เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก เป็นพระสนมเอกในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และเป็นพระชนนีในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช
เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก | |
---|---|
เสียชีวิต | พ.ศ. 2404 นครศรีธรรมราช สยาม |
คู่สมรส | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท |
บุตร | พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร)และท่านผู้หญิงนวล (ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่เมืองนคร[1]) มารดาเดิมมีนามว่าเจ้าหญิงชุ่ม เป็นธิดาพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) กับท่านผู้หญิงทองเหนี่ยว มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ รับราชการเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ท่านเกิดในพระราชวังบวรเมืองนครศรีธรรมราชในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมืองนครศรีธรรมราชตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ และได้แต่งตั้งพระมหาอุปราช (พัฒน์) เป็นวังหน้า เรียกกันว่า "วังหน้าเมืองนคร"[2] ช่วงที่ท่านเกิดท่านจึงมีสถานะเป็นเจ้า ต่อมาหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยึดเมืองนครศรีธรรมราชได้ก็ทรงโปรดให้เป็นประเทศราช
พระมหาอุปราช (พัฒน์) นั้นคราวหนึ่งไปราชการทัพ คุณชุ่มหรือนวลถึงแก่กรรมลง ธิดาทั้งสองจึงเป็นกำพร้า ครั้นเสร็จราชการสงครามแล้ว อุปราชพัฒน์เข้ามาเฝ้าเมื่อ พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตรัสปลอบว่า "อย่าเสียใจนักเลย จะให้น้องสาวไปแทนที่จะได้เลี้ยงลูก" จึงพระบรมราชโองการให้ท้าวนางส่งตัวเจ้าจอมปรางไปพระราชทานเป็นภรรยาเจ้าพัฒน์ ท้าวนางกราบบังคมทูลว่า เจ้าจอมปรางขาดระดูมา 2 เดือนแล้ว มีพระราชดำรัสว่า "ได้ลั่นวาจายกให้แล้ว จงส่งตัวออกไปเถิด" เจ้าจอมปรางจำใจไปตามพระบรมราชโองการ และเจ้าพัฒน์ก็จำใจรับไว้เป็นศรีเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าจอมปรางก็เลี้ยงดูธิดาทั้ง 2 ด้วยความทะนุถนอม[3]
พระราชโอรส
แก้เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระมหาอุปราช (พัฒน์) ได้รับการแต้งตั้งเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ท่านได้ถวายธิดาคนใหญ่เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และธิดาคนเล็กเป็นพระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก มีพระราชธิดา 1 พระองค์คือ
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช (พ.ศ. 2330 — พ.ศ. 2408)
ในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีไปถึงพระองค์เจ้าปัทมราช ทรงตรัสเรียกเจ้าจอมมารดานุ้ยเล็กว่า "หม่อมป้านุ้ย"[4]
บั้นปลาย
แก้ภายหลังจ่ากสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคต เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็กได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลากลับไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่พระองค์เจ้าปัทมราชพระชนม์เพียง 20 พรรษา[5] ต่อมาพระองค์เจ้าปัทมราชเจริญพระชันษาขึ้น ได้กราบทูลขอพระบรมราชานุญาต เสด็จกลับไปพยาบาลดูแลเจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก พระมารดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขา ถึงพระองค์เจ้าปัทมราชว่า[6]
"จดหมายถวายมายังพระองค์เจ้าปัทมราช... ป้านุ้ยละทิ้งเสดจเสีย ออกไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราช... นับได้ถึง ๔๒ ปีมาแล้ว ไม่ได้พบกับเสดจเลย กระหม่อมฉันคิดสงสารเสดจด้วยคิดไปตามสามัญวิตก ว่าบุตรเดียวกับมารดา เมื่อบ้านเมืองเปนปรกติ ไม่มีศึกเสือเหนือใต้ มีไภยต้องแตกแตนกระจัดพรัดพรายดังครั้งกรุงเก่าเสียแก่พม่านั้นแล้ว ไม่ควรจะแพลงพลัดพรัดพรากจากกับนานดังนี้เลย... ครั้งนั้นเปนครั้งคราวที่ควรอยู่แล้ว ที่จะเชิญเสดจออกไปพบป้านุ้ย อย่าให้เสียทีที่ป้านุ้ยยังมีชีวิตอยู่ จนเสดจก็เจริญพระชนม์ถึง ๗๒ แล้วนั้น จึ่งได้ทูลชวนเชิญเสดจแล้วรับเสดจไปด้วย แล้วยอมให้เสดจอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ไปกว่าป้านุ้ยจะสิ้นอายุ..."
ระหว่างที่พำนักอยู่ที่นครศรีธรรมราช เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก มีทรัพย์สมบัติมากและมีชีวิตที่สุขสบายดี ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาว่า
"...สินเดิมของป้านุ้ย เปนสิ่งของทองรูปพรรณแลเงินตราที่เปนเงินเดิมแลทำมาหาได้ใหม่... ถ้าป้านุ้ยสิ้นอายุลง ใครเล่าจะควรได้มรฎก..."
เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็กถึงแก่อนิจกรรมเมื่อพ.ศ. 2404 อายุ 99 ปี[5] อัฐิพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราชเชิญไปไว้ ณ วัดท่าโพธิ์วรวิหาร ร่วมกับเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) ท่านผู้หญิงนวล สุธรรมมนตรี และเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่[7]
สาแหรก
แก้พงศาวลีของเจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตอนที่ 116 : ลูกหลานเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช สุสานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
- ↑ ลำดับชั้นที่ 1 สายสกุล ณ นคร[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
- ↑ 5.0 5.1 เวียงวัง ตอนที่ 116 : ลูกหลานเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช สุสานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- ↑ พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระองค์เจ้าปัทมราช วันพุธ แรม สิบสอง ค่ำ เดือน เจ็ด ปีรกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓
- ↑ หลวงนายฤทธิ์. เรื่องเก่า ๆ ของเจ้านาย. กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊ค, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2557. 320 หน้า. หน้า ?. ISBN 978-974-228-187-8