เจ้าพระวอ
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าอภิปราย หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ทันที โดยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน ซึ่งเมื่อตรวจสอบและแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออก |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
เจ้าพระวรราชภักดี เป็นเจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระองค์ที่ 3 (พ.ศ. 2314) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสุวรรณปางคำ (เจ้าปางคำ) ปฐมกษัตริย์แห่งนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน อันสืบมาแต่สายราชวงศ์สุวรรณปางคำ นครเชียงรุ่งแสนหวีฟ้าสิบสองปันนา เป็นพระราชบิดาพระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1 พระไชยราชวงศา (เจ้าเสน) เจ้าผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 1 และเป็นพระปิตุลาเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทศราช องค์ที่ 1
เจ้าพระวรราชภักดี | |
---|---|
![]() | |
พระปรมาภิไธย | เจ้าพระวรราชภักดี |
พระอิสริยยศ | เจ้าผู้ครองนคร |
ราชวงศ์ | สุวรรณปางคำ |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2314 ตกอยู่ในภาวะสงครามหาได้ขึ้นครองราชย์ |
รัชกาลก่อน | เจ้าพระวรราชปิตา |
รัชกาลถัดไป | ไม่มี |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | ไม่ปรากฏ |
พิราลัย | พ.ศ. 2320 |
พระบิดา | พระเจ้าสุวรรณปางคำ |
พระมารดา | พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช |
พระมเหสี | เจ้านางอรอินทร์ |
พระบุตร | 9 พระองค์ |
พระประวัติแก้ไข
เจ้าพระวรราชภักดี พระนามเดิมว่า เจ้าพระวอ สมภพที่นครเวียงจันทน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองพระเจ้าสุวรรณปางคำ ปฐมราชวงศ์สุวรรณปางคำ กับพระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นพระอนุชาของเจ้าพระวรราชปิตา เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระองค์ที่ 2 เมื่อเจ้าพระวอทรงเจริญชนม์ พระเจ้าสุวรรณปางคำทรงโปรดให้เข้ารับราชการสนองพระคุณพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ผู้เป็นพระปัยกา (คุณตาทวด) ที่พระราชสำนักนครเวียงจันทน์
ต่อมาเจ้าพระวอเสกสมรสกับเจ้านางอรอินทร์ มีพระโอรส และพระราชธิดา 9 พระองค์ คือ
- เจ้านางจันบุปผา
- เจ้าก่ำ เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1
- เจ้านางทุมมา
- เจ้านางต่อนแก้ว
- เจ้าเสน เจ้าผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 1
- เจ้าเครือ
- เจ้าลาด
- เจ้านางปัดทำ
- เจ้าฮด
สงครามนครเวียงจันทน์แก้ไข
ปี พ.ศ. 2314 เจ้าพระวรราชปิตาถูกข้าศึกฟันจนตกม้าถึงแก่ทิวงคต บริเวณช่องน้ำจั่นใต้น้ำตกเฒ่าโต้ เทือกเขาภูพาน และทัพนครเวียงจันทน์จึงสามารถตีหนองบัวลุ่มภูแตกได้ เจ้าอุปราชจึงถูกยกขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระองค์ที่ 3 พระนามว่า เจ้าพระวรราชภักดี ต่อสู้ข้าสึกศัตรูต่อไป โดยพระองค์คิดว่าหากยั้งทัพสู้ข้าศึกอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภูต่อไปเห็นจะเหลือกำลัง ด้วยทางเมืองหนองบัวลุ่มภูมีกำลังน้อยลงมาก จึงปรึกษาหารือกับเจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม พระราชโอรสเจ้าพระวรราชปิตา เจ้าก่ำ พระราชโอรสของพระองค์ ท้าวนาม เพียพรหมโลก เพียพบบ่อหน เพียพลอาสา แก้วท้ายช้าง ควรจะอพยพหนีสงครามลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองผ้าขาว เมืองพรรณา เจ้าผ้าขาวก็อพยพลงมาด้วยกับเจ้าพระวรราชภักดี เดินทางจนมาถึงแก่งส้มโฮง เจ้าผ้าขาวจึงพาไพร่พลขอแยกหยุดอยู่ (ปัจจุบันคือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนกลุ่มเจ้าพระวรราชภักดีก็อพยพต่อไป จนมาถึงบ้านเสียวน้อยเสียวใหญ่ (เขตแดนเมืองสุวรรณภูมิ) จึงได้หยุดพักสำรวจกำลังไพร่พลที่ตามมาเห็นมีจำนวนมาก และได้ปรึกษากันว่าจะไปตั้งหลักแหล่งที่ใด ต่อมา เจ้าพระวรราชภักดี เจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม เจ้าก่ำ ถือกำลังไพร่พล 10,000 คน ยกไปอยู่บ้านสิงห์ท่าบ้านสิงห์โคกกับเจ้าคำสู ถือเป็นต้นกำเนิดเมืองอุบลราชธานี เมืองยศสุนทรประเทศราช เมืองเขมราษฎร์ธานี เป็นต้น
ในปลายปี พ.ศ. 2314 ภายหลังมาอาศัยอยู่ที่บ้านสิงห์ท่าบ้านสิงห์โคกสักพักหนึ่ง เจ้าพระวรราชภักดีก็ดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูต่อไปนานแล้ว หากทัพนครเวียงจันทน์ยกลงมา ก็จะเป็นการลำบากแก่ไพร่พลบ้านสิงห์ท่าบ้านสิงห์โคก อันจะเกิดความสูญเสียต่อไป เจ้าพระวรราชภักดีจึงได้ปรึกษากับเจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม และเจ้าก่ำ นำพาไพร่พลญาติพี่น้องอพยพลงไปตามแม่น้ำชีถึงแม่น้ำมูล เมื่อยกกำลังไพร่พลมาถึงเกาะดอนมดแดง ได้ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ และพระองค์อนุญาตให้อยู่ได้ และเจ้าพระวอตั้งเป็นอิสระอยู่ค่ายบ้านดอนมดแดง สะสมกำลังทหารจนเข็มแข็ง ต่อมาพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารท เห็นว่าค่ายดอนมดแดงมีกำลังเข้มแข็งขึ้น เกรงจะเกิดปัญหา และต้องการให้อยู่ในการควบคุมของนครจำปาศักดิ์ จึงคิดอุบายทะเลาะกับเจ้าอุปราชธรรมเทโว ผู้น้อง พระเจ้าองค์ไชยกุมารได้หนีจากนครจำปาศักดิ์มาอยู่ค่ายดอนมดแดงกับเจ้าพระวรราชภักดี และภายหลังเจ้าอุปราชธรรมเทโวได้จึงมาอัญเชิญพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารกลับคืนนครจำปาศักดิ์ตามเดิม และขอให้กลุ่มเจ้าพระวรราชภักดีไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ด้วย แต่เจ้าพระวรราชภักดีไม่ไป จะขออยู่ที่ค่ายดอนมดแดงเช่นเดิม พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารจึงเสนอว่าถ้าไม่ไปอยู่นครจำปาศักดิ์ก็ขอให้ไปอยู่ที่ค่ายบ้านดู่บ้านแก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้นครจำปาศักดิ์ เพื่อจะได้พึ่งพากันในเวลาคับขัน เจ้าพระวรราชภักดี พร้อมเจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม แลเจ้าก่ำ จึงยินยอมนำกำลังไพร่พลส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ค่ายบ้านดู่บ้านแก ส่วนค่ายบ้านดอนมดแดงนั้น ให้แสนเทพและแสนนามคุมไพร่พลอยู่รักษาค่ายแทน
ในปลายปี พ.ศ. 2320 เจ้าพระวรราชภักดีเกิดขัดใจกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เกี่ยวกับกรณีการสร้างค่ายคูประตูเมืองบ้านดู่บ้านแก เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการทะเลาะวิวาทระหว่างเจ้าพระวรราชภักดีกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าพระวออพยพครอบครัวไพร่พล มาอยู่ที่ดอนมดแดง พระเจ้าสิริบุญสารจึงแต่งตั้งให้พระยาสุโพคุมกำลังกองทัพไปรุกรานเจ้าพระวออีกครั้งหนึ่ง เจ้าพระวอเห็นว่ากำลังของตนมีน้อยคงไม่สามารถจะต้านทานไว้ได้ จึงอพยพครอบครัวไพร่พลกลับไปอยู่ที่เวียงดอนกองตามเดิม พร้อมกับขอกำลังทัพจากนครจำปาศักดิ์มาช่วยเหลือ แต่พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารไม่ยอมให้ เพราะความบาดหมางใจกันเมื่อหลายปีก่อน ผลที่สุดกองกำลังของเจ้าพระวอจึงพ่ายแพ้ เจ้าพระวอถูกจับได้และถูกประหารชีวิตที่เวียงดอนกองนั้นเอง ส่วนเจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม พระราชโอรสเจ้าพระตา และเจ้าก่ำ พระราชโอรสเจ้าพระวอ จึงได้พาครอบครัวไพร่พลหนีออกจากวงล้อมของทัพนครเวียงจันทน์ และได้นำใบบอกแจ้งความไปยังเมืองนครราชสีมา เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขอกำลังกองทัพมาช่วย
ปี พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) นำทัพขึ้นไปปราบพระยาสุโพที่เวียงดอนกองแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อพระยาสุโพทราบข่าวจึงรีบยกทัพกลับกรุงศรีสัตนาคนหุต ขณะเดียวกันพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เกรงว่าจะไม่สามารถที่จะต้านทานกองทัพไทยไว้ได้ จึงอพยพครอบครัวไพร่พลหนีไปอยู่ที่เกาะไชยในที่สุดกองทัพไทยตีได้นคร-จำปาศักดิ์ และตามจับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารไว้ได้ หลังจากนั้นกองทัพไทยก็ตีได้เมืองนครพนม หนองคาย และเข้าล้อมเมืองเวียงจันทน์ไว้ พระเจ้าสิริบุญสารหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองคำเกิด กองทัพไทยก็ยึดเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้และให้พระยา-สุโพเป็นผู้รั้งเมือง แล้วนำตัวพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางที่อยู่นครเวียงจันทน์มายังกรุงธนบุรี ต่อมาอีกไม่นานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารกลับไปครองเมืองนครจำปาศักดิ์ตามเดิม ดังนั้นนครจำปาศักดิ์จึงกลายเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยามตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พิราลัยแก้ไข
ปี พ.ศ. 2320 เจ้าพระวรราชภักดีถูกทัพนครเวียงจันทน์จับได้ และประหารชีวิตถึงแก่พราลัย ณ เวียงดอนกอง แขวงนครจำปาศักดิ์
พงศาวลีแก้ไข
พงศาวลีของเจ้าพระวอ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร). พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ. ตีพิมพ์ในประชุมพงศาวดาร ภาค 4
- บำเพ็ญ ณ อุบล และคณะ. อุบลราชธานี 200 ปี. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2535.
- เติม วิภาคย์พจนกิจ ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2513
- http://www.guideubon.com/news/view.php?t=5&s_id=1&d_id=1&page=1
- http://www.moc.go.th/opscenter/ub/Touring%20&%20Interest%20place/Toongsrimuang%20Park.htm
- http://guideubon.com/news/view.php?t=15&s_id=16&d_id=16
- http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=2494
- https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%
ก่อนหน้า | เจ้าพระวอ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา) | เจ้าผู้ครองนคร (พ.ศ. 2314) |
ไม่มี |