เจ้าหญิงแดลฟีนแห่งเบลเยียม

เจ้าหญิงแดลฟีนแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค (ฝรั่งเศส: Delphine de Saxe-Cobourg; ดัตช์: Delphine van Saksen-Coburg; ประสูติ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511)[1][2] พระนามเดิม แดลฟีน มีแชล อาน มารี กีแลน บอแอล (ฝรั่งเศส: Delphine Michèle Anne Marie Ghislaine Boël; ดัตช์: Delphine Michelle Anna Maria Gisela Boël) หรือ แดลฟีน บอแอล เป็นศิลปินชาวเบลเยียม และเป็นสมาชิกพระราชวงศ์เบลเยียม ด้วยเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ประสูติแต่บารอนีสซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง และเป็นพระขนิษฐาต่างพระชนนีของสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป

เจ้าหญิงแดลฟีน
เจ้าหญิงแดลฟีน เมื่อ พ.ศ. 2551
ประสูติ22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 (56 ปี)
บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
พระสวามีเจมส์ โอแฮร์ (พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน)
พระนามเต็ม
แดลฟีน มีแชล อาน มารี กีแลน
พระบุตรเจ้าหญิงโฌเซฟีน
เจ้าชายออสการ์
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2
พระมารดาซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง
ธรรมเนียมพระยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลเฮอร์รอยัลไฮนิส
การขานรับยัวร์รอยัลไฮนิส

เดิมเจ้าหญิงแดลฟีนมีบรรดาศักดิ์เป็น ยงค์เฟราว์ บอแอล (Jonkvrouw Boël) แต่หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าหญิงแห่งเบลเยียม มีฐานันดรศักดิ์ชั้นรอยัลไฮนิส อย่างถูกต้องตามกฎหมาย[3]

พระประวัติ

แก้

เจ้าหญิงแดลฟีนเป็นธิดาของบารอนีสซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง (Sybille de Selys Longchamps) หญิงผู้ดีจากตระกูลขุนนางเบลเยียม[4] เดิมระบุว่าบุตรคนนี้เกิดกับฌัก บอแอล (Jacques Boël) สามีคนแรก ซึ่งมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเบลเยียมเช่นกัน[5] แม้จะเป็นตระกูลขุนนางระดับล่าง แต่ก็เป็นตระกูลที่ร่ำรวยอันดับที่ 16 ของเบลเยียม ด้วยทรัพย์สินมูลค่า 1.6 พันล้านยูโร[6] ทั้งสองหย่าร้างกันใน พ.ศ. 2521[7] ซึ่งแท้จริงแล้ว สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 เป็นบิดาของแดลฟีน[8] เจ้าหญิงแดลฟีนทรงอ้างว่ากษัตริย์อัลแบร์เคยเสด็จมาทรงเยี่ยมเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ และตรัสเรียกด้วยพระนามลำลองว่า "ปาปียง" (Papillon, "ผีเสื้อ")[4]

เจ้าหญิงแดลฟีนทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประจำในประเทศอังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ ทรงสำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเชลซีในลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2533[9]

อุทลุม

แก้

มารีโอ ดันนีลส์ (Mario Danneels) นักเรียนหนุ่มชาวเฟลมิชวัย 18 ปี ได้ตีพิมพ์อัตชีวประวัติของสมเด็จพระราชินีเปาลาโดยมิได้ขอพระราชานุญาตใน พ.ศ. 2542 ใช้ชื่อว่า Paola, van 'la dolce vita' tot koningin ("เปาลา จากชีวิตที่แสนหวานสู่ราชินี")[10] หนังสือเล่มนี้อ้างถึงการมีตัวตนของพระราชธิดานอกสมรส ทำให้สื่อมวลชนเบลเยียมเริ่มการสืบสวนและแกะรอยแดลฟีน[11] เบื้องต้นครอบครัวบอแอลปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น ในขณะที่สำนักพระราชวังออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว โดยอธิบายว่างานเขียนของดันนีลส์เป็นเพียงแค่การนำเรื่องซุบซิบหรือแค่ข่าวโคมลอยมาเขียนเท่านั้น

ในพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ในวันคริสตสมภพเมื่อ พ.ศ. 2542 สื่อมวลชนเบลเยียมได้ตีความพระราชดำรัสนั้น เป็นการกล่าวยอมรับว่าบอแอลเป็นพระราชธิดาจริง ๆ ของพระองค์[12]

"คริสต์มาสเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เราทุกคนหวนนึกถึงครอบครัว ช่วงเวลาแห่งความสุข พระราชินีและข้าพเจ้าจดจำช่วงเวลาอันแสนสุขนั้น รวมถึงวิกฤตที่เราต้องเผชิญเมื่อราวสามสิบปีก่อน พวกเราสามารถฝ่าฟันอุปสรรคและฟื้นฟูความเข้าใจกันด้วยความรัก แต่วิกฤตนั้นกลับคืนมาอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้เอง เราไม่อยากจะจมปลักกับปัญหาชีวิตส่วนตัวนี้ พวกเราจะดีใจมาก หากประสบการณ์ของพวกเราในครั้งนี้ จะทำให้ผู้เผชิญปัญหาเดียวกันมีความกล้าและผ่านไปได้ด้วยดี"

ปัญหาที่พระองค์กล่าวในพระราชดำรัสนี้ สื่อมวลชนตีความว่า เป็นเรื่องความสัมพันธ์ชู้สาวระหว่างกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2 กับซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง ซึ่งลอบรักกันยาวนานถึง 18 ปี[13][14]

บอแอลให้สัมภาษณ์กับมาร์ก-โอลิวิเยร์ ฟอเฌียล (Marc-Olivier Fogiel) พิธีกรรายการ "On ne peut pas plaire à tout le monde" ("เราไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้") ออกอากาศทางช่องฟร็องซ์ 3 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นที่แรกที่บอแอลยืนยันว่า เธอเป็นพระราชธิดากษัตริย์อัลแบร์ที่ 2[15] เธออ้างว่าเมื่อครั้งเธอย้ายไปอาศัยที่ประเทศอังกฤษขณะอายุ 9 ขวบ เจ้าชายอัลแบร์ (ขณะนั้นยังไม่เสวยราชสมบัติ) มีพระราชประสงค์ที่จะหย่ากับเจ้าหญิงเปาลา และย้ายไปอยู่กับครอบครัวของเธอ แต่มารดาเธอปฏิเสธเพราะอาจเกิดผลลบทางการเมืองแก่เจ้าชายอัลแบร์[16] บอแอลกล่าวว่ามารดาบอกเรื่องพ่อที่แท้จริงแก่เธอตั้งแต่เธออายุ 17 ปี และในการสัมภาษณ์ เธอกล่าวว่าเธอโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์อัลแบร์ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 33 พรรษา โดยปลายสายตอบกลับมาว่า "อย่าโทรหาผมอีก คุณไม่ใช่ลูกสาวของผม" บอแอลกล่าวว่าคำพูดนี้แทงใจดำเธอยิ่งนัก[16] และกล่าวอีกว่าเธอพยายามติดต่อกษัตริย์อัลแบร์ทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ จดหมาย ผ่านเพื่อนและนักการเมือง แต่ทุกอย่างล้มเหลว[16]

มิถุนายน พ.ศ. 2556 บอแอลติดต่อให้กษัตริย์อัลแบร์ เจ้าชายฟีลิป และเจ้าหญิงอัสตริดขึ้นศาล[14] บอแอลหวังที่จะใช้การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความจริง แต่เพราะกษัตริย์อัลแบร์ยังได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เธอจึงเชิญเจ้าชายฟีลิปและเจ้าหญิงอัสตริดซึ่งเป็นพี่ต่างมารดาเข้าร่วมด้วย[17][18] หลังกษัตริย์อัลแบร์สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เพราะปัญหาด้านพลานามัย การคุ้มครองทางกฎหมายจึงสิ้นสุดลง เธอจึงดำเนินคดีต่อ แต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ศาลตัดสินว่าคำร้องของเธอไม่มีมูล ทนายของบอแอลจึงทำการอุทธรณ์[19]

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ศาลมีคำสั่งให้อดีตกษัตริย์อัลแบร์ตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อของบอแอล[20] มกราคม พ.ศ. 2563 อดีตกษัตริย์อุทธรณ์คำตัดสินของศาล เพราะพระองค์ทรงปฏิเสธการตรวจดีเอ็นเอ และวันที่ 16 พฤษภาคมปีเดียวกัน ศาลอุทธรณ์กรุงบรัสเซลส์มีคำสั่งให้อดีตกษัตริย์อัลแบร์ชำระค่าปรับวันละ 5,000 ยูโรแก่บอแอล ตามจำนวนวันที่พระองค์ปฏิเสธที่จะตรวจดีเอ็นเอ[21][22][23]

27 มกราคม พ.ศ. 2563 ผลดีเอ็นเอระบุว่าอดีตกษัตริย์อัลแบร์เป็นบิดาของแดลฟีน บอแอล จริง[24][25] วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 แดลฟีน บอแอล และบุตรสองคน ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าโดยศาลอุทธรณ์กรุงบรัสเซลส์ แต่เพราะบอแอลเป็นบุตรนอกสมรส จึงมิได้อยู่ในสายการสืบราชสันตติวงศ์[26] แดลฟีน บอแอลและบุตรจะไม่ได้รับเงินพระราชทานในฐานะพระราชวงศ์ แต่จะได้รับเงินในส่วนที่จะได้รับโดยชอบตามกฎหมาย จำนวน 3.4 ล้านยูโร จากอดีตกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2[27] ตามกฎหมายเบลเยียม เจ้าหญิงแดลฟีนมีสิทธิในมรดกราวหนึ่งในแปดของอดีตกษัตริย์อัลแบร์ แต่บางแห่งก็ว่าอดีตกษัตริย์พระองค์นี้เปลี่ยนแปลงพระราชพินัยกรรมให้พระราชมรดกทั้งหมดตกสู่อดีตพระราชินีเปาลา ก่อนตกถึงพระราชธิดานอกสมรสพระองค์นี้[6]

บอแอลในฐานะเจ้าหญิงเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป พระเชษฐาต่างพระชนนี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ณ พระราชวังลาเคิน[28][29] วันรุ่งขึ้น อดีตกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2 มีพระราชดำรัสในงานแถลงข่าว ทรงตรัสว่า "ข้าพเจ้าและภรรยามีความสำราญใจยิ่งกับการเริ่มต้นที่ดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นเครื่องหมายแห่งความสุขสำหรับทุกคน โดยเฉพาะแดลฟีน"[30][31]

25 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เจ้าหญิงแดลฟีนถูกรับเชิญไปเข้าเฝ้าอดีตกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2 และอดีตพระราชินีเปาลาที่ปราสาทแบลเวแดร์ (Château du Belvédère)[32] และในวันชาติเบลเยียมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เจ้าหญิงแดลฟีนและพระภัสดาเข้าร่วมพิธีการกับพระบรมวงศานุวงศ์เบลเยียมเป็นครั้งแรก[33]

ชีวิตส่วนพระองค์

แก้
 
เจ้าหญิงแดลฟีนและเจ้าหญิงโฌเซฟีน พระธิดา เมื่อ พ.ศ. 2551

เจ้าหญิงแดลฟีนทรงคบหากับเจมส์ "จิม" โอแฮร์ (James "Jim" O'Hare) ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช ตั้งแต่ พ.ศ. 2543[34][35] ทั้งสองมีโอรส-ธิดาด้วยกันสองพระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงโฌเซฟีน (ประสูติ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2546) และเจ้าชายออสการ์ (ประสูติ 28 เมษายน พ.ศ. 2551)[36][37]

การทำงาน

แก้

เจ้าหญิงแดลฟีนเป็นศิลปิน สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเชลซีในลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นวิทยากรรับเชิญของสถาบันวิจิตรศิลป์ขั้นสูง (แอนต์เวิร์ป) และโรงเรียนศิลปะมาสทริชต์[38]

เจ้าหญิงแดลฟีนทรงก่อตั้งกองทุนแดลฟีนแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกนต์เพื่อส่งเสริมการใช้ศิลปะเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ

ผลงานศิลปะฝีพระหัตถ์ "รักไม่มีวันหมดอายุ" จัดแสดงอยู่ในสวนสาธารณะในเมืองซินต์-นีกลาส (Sint-Niklaas)

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 : ยงค์เฟราว์ แดลฟีน บอแอล
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน : รอยัลไฮนิส เจ้าหญิงแดลฟีนแห่งเบลเยียม[39]

ตราอาร์ม

แก้
ตราอาร์ม นิยาม
 
  • เริ่มใช้ : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
  • โล่ : ประดับด้วยรูปข้าวหลามตัดสีดำ มีรูปสิงโตสีทองยืนด้วยขาหลังถือโล่ที่สื่อถึงราชวงศ์เว็ททีน
  • ประคองข้าง : สิงโตคุ้มกันสองตัว
  • คติพจน์ : "สามัคคีคือพลัง" เขียนด้วยภาษาฝรั่งเศส ดัตช์ และเยอรมัน
  • อื่น ๆ : องค์ประกอบทั้งหมดอยู่ภายในเสื้อคลุมสีม่วงออกแดง ประดับมงกุฎแห่งเบลเยียม
  • หมายเหตุ : ในฐานะเจ้าหญิงแห่งเบลเยียมและสืบสันดานจากกษัตริย์เลออปอลที่ 1 จึงสามารถใช้เสื้อคลุมแขน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากษัตริย์ฟีลิป เมื่อ พ.ศ. 2562[40]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. Boël, Delphine. "Curriculum vitae of Delphine Boël Artist colourist painting, video". Delphine Boël. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  3. "Delphine Boël: Belgium ex-king's love child wins royal titles". 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-11-09.
  4. 4.0 4.1 Sampson, Annabel (2020-08-24). "Lovechild of Belgium's former King gives rare interview". Tatler. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
  5. "King Albert II's Secret Daughter: How a Teenager Uncovered Belgium's Royal Scandal". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 July 2020.
  6. 6.0 6.1 Clapson, Colin (2020-10-06). ""I didn't do it for the money" says Princess Delphine". Flanders News. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
  7. News, Flanders (2020-10-06). ""I didn't do it for the money" says Princess Delphine". vrtnws.be (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-18. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  8. "Privacy settings". myprivacy.dpgmedia.be. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
  9. "Van Saksen-Coburg Delphine at Guy Pieters Gallery". Guy Pieters Gallery. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
  10. "Lungescu, Oana 27 October 1999 Belgium's royal sex scandal BBC, retrieved 27 April 2010". BBC News. 27 October 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2008. สืบค้นเมื่อ 29 December 2012.
  11. Conradi, Peter (2018-01-01). Great Survivors (ภาษาอังกฤษ). Alma Books. p. 115. ISBN 978-0-7145-4540-0.
  12. "Belgium: Delphine Boel, illegitimate daughter of King Albert II | tellerreport.com". www.tellerreport.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  13. Higgins, Andrew (19 July 2013). "Belgium Is Also Awaiting Possible News of a New Royal". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  14. 14.0 14.1 "Belgium ex-king's love child seeks royal rights and titles". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-09-11. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
  15. "Belgium ex-king's love child seeks royal rights and titles". BBC. 11 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.
  16. 16.0 16.1 16.2 "The Secret Princess: King's love child in court battle for recognition". 60 Minutes Australia. YouTube. 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.
  17. Stroobants, Jean-Pierre (17 June 2013). "En Belgique, la fille adultérine d'Albert II exige une reconnaissance officielle". Le Monde. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.
  18. Bacchi, Umberto (18 June 2013). "Belgium: King Albert's 'Disowned Natural Daughter' Delphine Boel Seeks Recognition in Court". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2013. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.
  19. mtm (27 March 2017). "Delphine Boël vangt bot bij rechter: koning Albert II is niet haar wettelijke vader". Het Nieuwsblad (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 August 2017.
  20. Schreuer, Milan (5 November 2018). "Former Belgian King Ordered to Give DNA for Paternity Test". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.
  21. Dekkers, Laura Dekkers (Correspondent Europe) (16 May 2019). "BREAKING: King Albert of Belgium ordered to pay 5,000 euros per day in paternity case". Royal Central (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
  22. T. B. T. "Brussels court rules former King Albert must pay daily €5,000 fine". The Brussels Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2019. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
  23. News; World (9 February 2019). "Retired Belgian king refuses court-ordered paternity test, faces $7,500 daily fine | National Post" (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 16 May 2019. {{cite web}}: |last1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  24. mtm (27 January 2020). "Koning Albert II geeft toe dat hij biologische vader is van Delphine Boël". Het Laatste Nieuws (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  25. Boffey, Daniel (27 January 2020). "Belgium's King Albert II admits he fathered child in 1960s affair". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  26. See Art. 85 of the Belgian Constitution.
  27. "Belgian King Philippe meets half-sister Princess Delphine for the first time". BBC. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
  28. "'Warm encounter': Belgium's King Philippe meets Princess Delphine". The Brussels Times (ภาษาอังกฤษ). 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  29. "Message commun de Sa Majesté le Roi et de Son Altesse Royale la Princesse Delphine". La Monarchie belge (ภาษาฝรั่งเศส). 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  30. Le Soir and La Libre Belgique"", 16th octobre 2020.
  31. "Message de Sa Majesté le Roi Albert II". La Monarchie belge (ภาษาฝรั่งเศส). 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  32. "Message de Leurs Majestés le Roi Albert II et la Reine Paola et de Son Altesse Royale la Princesse Delphine". La Monarchie belge (ภาษาฝรั่งเศส). 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  33. Flandersnews.be: Elisabeth, Delphine and the A400M steal the show at the military parade.
  34. "Belgium - In Royal Circles". CBS News. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  35. François, Anne (9 August 2020). "Delphine Boël s'exprime pour la première fois après le procès : "J'étais la honte, le linge sale du Roi"". www.vrt.be (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  36. "Delphine Boël s'exprime pour la première fois après le procès : "J'étais la honte, le linge sale du Roi"". www.vrt.be. 9 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  37. Riou, Par Thilda (28 January 2020). "Belgique : l'ex-roi Albert II reconnaît sa fille Delphine Boël, née hors-mariage". Marie Claire (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  38. "Curriculum Vitae". Delphine de Saxe-Cobourg.
  39. Boffey, Daniel (1 October 2020). Written at Brussels. "Delphine Boël, Belgian king's daughter wins right to call herself princess". The Guardian. London: Guardian Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  40. Philippe, Koning der Belgen (12 July 2019). "Koninklijk besluit houdende vaststelling van het wapen van het Koninklijk Huis en van zijn leden" (PDF). Moniteur Belge/ Belgisch Staatsblad. สืบค้นเมื่อ 24 July 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้