เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่าน
เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่าน (ภาษาอังกฤษ: Sabiha Fazila Hanım Sultan; ประสูติ; 8 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ณ เนยยี-ซูร์-แซน ประเทศฝรั่งเศส) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งอียิปต์และเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิออตโตมัน เป็นพระปทินัดดาในกาหลิบองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิออตโตมัน กาหลิบอับดุลเมซิดที่ 2 ผ่านทางพระสันตติวงศ์ของพระมารดา และยังทรงเคยเป็นพระคู่หมั้นในพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก พระนางอาจจะได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอิรักถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ในอิรักเสียก่อนซึ่งเป็นผลให้พระราชวงศ์อิรักถูกปลงพระชนม์เกือบทั้งหมด
เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่าน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่าน แห่งอิรัก | |||||||||
พระคู่หมั้นในพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก | |||||||||
ประสูติ | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ณ เนยยี-ซูร์-แซน ประเทศฝรั่งเศส (พระชนมายุ 71 พรรษา) | ||||||||
พระสวามี | พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก | ||||||||
เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่าน แห่งอิรัก | |||||||||
| |||||||||
พระบุตร | อะลี อ็อกลู ซะลีม อ็อกลู | ||||||||
ราชวงศ์ | มูฮัมหมัดอาลี (ประสูติ) ออตโตมัน (ทางพระมารดา) | ||||||||
พระบิดา | เจ้าชายมุฮัมหมัด อะลี อิบราฮิม เบเยเฟนดิ | ||||||||
พระมารดา | เจ้าหญิงซะห์ระ ฮันซะดี สุลต่าน |
พระราชประวัติ
แก้เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่าน ประสูติในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ณ เนยยี-ซูร์-แซน ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในเจ้าชายมุฮัมหมัด อะลี อิบราฮิม เบเยเฟนดิแห่งอียิปต์กับเจ้าหญิงซะห์ระ ฮันซะดี สุลต่าน พระมารดาของเจ้าหญิงเป็นพระปนัดดาในกาหลิบองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิออตโตมัน กาหลิบอับดุลเมซิดที่ 2 และเป็นพระขนิษฐาในเจ้าหญิงฟัตมา เนสลีชาห์ เจ้าหญิงซาบิฮามีพระอนุชา 1 พระองค์คือ เจ้าชายสุลต่านซาเด อาห์มัด ริฟัต อิบราฮิม เบเยเฟนดิ
เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่านทรงหมั้นกับพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก และในขณะนั้นเจ้าหญิงจึงเป็นพระคู่หมั้นและเป็นว่าที่สมเด็จพระราชินีแห่งอิรัก จนกระทั่งพ.ศ. 2501 ได้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ 14 กรกฎาคมในอิรัก นำโดยทหารของพลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิมได้มุ่งหน้าไปยังพระราชวังอัล-ราฮับในกรุงแบกแดด
ในเวลา 8.00 น. หัวหน้ากองทหาร อับดุล ซัททาร์ ซะบาอะ อัล-อิโบซี ได้นำกองทัพปฏิวัติเข้าทำร้ายข้าราชสำนักในพระราชวัง มีคำสั่งกราบทูลพระบรมวงศานุวงศ์ได้แก่ พระเจ้าฟัยศ็อล, มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์, เจ้าหญิงฮิยาม (พระชายาในมกุฎราชกุมารและเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์), สมเด็จพระราชินีนาฟิสซา บินต์ อัลอิละฮ์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระอัยยิกาในกษัตริย์), เจ้าหญิงคะดิยะห์ อับดิยะห์ (พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์) และข้าราชบริพารจำนวนหนึ่งให้เสด็จลงมายังลานสนามในพระราชวังพร้อมๆกัน จากนั้นมีคำสั่งให้ทุกพระองค์หันพระองค์เข้ากับกำแพง ที่ซึ่งทุกพระองค์ถูกกราดยิงด้วยปืนกลในทันที ร่างของทั้งห้าพระองค์ร่วงลงพื้นสนามพร้อมกับร่างของข้าราชบริพาร พระเจ้าฟัยศ็อลยังไม่สวรรคตในทันทีหลังการระดมยิงครั้งแรก ทรงถูกนำพระองค์ส่งโรงพยาบาลโดยผู้จงรักภักดีแต่ก็เสด็จสวรรคตระหว่างทาง สิริพระชนมายุ 23 พรรษา เจ้าหญิงฮิยามทรงรอดพระชนม์ชีพจากการปลงพระชนม์หมู่มาได้แต่ก็ทรงพระประชวรอย่างสาหัสจากการระดมยิงและทรงถูกผู้จงรักภักดีพาพระองค์เสด็จออกนอกประเทศ พระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ถูกลากไปตามถนนและถูกตัดเป็นชิ้นๆ ข่าวการปลงพระชนม์หมู่เกี่ยวกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ได้มีการรายงานว่า "ประชาชนนักปฏิวัติโยนพระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ลงบนถนนดั่งเช่นสุนัขและฉีกพระศพออกเป็นชิ้นๆ จากนั้นพวกเขาก็ทำการเผาพระศพ"[1] ถือเป็นจุดสิ้นสุดระบอบกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรักและเป็นโศกนาฏกรรมของระบอบกษัตริย์ 37 ปีในอิรัก และทำให้พระนางทรงพลาดหวังการเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอิรัก
ในเวลาไม่กี่ปีต่อมา เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสกับด็อกเตอร์ คีรี อ็อกลู (Dr. Kheri Oglu) สามัญชน ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่
- อะลี อ็อกลู
- ซะลีม อ็อกลู
ปัจจุบันเจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม, นางอ็อกลู ทรงพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถ
แก้- ↑ "Revolt in Baghdad". Time Magazine. 21 July 1958. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 27 July 2009.
เว็บไซต์อ้างอิง
แก้หนังสืออ้างอิง
แก้- Morris, James. The Hashemite Kings. London, 1959.