เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5 (สกุลเดิม สนิทวงศ์) เป็นธิดาของหม่อมเจ้าสวาสดิ สนิทวงศ์ (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) กับ หม่อมพลอย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5 | |
---|---|
เกิด | ไม่ปรากฏ |
ถึงแก่กรรม | 17 มีนาคม พ.ศ. 2452 |
บุตร-ธิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ |
บิดา | หม่อมเจ้าสวาสดิ สนิทวงศ์ |
มารดา | หม่อมพลอย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
หม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์ ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ให้พระประสูติกาลพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ คือ
- พระองค์เจ้าชายอิศริยาภรณ์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2431 สิ้นพระชนม์วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2435 พระชันษา 4 ปี
- พระองค์เจ้าชายอนุสรณ์ศิริประสาธน์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 สิ้นพระชนม์วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 พระชันษา 9 ปี
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5 ถึงแก่อสัญกรรมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2452[1]
กรณียกิจ
แก้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นำทุนทรัพย์สมบัติของเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร และพระราชโอรส 2 พระองค์ คือพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ ไปสร้างโรงเรียนเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ในปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2437 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[2]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ เจฟฟี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ:พิษณุโลกการพิมพ์. 2532
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894, หน้า 262
- สาระ มีผลกิจ. ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2551. 296 หน้า. ISBN 9744516817 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554. 368 หน้า. ISBN 9786167058580
- สายสกุลสนิทวงศ์ เก็บถาวร 2008-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- องค์ บรรจุน. หญิงมอญ, อำนาจ และราชสำนัก. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, มติชน, 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-02-0059-8