลับ ๆ กับคอลลีน โอนีล แซลินเจอร์อาศัยอยู่ที่คอร์นิชจนกระทั่งเสียชีวิตโดยโรคชรา เมื่อ พ.ศ. 2553 รวมอายุได้ 91 ปี

นอกจากจะมีชื่อเสียงในด้านการเขียนแล้ว แซลินเจอร์ยังเป็นที่รู้จักกันดีว่าเขาเป็นนักเขียนที่เก็บตัว เขาตีพิมพ์งานเขียนชิ้นสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2508 และให้สัมภาษณ์กับสื่อครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2523 เรื่องราวชีวิตของเขาส่วนใหญ่มาจากจอยซ์ เมย์นาร์ด คนรักเก่า และมาร์กริต แซลินเจอร์ ผู้เป็นลูกสาว

ผลงานนิยาย

แก้
  • The Catcher in the Rye (พ.ศ. 2494; ทุ่งฝัน โดย ศาสนิก และ จะเป็นผู้คอยรับไว้ ไม่ให้ใครร่วงหล่น โดย ปราบดา หยุ่น)[3]
  • Nine Stories (พ.ศ. 2496; เก้าเรื่องสั้น โดย ปราบดา หยุ่น[4])
  • Franny and Zooey (พ.ศ. 2504; แฟรนนี่กับโซอี้ โดย ปราบดา หยุ่น)
  • Raise High the Roof Beam, Carpenters and Seymour: An Introduction (พ.ศ. 2506)
  • Three Early Stories (พ.ศ. 2557; ตีพิมพ์หลังเสียชีวิต)

อ้างอิง

แก้
  1. "How did Catcher in the Rye inspire Mark David Chapman and John Hinckley?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
  2. "Attempted Censorship: "The Catcher in the Rye"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-30. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
  3. การกลับมาอีกครั้งของ The Catcher in the Rye โดย ปราบดา หยุ่น (สยามดารา)[ลิงก์เสีย]
  4. เก้าเรื่องสั้น Nine Stories โดย J.D.Salinger[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้